งานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านอาเซียน
Ngoc Nga-Le Phuong -  
( VOVworld )-วันที่ ๑ สิงหาคมงานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านประเทศสมาชิกอาเซียนได้เปิดขึ้น ณ โรงละครลามเซิน จังหวัดแทง ฮว้า ภาคกลางประเทศเวียดนาม นับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมนี้ โดยในช่วงจัดงานเป็นเวลา ๖ วันตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๖ สิงหาคม ศิลปินจากประเทศสมาชิกอาเซียนจะแสดงรายการศิลปะต่างๆที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประเทศตน
( VOVworld )-วันที่ ๑ สิงหาคมงานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านประเทศสมาชิกอาเซียนได้เปิดขึ้น ณ โรงละครลามเซิน จังหวัดแทง ฮว้า ภาคกลางประเทศเวียดนาม นับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมนี้ โดยในช่วงจัดงานเป็นเวลา ๖ วันตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๖ สิงหาคม ศิลปินจากประเทศสมาชิกอาเซียนจะแสดงรายการศิลปะต่างๆที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประเทศตน
ภาพจากแฟล์ม
งานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านอาเซียนในหัวข้อ “ เชื่อมโยงมรดกโลก ” มี ๑๐ คณะศิลปะจาก ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา สิงคโปร์และคณะจากประเทศหุ้นส่วนของอาเซียนคือ สาธารณรัฐเกาหลี งานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านอาเซียนครั้งนี้เป็นกิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในกรอบโครงการปีการท่องเที่ยวแห่งชาติ ๒๐๑๕ของเวียดนามเพื่อประชาสัมพันธ์มรดกวัฒนธรรมของเวียดนามให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลกและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศในปี ๒๐๑๕และปีต่อๆไป นายฝ่าม ดิ่นห์ ทั้ง รองอธิบดีกรมศิลปะการแสดงแห่งกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดเผยว่า “ นี่เป็นโอกาสแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านของประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านแขนงต่างๆของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเรียนรู้สิ่งดีเลิศและวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศอื่นเพื่อนำไปพัฒนาดนตรีเวียดนามให้มีความหลากหลาย งานมหกรรมฯมีสีสันแห่งดนตรีพื้นบ้านและเป็นโอกาสโชว์ลีลาพื้นบ้านของประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งเวียดนามด้วย ”
โอกาสนี้ ศิลปินของประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดจนแนวโน้มการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแต่ละประเทศ รายการต่างๆที่เข้าร่วมงานมีเนื้อหาและการแสดงหลากหลายรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเช่น การแสดงเดี่ยว การแสดงของวงออเคสตร้า การแสดงดนตรีลีลาพื้นบ้านต่างๆ ละครร้องพื้นบ้านและการร้องเพลงพื้นบ้าน นายฝ่าม ดิ่นห์ ทั้งย้ำว่า “ ดนตรีพื้นบ้านเป็นภาษาในงานและเป็นเสียงพูดของแต่ละประเทศ ดนตรีพื้นบ้านของแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละภาคและเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ ดนตรีผนึกชาติต่างๆอย่างเหนียวแน่นผ่านภาษาดนตรีทำให้คนเราเข้าใจกันและเข้าใจประเทศต่างๆ ”
คณะร้องเพลงและระบำเวียดนามเป็นตัวแทนของเวียดนามเข้าร่วมงานและมีรายการแสดงเปิดงานค่ำวันที่ ๑ สิงหาคม ณ โรงละครลาม เซิน นายเหงวียน กวาง วินห์ ผู้อำนวยการคณะร้องเพลงและระบำเวียดนามเปิดเผยว่า “ ทางคณะฯจะมีรายการแสดงดนตรีพื้นบ้านใหม่ๆแต่มีการปรับปรุงให้เข้ากับการแสดงบนเวทีมากขึ้น ทั้งนี้จะสร้างโฉมใหม่ให้แก่งานและความหมายใหม่เกี่ยวกับการแสดงดนตรีพื้นบ้านด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน โดยจะแสดง ๙ รายการเช่น การเล่นเครื่องดนตรีเดี่ยว วงดูโอและวงดนตรีขนาดใหญ่ ซึ่งโดดเด่นคือ การเล่นของวงดูโอซอด้วง การเล่นเดี่ยวพิณน้ำเต้าและเล่นเจ่งเดี่ยว ซึ่งมีการเล่นและรูปแบบการแสดงในแนวใหม่ ”
นายฝ่าม ดิ่นห์ ทั้ง รองอธิบดีกรมศิลปะการแสดง
ศิลปินหลายชีวิตของคณะศิลปะเอิว เกอและวงดนตรีพื้นบ้านของคณะร้องเพลงและระบำเวียดนามจะแสดงรายการเพลงและระบำพื้นบ้านที่โดดเด่นในคลังดนตรีพื้นบ้านของเวียดนามเช่น ดนตรีชาววังหญาหญาก เพลงพื้นเมืองทำนองกวานเหาะบั๊ก นินห์ เพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อและเพลงทำนองวี้และหยัม ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก
งานมหกรรมดนตรีพื้นบ้านของประเทศสมาชิกอาเซียนจะเป็นโอกาสให้คนจังหวัดแทง ฮว้าและนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามและชาวต่างชาติได้ชมรายการแสดงศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียน.
Ngoc Nga-Le Phuong