ชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่งนห์อนุรักษ์ฆ้อง

(VOVworld) - นายบุ่ย เตี๊ยน โซ อายุ 63 ปี จากตำบลกีม เตี๊ยน อำเภอกีม โบย จังหวัดหว่า บิ่งห์กล่าวยํ้าว่า ตนเป็นชาวเหมื่องที่หลงใหลวัฒนธรรมพื้นบ้านและเป็นตัวอย่างในการเก็บรักษาและอนุรักษ์ฆ้องในจังหวัดหว่าบิ่นห์
(VOVworld) - นายบุ่ย เตี๊ยน โซ อายุ 63 ปี จากตำบลกีม เตี๊ยน อำเภอกีม โบย จังหวัดหว่า บิ่งห์กล่าวยํ้าว่า ตนเป็นชาวเหมื่องที่หลงใหลวัฒนธรรมพื้นบ้านและเป็นตัวอย่างในการเก็บรักษา และอนุรักษ์ฆ้องในจังหวัดหว่าบิ่นห์

ชนเผ่าเหมื่องหว่าบิ่งนห์อนุรักษ์ฆ้อง - ảnh 1
นาย บุ่ยเตี๊ยนโซในชุดของชนเผ่ากิงห์กับนักข่าววีโอวี
ดิฉันพบปะกับนาย บุ่ย เตี๊ยน โซ ณ โซนบ้านไม้ยกพื้นของชนเผ่าเหมื่องในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามในวันหนึ่งของเดือนสิงหาคมที่ท้องฟ้าโปร่งใสและแดดส่องแสงแรงกล้า  นาย โซ มีรูปร่างท้วมเตี้ย สูงประมาณ 160 เซนติเมตร  ผมหงอกขาวและมีริ้วรอยที่หน้าผาก กำลังยืนอยู่คนเดียวในชุดแต่งกายประจำชนเผ่าเหมื่อง โดยสวมเสื้อแขนยาวสีชมพูเข้ม กางเกงสีเขียวย้อมจากเปลือกไม้ด้วยกรรมวิธีการย้อมผ้าแบบธรรมชาติและใส่รองเท้าแตะพลาสติกสีดำ  ข้างๆเขาคือฆ้องชุดหนึ่งรวม 12 ใบที่แขวนเรียงหน้ากระดาน 3 แถว  นาย โซ เล่าให้ฟังว่า “ผมเดินทางมาแสดงฆ้องที่กรุงฮานอยหลายครั้งแล้ว โดยการแสดงครั้งนี้ นอกเหนือจากการตีฆ้องแล้ว ยังมีการแนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมและอาหารของชนเผ่าเหมื่องด้วย  สำหรับการเก็บรักษาฆ้องโบราณนั้น ปัจจุบัน ครอบครัวที่สามารถเก็บรักษาโฆ้องโบราณไว้ในจังหวัดหว่าบิ่งห์มีไม่มากนัก มีแต่ตระกูลใหญ่ๆเท่านั้นที่จะมอบฆ้องให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไป  โดยฆ้อง 1 ใบมีมูลค่าเท่ากับวัว 2 ตัว  แต่เดี๋ยวนี้ มีหลายครอบครัวที่ต้องขายฆ้องเพื่อซื้อสินสอดทองหมั้น หรือ ทองคำไว้ให้ลูก  ดังนั้น ผมจึงพยายามเก็บรักษาฆ้องโบราณไว้ให้ได้  ซึ่งรุ่นผมเป็นรุ่นที่ 8 ที่สามารถเก็บรักษาฆ้องโบราณ 30 ใบไว้ได้”
ในช่วงปลายปี 1970 ถึงต้นปี 1980 ของศตวรรษที่ 20 เวียดนามได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามต่อต้านการล่าเมืองขึ้นของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยากลำบากมากและขาดแคลนทุกอย่าง  ซึ่งส่งผลให้ฆ้องที่จังหวัดหว่าบิ่งห์ไม่ได้รับการดูแลรักษา  มีครอบครัวหลายแห่งได้ขายฆ้องเป็นเศษเหล็กให้แก่คนรับซื้อของเก่า  จนถึงช่วงปลายปี 1980  ฆ้องชนเผ่าเหมื่องยังประสบกับปัญหาความนิยมฟังดนตรีร่วมสมัยจากประเทศตะวันตกมากกว่า จนส่งผลให้ฆ้องค่อยๆหายไป
เมื่อปี 1998 พรรคและรัฐได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติ  แต่ก่อนหน้านั้น 2 ปี นาย บุ่ย เตี๊ยน โซ และชาวบ้านที่หลงใหลฆ้องโบราณที่ตำบลกีม เตี๊ยน อำเภอกีม โบยได้จัดตั้งชมรมเพื่ออนุรักษ์ฆ้อง  นาย โซเผยต่อไปว่า “ชมรมได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 1996  ตอนนั้นมีสมาชิกแค่ 7 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ต่อมาก็มีสมาชิกจากชมรมสตรีมาเข้าร่วมมากขึ้น รวมทั้งเอาฆ้องของครอบครัวมาแสดงร่วมกันด้วย  นอกจากนี้ ยังมีผู้เฒ่าผู้แก่อายุ 70- 90 ปีที่ยังคงเก็บฆ้องโบราณไว้ ได้มอบฆ้องให้สมาชิกชมรมสืบทอดต่อไป  ส่วนการฝึกตีฆ้องนั้น ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในลานบ้านใต้แสงจันทร์”
หลังการก่อตั้งและพัฒนามาเกือบ 20 ปี จนถึงขณะนี้ ชมรมมีสมาชิก 45 คน โดยสาววัยสัย 17 ปีเป็นสมาชิกที่มีอายุตํ่าที่สุด ส่วนผู้ที่มีอายุสูงที่สุด ปีนี้ อายุกว่า 60 ปีแล้ว  ชมรมของนายโซ มักจะแสดงฆ้องในโอกาสเทศกาลต่างๆ รวมทั้งพิธีส่งเยาวชนไปเกณท์ทหารในอำเภอกิมโบย  ในโอกาสฉลองครบรอบ 125 ปีการก่อตั้งจังหวัดหว่าบิ่งห์เมื่อปี 2011 สมาชิกชมรมตำบลกิมเตี๊ยน อำเภอกิมโบยได้เข้าร่วมการบรรเลงฆ้องครั้งใหญ่ที่สุดในเวียดนาม โดยมีศิลปิน 1400 คนเข้าร่วมพร้อมฆ้อง 1400 ใบ
นอกเหนือจากการแสดงฆ้องในจังหวัดหว่าบิ่งห์แล้ว ชมรมของนายโซยังเดินทางไปแสดงฆ้องตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศและในต่างประเทศเพื่อมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ฆ้อง ซึ่งเมื่อกล่าวถึงการเดินทางไปแสดงฆ้องครั้งต่างๆเหล่านี้ นายโซยังรู้สึกประทับใจอยู่และเล่าว่า “เมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 พวกเรามีโอกาสไปแสดงฆ้องเป็นเวลา 10 วันที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เวทีแสดงกลางแจ้งที่จัตุรัสอันกว้างใหญ่ ซึ่งตอนแรกไม่มีผู้ชมมาชมเลย แต่หลังจากได้ยินเสียงเครื่องดนตรีที่แปลกๆ ก็มีคนมาชมเป็นจำนวนมาก ประมาณ 700 คน พวกเขารู้สึกชอบมากเนื่องจากไม่เคยยินเสียงฆ้องมาก่อน  ส่วนเมื่อเร็วๆนี้ คณะฯได้เดินทางไปแสดงฆ้องที่จังหวัดบั๊กนิงห์และจังหวัดดั๊กลั๊ก  โดยตั้งแต่ช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมฝรั่งเศสก่อนปี 1954  มีประชาชนชนเผ่าเหมื่องจำนวนหนึ่งจากหว่าบิ่งห์อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ตำบลหว่าทั้ง นครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลั๊กมาเกือบ 100 ปี  พวกเขายังคงอนุรักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเหมื่องไว้ได้ ดังนั้นพวกเราได้ไปเข้าร่วมงานเทศกาลเพื่อหวนกลับสู่รากเหง้า  ส่วนการแสดงฆ้องที่จังหวัดบั๊กนิงห์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็เพื่อฉลองการเปิดร้านอาหารของชนเผ่าเหมื่อง  เวลาที่ไม่ได้เดินทางไปแสดงฆ้องนอก พื้นที่ พวกเราจะร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมชนเผ่าเหมื่องในการแสดงฆ้องเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว”
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปลายปี ชมรมฆ้องของนายโซ ยังคงทำการฝึกตีฆ้องอย่างต่อเนื่องเพื่อแสดงในโอกาสฉลองการเปิดตัวหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อตั้งพรรคสาขาประจำตำบลต่างๆ เช่น บั๊กเซิน บิ่งห์เซิน เหนิดเซินและเซินถวี  นาย โซกล่าวว่า ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากทางราชการส่วนตำบลไม่มากนัก โดยสมาชิกชมรมต้องสมทบเงินเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆและเอาฆ้องของครอบครัวมาแสดงกัน แต่สมาชิกทุกคนต่างมีความสุขและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชมรมอย่างกระตือรือร้นเพราะความหลงใหลฆ้องและการอนุรักษ์ฆ้องของชนเผ่าเหมื่องไม่เคยหมดไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด