จังหวัดซ๊อกจังให้ความสำคัญต่อการศึกษาของชนกลุ่มน้อยเขมร

(VOVworld)-ในหลายปีที่ผ่านมาทางการจังหวัดซ๊อกจังซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีชนเผ่าเขมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากได้ให้ความสนใจต่อการส่งเสริมและปฏิบัตินโยบายด้านการศึกษาของพี่น้องชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นโดยตระหนักว่าโรงเรียนประจำ(กินนอน)ของชนกลุ่มน้อยมีบทบาทสำคัญในภารกิจการศึกษาของเขตชนเผ่า เป็นศูนย์ผลิตบุคลากรให้แก่จังหวัด ดังนั้นทางการท้องถิ่นได้มีแนวทางมาตรการที่เข้มแข็งต่างๆเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน


(VOVworld)- ในหลายปีที่ผ่านมาทางการจังหวัดซ๊อกจังซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีชนเผ่าเขมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากได้ให้ความสนใจต่อการส่งเสริมและปฏิบัตินโยบายด้านการศึกษาของพี่น้องชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นโดยตระหนักว่าโรงเรียนประจำ(กินนอน)ของชนกลุ่มน้อยมีบทบาทสำคัญในภารกิจการศึกษาของเขตชนเผ่า เป็นศูนย์ผลิตบุคลากรให้แก่จังหวัด ดังนั้นทางการท้องถิ่นได้มีแนวทางมาตรการที่เข้มแข็งต่างๆเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน ตั้งแต่การพัฒนาระบบโรงเรียนประจำชนกลุ่มน้อย การลดหรือยกเว้นค่าเรียนและมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน เป็นต้น ซึ่งได้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาเล่าเรียนให้นักเรียนชนกลุ่มน้อยเขมร
จังหวัดซ๊อกจังให้ความสำคัญต่อการศึกษาของชนกลุ่มน้อยเขมร - ảnh 1
นักเรียนในโรงเรียนประจำสำหรัยชนกลุ่มน้อยที่อ.เจาแถ่ง จ.ซ๊อกจัง

ปีการศึกษา2011-2012ที่ผ่านมา ในจังหวัดซ๊อกจังมีนักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยเขมรเกือบ7หมื่น5พันคนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมคิดเป็นร้อยละ29ของนักเรียนทั้งหมดในจังหวัด โดยนักเรียนชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ต่างได้รับสิทธิพิเศษต่างๆตั้งแต่การลดหรือยกเว้นค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่างๆของโรงเรียน  สนับสนุนค่าเล่าเรียนและนโยบายคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยเตรียมอุดมศึกษา หรือวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนเปิดหลักสูตรภาษาชนเผ่าในโรงเรียนที่มีนักเรียนชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก  นอกจากนี้ทางจังหวัดได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนต่างๆรวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งได้มีส่วนร่วมต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น ในปีการศึกษาใหม่นี้ ทางจังหวัดได้เปิดโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อย2แห่งใหม่คือโรงเรียนเจาแถ่งและแถงฟู๊  เพิ่มจำนวนโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยในจ.เป็น9แห่งซึ่งตั้งอยู่กระจายตามท้องถิ่นต่างๆที่มีชุมชนชนเผ่าเขมรอาศัยและในแต่ละปีทางจังหวัดรับนักเรียนใหม่ที่เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเขมรประมาณ2พันคน คุณครู ฝ่องเฟือกเถียน ครูใหญ่โรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยแถงฟู๊เผยว่า ครูของโรงเรียนล้วนแต่มีทักษะวิชาชีพตามมาตรฐานและสามารถพูดภาษาชนเผ่าได้ซึ่งได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการสอนและพบปะสังสรรค์กับนักเรียนและผู้ปกครอง ส่วนนาย กิมเซิน รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาและฝึกอบรมจังหวัดซ๊อกจังเผยว่า โรงเรียนทั้งสองแห่งดังกล่าวได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมัธยมด้วยยอดเงินลงทุนกว่า1ล้านล้านด่งและในแผนการพัฒนาระบบโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยถึงปี2015 ทางจังหวัดจะก่อตั้งโรงเรียนใหม่อีก1แห่งปัจจุบันพวกเรากำลังร่างโครงการก่อสร้างโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยเจิ่นเด่เพื่อให้ถึงปี2015ทุกอ.ต่างมีโรงเรียนประจำสำหรับชนกลุ่มน้อยเขมร  การพัฒนาระบบโรงเรียนดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติตามโครงการที่รัฐบาลได้อนุมัติเพื่ออำนวยความสะดวกให้เด็กชนเผ่าเขมรมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน

จังหวัดซ๊อกจังให้ความสำคัญต่อการศึกษาของชนกลุ่มน้อยเขมร - ảnh 2
นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสศึกษาผ่านอินเตอร์เนต

จากประสิทธิภาพของการศึกษาในท้องถิ่น พี่น้องชนกลุ่มน้อยในจังหวัดก็ได้มีความเชื่อมั่นและมีความเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งด้านจิตสำนึกต่อการส่งลูกหลานไปโรงเรียน นาย เลียนหว่างแถง ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อย แถงฟู๊ เผยว่า โรงเรียนมีความสวยงามทันสมัย พวกเราขอขอบคุณพรรคและรัฐที่ได้ให้ความสนใจดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยโดยเฉพาะอำนวยความสะดวกให้ลูกหลานของเรายกระดับความรู้ด้านการศึกษา  ส่วนที่โรงเรียนเจาแถ่ง ปีการศึกษา2012นี้ ทางโรงเรียนรับนักเรียนป.6 ม.1และม.2รวม210คน  คุณแถกถิเหมิน อยู่ต.ถวนหว่า อ.เจาแถ่ง เผยว่า ปีนี้ลูกทั้งสองคนของเธอได้เข้าเรียนในโรงเรียนใหม่และถึงแม้ฐานะครอบครัวยังลำบากแต่เธอจะพยายามเก็บหอมรอมริบเพื่อส่งเสียให้ลูกๆได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ดิฉันมีลูก2คน คนโตเรียนม.4ส่วนคนเล็กเรียนป.6ที่โรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยในจังหวัด ซึ่งขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐที่ได้ให้ความเอาใจใส่ต่อเด็กนักเรียนชนกลุ่มน้อยเผ่าเขมร

ตามแผนการพัฒนาถึงปี2015 ทุกอ.ที่มีชุมชนชนกลุ่มน้อยเขมรในจังหวัดซ๊อกจังจะมีโรงเรียนประจำของชนกลุ่มน้อยและโรงเรียนร้อยละ50ได้มาตรฐานแห่งชาติ ส่งเสริมการลงทุนยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้แก่โรงเรียนชนกลุ่มน้อย7แห่งตามมาตรฐานโรงเรียนมัธยมแห่งชาติ ซึ่งทั้งนี้ถือเป็นเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อให้ลูกหลานชนเผ่าเขมรในท้องถิ่นได้เรียนหนังสือ เพิ่มความรู้และมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมต่อภารกิจการแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดซ๊อกจัง./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด