การพัฒนาการปลูกสมุนไพรอย่างยั่งยืน

(VOVWORLD) -จังหวัดเซินลามีสภาพภูมิอากาศและที่ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกสมนไพร แต่พืชสมุนไพรส่วนใหญ่ของที่นี่ถูกปลูกแบบธรรมชาติอย่างกระจัดกระจาย ตามประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาของชาวบ้าน  ทำให้ผลผลิตไม่สูง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด เพื่อช่วยให้ประชาชนสร้างฐานะผ่านการปลูกสมุนไพร นอกจากการจัดสรรพันธุ์สมุนไพรใหม่ จังหวัดเซินลาได้ผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร ผลักดันการตรวจสอบและการบริหารเพื่อค้ำประกันคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร เชื่อมโยงกับสถานประกอบการและสหกรณ์การเกษตรในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

การพัฒนาการปลูกสมุนไพรอย่างยั่งยืน - ảnh 1รูปแบบการปลูกสมุนไพรในจังหวัดเซินลา  

 

 จังหวัดเซินลามีพื้นที่ป่า 540,000 เฮกตาร์ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ใกล้ป่ามีความมั่นใจในการปกป้องป่า นอกจากการจ่ายเงินสำหรับการปกป้องป่าแล้ว  จังหวัดเซินลายังผลักดันการประชาสัมพันธ์และช่วยเหลือประชาชนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การปลูกสมุนไพรในรูปแบบวนเกษตร  ซึ่งรูปแบบการปลูกพืชสมุนไพรนี้เริ่มสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง  ตามข้อมูลสถิติ จังหวัดเซินลามีพืชสมุนไพร 560 ชนิดโดยส่วนใหญ่ปลูกที่อำเภอบั๊กเอียน โหมกโจว์และเวินโห่ รวมทั้ง สมุนไพรที่มีค่า เช่น กระวาน อาติโช๊คและอบเชย  เป็นต้น

เพื่อพัฒนาการปลูกสมุนไพรอย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืนและสร้างประสิทธิภาพสูง เมื่อปี 2017 หมู่บ้านปากือซ้างอา อำเภอบั๊กเอียน จังหวัดเซินลาได้ทดลองปลูกสมุนไพร หมู่บ้านปากือซ้างอามี 92ครอบครัว ซึ่งเป็นชนเผ่าม้ง เมื่อก่อนนี้ ชาวบ้านพึ่งพาการปลูกข้าวบนทุ่งนาขั้นบันได การเลี้ยงปศุสัตว์และการปกป้องป่าต้นน้ำที่มีพื้นที่ 1 พันเฮกตาร์ ชีวิตวามเป็นอยู่ของประชาชนประสบอุปสรรคมากมาย  นับตั้งแต่ปี 2000 ชาวบ้านปากือซ้างอาได้ทดลองปลูกต้นกระจาวในรูปแบบวนเกษตร   ซึ่งต้นกระจาวได้เติบโตเป็นอย่างดีและให้ผลผลิตสูง จนถึงขณะนี้ ครอบครัวส่วนใหญ่ในหมู่บ้านได้ปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกต้นกระวาน โดยปริมาณกระวานเมื่อปี 2018 อยู่ที่เกือบ 20 ตัน นาย หย่างอาเยอ หัวหน้าหมูบ้านปากือซ้างอา ได้เผยว่า

“การปลูกกระวานในรูปแบบวนเกษตรมีส่วนช่วยพัฒนาฐานะของครอบครัวและปกป้องป่า ทุกวัน เราไปดูแลต้นกระวานและป้องกันไม่ให้ใครทำลายป่า”

ประสิทธิภาพเบื้องต้นในการปลูกกระวานเป็นสัญญาณที่น่ายินดีให้แก่ชาวท้องถิ่นในการกำหนดแนวทางใหม่เพื่อพัฒนาการผลิต แต่อย่างไรก็ดี นี่เป็นพันธุ์พืชใหม่ ต้องใช้เทคนิคในการปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ดังนั้น เพื่อขยายพื้นที่การปลูกสมุนไพร จังหวัดเซินลาได้มีกลไกและนโยบายดึงดูดบริษัทต่างๆให้เข้ามาลงทุนและพัฒนาการปลูกสมุนไพรในท้องถิ่น ส่งเสริมการเชื่อมโยงการผลิต ผลักดันการปลูกสมุนไพรที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน          รวมทั้งวางยุทธศาสตร์การพัฒนาสมุนไพร นาง เกิ่มถิฟอง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเซินลาได้เผยว่า

“เพื่อหาแหล่งจำหน่าย สำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเซินลาได้มีมาตรการต่างๆ เช่น ประสานงานกับสำนักงานและหน่วยงานต่างๆในการพัฒนาการปลูกพืชสมุนไพรที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดฯ ประชาสัมพันธ์พืชสมุนไพรที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดเซินลาในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ”

เพื่อปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาสมุนไพรอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ทางการจังหวัดฯกำลังตรวจสอบการวางผัง จัดทำกลไกและนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมให้เครือบริษัทใหญ่ๆ เช่น  TH True Milk และ  VinGroup เชื่อมโยงกับสหกรณ์ต่างๆเพื่อลงทุนพัฒนาพื้นที่ปลูกสมุนไพร ก่อสร้างโรงงานแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ประชาชน จังหวัดเซินลาตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2025 พื้นที่ปลูกสมุนไพรจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนเฮกตาร์.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด