เอกลักษณ์วัฒนธรรมงานแต่งงานของชนเผ่าเหมื่อง

(VOVworld)-วัฒนธรรมเหมื่องเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมชนเผ่าที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตั้งแต่เริ่มแรกที่สะท้อนให้เห็นผ่านวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีและความเลื่อมใส รวมทั้งประเพณีการแต่งงานของชาวเหมื่องที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งและพัฒนาครอบครัวและวงตระกูลผ่านระยะเวลาหลายพันปี


(VOVworld)-วัฒนธรรมเหมื่องเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมชนเผ่าที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตั้งแต่เริ่มแรกที่สะท้อนให้เห็นผ่านวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีและความเลื่อมใส รวมทั้งประเพณีการแต่งงานของชาวเหมื่องที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งและพัฒนาครอบครัวและวงตระกูลผ่านระยะเวลาหลายพันปี

เอกลักษณ์วัฒนธรรมงานแต่งงานของชนเผ่าเหมื่อง - ảnh 1
เตรียมข้าวของต่างๆสำหรับการนำขบวนรับเจ้าสาว

ปัจจุบัน งานแต่งงานของชนเผ่าเหมื่องแม้จะไม่ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน แต่ขั้นตอนหลักๆก็ยังคงได้รับการสืบต่อกันมาไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเมื่อก่อนการเลือกคู่จะโดยพ่อแม่ของสองฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายหญิงแต่เดี๋ยวนี้หนุ่มสาวสามารถไปพบปะหาคู่รักกันเองได้และจะเเต่งงานกันตามความสมัครใจ ชนเผ่าเหมื่องต้องเตรียมพร้อมให้แก่งานแต่งงานอย่างน้อยหลายเดือนหรือบางทีนานถึงหลายปี  อันดับแรกคือต้องเลือกวันที่มีฤกษ์งามยามดีแล้วสองฝ่ายจะมาพบปะกันเพื่อหารือเรื่องการจัดงานพร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ นายบุ่ยวันเบิน ชาวต.ดิ๋งย้าว อ.เตินหลาก จ.หว่าบิ่ง เผยว่า “สำหรับงานแต่งงานและงานหมั้น ทางฝ่ายชายต้องเรียกประชุมครอบครัวใหญ่เพื่อปรึกษาความเห็นชอบจากสมาชิก เมื่อมีความเห็นพ้องกันก็จะเลือกผู้ใหญ่ในครอบครัวเป็นพ่อสื่อหรือแม่สื่อ เมื่อมีการเชิญพ่อสื่อแม่สื่อมาหารือก็ต้องเลี้ยงอาหารและมอบสิ่งของคือเหล้า2ขวดกับชา1ห่อเพื่อนำไปเป็นของขวัญในการหารือกับฝ่ายหญิง ส่วนทางฝ่ายหญิงนั้นเมื่อมีพ่อสื่อหรือแม่สื่อมาพูดเรื่องแต่งงานก็จะเรียกประชุมญาติมิตรในครอบครัวเช่นกัน

บุคคลที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในงานแต่งงานของชาวเหมื่องคือผู้ที่รับหน้าที่เป็นสื่อ เพราะถือเป็นตัวแทนของฝ่ายชายที่จะไปพบปะพูดคุยเรื่องต่างๆนาๆสำหรับงานแต่งงานและงานจะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับส่วนร่วมของสื่อกลางคนนี้ ชาวเหมื่องยังคงรักษาประเพณีการเรียกสินสอดทองหมั่นซึ่งโดยทั่วไปนั้นจะมี ควาย1ตัวที่มีหูยาวเท่ากับเขาควาย ขนมใหญ่ไม่มีใส้ที่หมายถึงความบริสุทธิ์ของเจ้าสาวจำนวน1หาบ เงินทอง เหล้า1ไหที่มีประมาณ60ลิตร ข้าวสาร60กิโลกรัม ข้าวสารเหนียว40กิโลกรัมและหมากพลู1หาบ ถ้าหากยังไม่สามารถตกลงกันในเรื่องสินสอดได้ผู้ที่เป็นสื่อจะต้องปรึกษาหารือกับทั้งสองฝ่ายต่อไปจนกว่าจะสามารถตกลงกันได้ เมื่อเสร็จเรื่องสินสอดฝ่ายชายจะต้องนำสิ่งของที่ไม่ใช่สินสอดอีกชุดไปให้ฝ่ายหญิงตามที่ได้หารือกันโดยจะต้องมีสุกร ข้าวและเหล้า นายบุ่ยวันเหวียน หนึ่งในพ่อสื่อที่ได้รับการนับถือจากชาวบ้านในต.ดิ๋งย้าวเผยว่า “ผมรับหน้าที่เป็นพ่อสื่อมากว่า20ปีแล้ว บทบาทของพ่อสื่อมีความสำคัญมากในการทำให้งานทุกอย่างลงตัวและทั้งสองฝ่ายชายหญิงต่างมีความสุข เมื่อรับสิ่งของและหน้าที่ที่ฝ่ายชายมอบให้เราต้องพยายามทำให้สำเร็จ เมื่อพบปะกับฝ่ายหญิงก็ต้องรู้จักพูดเพื่อให้ไม่เกิดปัญหาที่ต้องไปมาหาสู่กันหลายครั้ง

เมื่อเรื่องวันจัดงานและเรื่องสินสอดเสร็จเรียบร้อยก็จะถึงขั้นตอนเตรียมพร้อมสำหรับวันจัดงานแต่งงาน โดยสินสอดจะต้องส่งถึงบ้านฝ่ายหญิงก่อนจัดงานหนึ่งวันและเจ้าบ่าวจะต้องเป็นผู้หาบหมากพลูส่งถึงบ้านเจ้าสาว ประเพณีการรับเจ้าสาวของชาวเหมื่องก็ถือว่าน่าสนใจโดยจำนวนผู้ร่วมขบวนนั้นต้องไม่เกินกำหนดและมีการแบ่งหน้าที่อย่างละเอียดรอบคอบ ผู้นำขบวนรับเจ้าสาวจะต้องเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวและวงตระกูลและแม้จะต้องเดินทางใกล้หรือไกลฝ่ายหญิงก็จัดงานเลี้ยงต้อนรับขบวนของฝ่ายชาย ชาวเหมื่องที่อ.เตินหลากจังหวัดหว่าบิ่งยังมีประเพณีที่ไม่เหมือนใครคือเมื่อขบวนแห่ขันหมากไปถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้ว ทั้งคณะจะร่วมรับประทานอาหารกับฝ่ายหญิงส่วนเจ้าบ่าวต้องกลับบ้านทันทีไม่สามารถอยู่ร่วมด้วย

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีรับเจ้าสาว ฝ่ายชายจะต้องมีของขวัญมอบให้แก่พ่อสื่อและสมาชิกในขบวน ส่วนเจ้าสาวนั้นก็จะอยู่ที่บ้านสามีช่วงกลางวันเพื่อทำงานบ้านตอนเย็นกลับมานอนที่บ้านของตนโดยจะปฏิบัติเป็นระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีบุตรคนแรกก็จะย้ายไปอยู่ที่บ้านสามีอย่างถาวรซึ่งถ้าหากมาเที่ยวจังหวัดหว่าบิ่งและได้มีโอกาสเข้าร่วมงานแต่งงานของชนเผ่าเหมื่องท่านจะสามารถเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นที่ชาวเหมื่องยังคงรักษาไว้อย่างสมบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด