การร้องเพลงเสิมยามวสันต์ฤดู

(VOVWORLD) -ารร้องเพลงพื้นเมืองเสิม( Xam )หรือยังเรียกกันว่าเพลงขอทานเป็นศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ในคลังดนตรีของประชาชาติเวียดนาม หลังจากที่ต้องผ่านความผันผวนต่างๆของชีวิตและมีความเสี่ยงที่จะสูญหายไป  การร้องเพลงพื้นเมืองเสิมกำลังได้รับการฟื้นฟู   ที่นครไฮฟอง การร้องเพลงเสิมไม่เพียงแต่ได้รับการแสดงบนเวทีหรือในงานเทศกาลต่างๆเท่านั้น หากยังได้รับการแสดงในเทศกาลดนตรีริมถนนในช่วงตรุษเต๊ต รวมทั้งนำมาสอนในโรงเรียนต่างๆ อีกด้วย
การร้องเพลงเสิมยามวสันต์ฤดู - ảnh 1สโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟองแสดงในรายการตรุษเต๊ตแห่งการชุมนุมปี 2023

ในช่วงตรุษเต๊ตหรือในงานเทศกาลต่างๆ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนนครไฮฟองได้รับชมการแสดงการร้องเพลงเสิมของบรรดาศิลปินสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟองที่สวนสาธารณะใจกลางนครหรือบริเวณถนนคนเดินตามบาก ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวสันตฤดู  การร้องเพลงเสิมด้วยลีลาที่เรียบง่ายและ เสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้ดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก นี่เป็นครั้งแรกที่นาย เลหว่างยาง นักท่องเที่ยวจากกรุงฮานอยได้รับฟังการร้องเพลงเสิมในงานแสดงสินค้าวสันตฤดูและเผยว่า

“ผมรู้สึกซาบซึ้งใจมากที่ได้รับฟังการร้องเพลงเสิมและเห็นว่า นี่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ต้องได้รับการส่งเสริม ท่ามกลางวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่มีแต่การแข่งขันและความยุ่งยาก ดังนั้น เมื่อได้ฟังการร้องเพลงพื้นเมืองนี้ ผมรู้สึกว่า ได้ใช้ชีวิตช้าลง การแสดงของบรรดาศิลปินน่าสนใจมาก”

สโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟองไม่เพียงแต่แสดงบนเวทีโรงละครหรือศูนย์วัฒนธรรมเท่านั้น หากยังแสดงที่ถนนคนเดินตามบากและสวนสาธารณะหญ่าแก่นด้วย ซึ่งช่วยให้ชาวไฮฟองมีความคุ้นเคยกับการแสดงการร้องเพลงเสิม  นาง ฝามถิหายเอี๊ยน ชาวไฮฟองคนหนึ่งเห็นว่า ผ่านรายการแสดงต่างๆ ประชาชนมีโอกาสรับชมการแสดงศิลปะพื้นเมืองนี้

“ผ่านการรับชมการร้องเพลงเสิม ดิฉันเห็นว่า ศิลปะพื้นเมืองนี้ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ดิฉันชอบศิลปะนี้มากและอยากให้มีการจัดแสดงมากขึ้นนเพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจและรักศิลปะพื้นเมืองนี้”

การร้องเพลงเสิมเป็นศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองที่โดดเด่นแขนงหนึ่งของจังหวัดภาคเหนือเวียดนามในอดีต  สำหรับเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้ประกอบในการแสดงมีอาทิเช่น ซออู้ ด่านเบิ่วหรือพิณสายเดียวและกลอง เป็นต้น  เนื้อร้องของเพลงพื้นเมืองเสิมเป็นกลอนที่มีเนื้อหาที่หลากหลายที่เชิดชูบ้านเกิด ประเทศ บุญคุณของพ่อแม่และความรัก นาย ดั๋งดึ๊กต๊าม สมาชิกของสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟอง ได้เผยว่า 

“วัฒนธรรมการร้องเพลงทำนองเสิมเป็นวัฒนธรรมพื้นเมืองที่เก่าแก่ โดยใช้เนื้อร้องเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกและให้การศึกษา    ในยุคแห่งการปฏิวัติ การร้องเพลงพื้นเมืองทำนองเสิมก็มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ประชาชนเดินตามการปฏิวัติ เช่น เพลงทำนองเสิมของศิลปิน ห่าถิเกิ่วคือ“จงรักภักดีต่อพรรคตลอดชีวิต” ผมมีความประสงค์ว่า จะมีผู้ที่ร้องเพลงเสิมมากขึ้น”

การร้องเพลงเสิมยามวสันต์ฤดู - ảnh 2ศิลปิน ด่าวแบกลิง คือผู้ที่จัดตั้งสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟอง

ศิลปิน ด่าวแบกลิง คือผู้ที่จัดตั้งสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟองและมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์ ประชาสัมพันธ์ศิลปะการร้องเพลงเสิม  ตอนเป็นเด็ก ทุกวัน ศิลปิน ด่าวแบกลิง จะเปิดรายการของสถานีวิทยุเวียดนามให้คุณย่าฟังและคุณย่าก็ได้สอนสิ่งที่ดีในการร้องเพลงพื้นเมืองให้แก่นาย ลิง  เมื่อปี 2002 หลังจากที่ได้รับฟังศิลปินห่าถิเกิ่ว ร้องเพลงเสิม นาย ด่าวแบกลิง ก็รู้สึกหลงใหลในศิลปะนี้  ในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ นาย ด่าวแบกลิง ซึ่งตอนนั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยโปลิเทคนิคได้เดินทางไปยังจังหวัดนิงบิ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 100 กิโลเมตร เพื่อเรียนการเล่นพิณและการร้องเพลงเสิมจากศิลปินห่าถิเกิ่ว  เมื่อปี 2009 นาย ด่าวแบกลิง พร้อมเพื่อนได้จัดตั้งสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟอง ซึ่งเป็น1 ใน 3 สโมสรการร้องเพลงเสิมที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม จนถึงขณะนี้ มีสโมสรการร้องเพลงเสิมได้รับการจัดตั้งในท้องถิ่นต่างๆ หลายแห่งด้วยความช่วยเหลือจากศิลปินด่าวแบกลิง 

“ผมได้เดินทางไปท้องถิ่นต่างๆเพื่อแนะนำและช่วยเหลือชาวบ้านในการจัดตั้งสโมสร จนถึงขณะนี้ มีสโมสรการร้องเพลงทำนองเสิมหลายแห่ง ซึ่งช่วยสร้างความหวังให้แก่การพัฒนาของการร้องเพลงทำนองเสิม ผมใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อสอนการร้องเพลงทำนองเสิมและเข้าร่วมรายการแสดงการร้องเพลงทำนองเสิมในทั่วประเทศ”

การบูชาบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดศิลปะการร้องเพลงเสิมเป็นกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นทุกปีของสโมสรการร้องเพลงเสิมไฮฟอง   โดยมีการเข้าร่วมของสโมสรการร้องเพลงเสิมหลายแห่ง เมื่อปี 2012 ศิลปินด่าวแบกลิง ได้สอนการร้องเพลงเสิมเที่โรงเรียนคนพิการไฮฟองและจนถึงปี 2019 นาย ลิง ได้ประสานงานกับโรงเรียนวัฒนธรรมศิลปะไฮฟองเปิดการสอนการร้องเพลงเสิมให้แก่นักศึกษา  ขณะนี้ การร้องเพลงเสิมได้ถูกแสดงในรายการแสดงศิลปะต่าง ๆ  แสดงให้นักท่องเที่ยวได้รับชมและสอนในโรงเรียนต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยเผยแพร่การร้องเพลงเสิมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจิตใจของประชาชน.    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด