UNDP ให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVWORLD) -เขตป่าชายเลนถือเป็นแนวกันชนที่สำคัญของตลิ่งริมทะเล    ในหลายปีที่ผ่านมา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ UNDPได้ประสานงานกับรัฐบาลเวียดนามและกองทุนภูมิอากาศสีเขียวหรือ GCF  เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 4,000 เฮกตาร์ในเขตริมฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศใน 5 จังหวัดได้แก่กว๋างหงาย แทงฮว้า กว๋างนาม ก่าเมาและนามดิ่ง  ซึ่งโครงการดังกล่าวช่วยสนับสนุนประชาชนในเขตริมฝั่งทะเลในการทำมาหากินและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
UNDP ให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1 สตรีตำบลเกิ๋มแทงมีอาชีพที่มั่นคงคือการพายเรือ “ทุ้ง"

 
วันนี้ นาง ฝามถิลี้ ตำบลเกิ๋มแทง เมืองเก่าฮอยอัน จังหวัดกว๋างนามพายเรือ “ทุ้ง”หรือเรือกระด้งพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวป่ามะพร้าวเกิ๋มแทง  ในหลายปีที่ผ่านมา นาง ฝามถิลี้ได้เข้าร่วมโครงการ “ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่ามะพร้าวเกิ๋มแทง บริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกประจำเวียดนามหรือ GEFSGP  และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกัดเซาะในเขตปากแม่น้ำทูบ่น ปกป้องป่ามะพร้าวเกิ๋มแทงและใช้ประโยชน์จากป่ามะพร้าวอย่างยั่งยืน นาง ลี้ เผยว่า

“เมื่อก่อนนี้ การทำมาหากินเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ปัจจุบัน การพายเรือเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่พวกเรา”

โครงการ “ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่ามะพร้าวเกิ๋มแทง บริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ของ UNDPและ GEFSGP ได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่ามะพร้าวและนำผลประโยชน์มาให้แก่ชาวท้องถิ่น ซึ่งชุมชนมีบทบาทที่สำคัญในการอนุรักษ์และธำรงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นาง เหงวียนถิฮวามาน ชาวท้องถิ่นได้เผยว่า

เมื่อก่อนนี้ การท่องเที่ยวยังไม่พัฒนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง สามีจะออกทะเลจับปลา ดังนั้น ในช่วงที่ทะเลมีคลื่นลมแรงโดยเฉพาะ ในช่วงฤดูหนาว ชาวประมงที่ไม่สามารถออกทะเลจับปลา  ทำให้ประสบอุปสรรคมากมาย จนต้องขอการช่วยเหลือด้านอาหาร    นับตั้งแต่ได้รับการปฏิบัติ โครงการนี้ได้มีส่วนช่วยผลักดันการท่องเที่ยวในเขตนี้  ชาวบ้านได้เน้นพัฒนาการท่องเที่ยวแทนการทำอาชีพประมงเหมือนเมื่อก่อนนี้  สตรีมีอาชีพที่มั่นคงคือการพายเรือ “ทุ้ง””

การจัดตั้งและพัฒนาเขตอนุรักษ์ป่ามะพร้าวเกิ๋มแทง เมืองเก่าฮอยอันอยู่ในเขตอนุรักษ์ระบบนิเวศแนวปะการังตามหาย นุ้ยแถ่งและเขตอนุรักษ์ทะเลกู่ลาวจ่าม ซึ่งสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ทะเลกว๋างนาม มีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงในเขตริมฝั่งทะเล นาย เลเหญือง อดีตประธานสมาคมเกษตรกรตำบลเกิ๋มแทงได้เผยว่า

“ในช่วงแรก โครงการสามารถปลูกป่ามะพร้าวได้ 75 เฮกตาร์ หลังจากนั้น จากการที่ได้รับความเห็นพ้องจากประชาชนที่นี่ พื้นที่ป่ามะพร้าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 105 เฮกตาร์ โครงการได้มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์และยกระดับจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่ามะพร้าวอย่างยั่งยืน”

บริการพายเรือ “ทุ้ง”พานักท่องเที่ยวเยือนป่ามะพร้าวเกิ๋มแทงมีศักยภาพพัฒนาท้องถิ่น ในหลายปีที่ผ่านมา มีครอบครัวที่เข้าร่วมบริการนี้ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างรายได้ที่ดีให้แก่ชาวบ้าน  โดยอยู่ที่ 4.5 ล้านด่งต่อเดือน

UNDP ให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2ป่าชายเลน เบิ่วก๊าก๊าย ตำบลบิ่งถวน อำเภอบิ่งเซิน

ส่วนในท้องถิ่นใกล้เคียงคือจังหวัดกว๋างหงาย ทาง UNDP ได้ร่วมกับรัฐบาลเวียดนามและกองทุนภูมิอากาศสีเขียวปฏิบัติโครงการป่าชายเลนเพื่อสนับสนุนการทำมาหากินของประชาชนในเขตเบิ่วก๊าก๊าย หมู่บ้านถวนเฟือก ตำบลบิ่งถวนอำเภอบิ่งเซินนับตั้งแต่ปี 2014มาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถปลูกป่าได้ 80 เฮกตาร์ ปัจจุบัน โครงการได้ช่วยสร้างงานทำที่มั่นคงให้แก่ 50 ครอบครัวที่อาศัยในเขตใกล้เคียง นาง เหงวียนถิถวี่ยุง เจ้าหน้าที่ประสานงานของ UNDPในท้องถิ่นได้เผยว่า

“สำหรับครอบครัวต่างๆในตำบลบิ่งถวน โดยเฉพาะ หมู่บ้านถวนเฟือก พื้นที่ป่าแห่งนี้ช่วยปกป้องเขตชุมชนเมื่อพายุพัดถล่ม   ชาวบ้านสามารถจับกุ้งและปลาในเขตนี้ ซึ่งระบบนิเวศวิทยาในเขตนี้ได้รับการปรับปรุง ในยามเช้าตรู่หรือในช่วงบ่ายก็จะเห็นฝูงนกกระสาและนกเป็ดน้ำบินมาที่นี่ นอกจากนี้ ครอบครัวต่างๆมีแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน”

ในช่วงปลายเดือนตุลาคม  พวกเรามีโอกาสมาเยือนเขตเบิ่วก๊ายก๊าหลังจากที่พายุโมลาเบพัดถล่มเข้าจังหวัดกว๋างหงาย นาง เหงวียนถิหายได้เผยว่า จากการที่มีป่ายเลน ผลเสียหายจากพายุก็ลดลง บ้านเรือนและสวนของนางหายไม่ได้รับความเสียหาย ครอบครัวนางหายได้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเขตเบิ่วก๊าก๊ายนับตั้งแต่ปี 2019 มาจนถึงปัจจุบัน ครอบครัวนางหายพายเรือบดพานักท่องเที่ยวเที่ยวเขตเบิ่วก๊าก๊าย ครอบครัวนางหายมีเรือบด 3 ลำ มีรายได้ 2 แสนด่งต่อเที่ยว นาย ฝามยวีเหงียก็เป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการป่าชายเลนและได้เผยว่า นอกจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งสัตว์น้ำ ครอบครัวนาย เหงียกำลังมุ่งเน้นการเลี้ยงปูม้าเพื่อเพิ่มรายได้ คาดว่า จะมีรายได้ 15-20 ล้านด่ง

การปฏิบัติโครงการป่าชายเลนได้สร้างผลงานเบื้องต้นไม่เพียงแต่ในยุทธศาสตร์การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระยะยาวและช่วยปกป้องชุมชนในเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามเท่านั้นหากยังช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพัฒนาอย่างยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด