ชาวประมงในอ่าวฮาลองผูกพันธ์ชีวิตกับทะเล
Truong Giang - To Tuan - VOV -  
(VOVWORLD) -ใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมทำให้ชาวประมงหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืนคือเป้าหมายของโครงการทดลองสร้างฐานะมั่นคงให้แก่ชาวประมงในอ่าวฮาลองหลังจากที่ได้ย้ายที่อยู่อาศัยขึ้นไปบนฝั่ง
กระชังปลาที่ฮาลอง |
นายเหงียนวันเหล่ย ชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมงวุงเวียง ซึ่งเป็นหมู่บ้านลอยในอ่าวฮาลองที่มีอายุนับร้อยปีและเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเมื่อยามมาท่องอ่าวฮาลอง ครอบครัวของเขามีกระชังปลา 12 แห่งเลี้ยงปลาที่มีมูลค่าสูง เช่น ปลากะพง ปลาเก๋าและปลาช่อนทะเลซึ่งกระชังนั้นทำจากไม้หรือพลาสติกคอมโพสิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตอบสนองเงื่อนไขการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตามมาตรฐาน ครอบครัวของคุณเหล่ยเป็น 1 ใน 7 ครอบครัวแรกๆที่ได้ดำเนินรูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร่วมกับการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบในอ่าวฮาลองในกรอบการทดลองของโครงการความคิดริเริ่มสหภาพฮาลอง – ก๊าดบ่าที่จัดโดยศูนย์อนุรักษ์สัตว์น้ำและการพัฒนาชุมชนหรือเอ็มซีดีและหุ้นส่วน นับตั้งแต่กลางปี 2014 โดยใช้เงินสนับสนุนจากสหรัฐ คุณเหงียนวันเหล่ยกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ ครอบครัวของผมก็เลี้ยงปลา แต่หลังจากที่ย้ายไปอยู่อาศัยบนฝั่งแล้วตกงาน ดังนั้นพวกเราจึงขอมาทำอาชีพเพาะเลี้ยงในทะเลอีก จากการสนับสนุนของโครงการฯ การเพาะเลี้ยงในปัจจุบันง่ายกว่าเมื่อก่อน ซึ่งต้องการมีเงินทุนซื้อพันธุ์สัตว์ประมาณ 30 ล้านด่งเท่านั้นก็ช่วยให้เราสร้างฐานะที่มั่นคงได้”
นายตังวันเฟี้ยน ผู้อำนวยการสหกรณ์บริการการท่องเที่ยวหว่านจ่ายฮาลอง ซึ่งเป็นผู้จัดโครงการนี้เผยว่า ก่อนที่จะย้ายที่อยู่อาศัยไปบนฝั่ง วุงเวียงเป็นหมู่บ้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้ปลาเป็ดเป็นอาหารเลี้ยงปลาทำให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบในทางลบต่อแหล่งหญ้าทะเลและแนวปะการัง พื้นผิวน้ำของอ่าวฮาลองเล็กแคบแต่มีผู้เพาะเลี้ยงจำนวนนับร้อยคนและมีการปล่อยสารจากการทำความสะอาดทุกวันลงในทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมได้ไม่นานปี 2010 ที่วุงเวียงได้เกิดปัญหาสัตว์น้ำตายจำนวนมาก ส่งผลเสียเป็นอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เพาะเลี้ยง แต่ในรูปแบบการเพาะเลี้ยงใหม่นี้ ชาวประมงจะได้รับการสนับสนุนในการทำกระชัง การฝึกอบรมวิธีการเพาะเลี้ยง การจัดสรรอาหารอุตสาหกรรมตามมาตรฐานและการจำหน่ายสินค้า นายเฟี้ยนเผยว่า “การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลอย่างยั่งยืนมีความได้เปรียบต่างๆ เช่น สามารถควบคุมพันธุ์สัตว์ แหล่งกำเหนิด สามารถควบคุมโรคระบาดได้ตั้งแต่เบื้องต้น เลือกแหล่งอาหารและขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ส่วนปลาที่เลี้ยงในอ่าวฮาลองไม่ใช้สารชีวภาพและยาปฏิชีวนะมากเกินไป ในเร็วๆนี้ เราก็ปฏิบัติตามมาตรฐาน Vietgap ที่จะมีการบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
พานักท่องเที่ยวไปชมกระชังปลา |
ควบคู่กันนั้น วุงเวียงยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเนื่องจากมีทิวทัศน์สวยงาม โดยในช่วงปี 2013-2014 แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่นี่ประมาณ 160,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ชอบการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและเยี่ยมชมกระชังเลี้ยงปลากลางเกาะหินต่างๆ สัมผัสกับวัฒนธรรมพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวประมงในอ่าวฮาลอง นางโห่ถิเอี๊ยนทู รองผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์สัตว์น้ำทะเลและการพัฒนาชุมชนประเมินเกี่ยวกับโครงการใหม่นี้ว่า “การปฏิบัติโครงการได้รับการสนับสนุนจากทางการปกครองจังหวัดกว๋างนิงห์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงในอ่าวฮาลองให้ดีขึ้น เราได้รับความไว้วางใจจากชมรมชาวประมงที่มีความปรารถนาจะกลับมาทำงานในทะเล นี่คือพลังขับเคลื่อนให้แก่พวกเราในการปฏิบัติโครงการนี้ต่อไป หวังว่า จากโครงการนี้จะมีการถอดประสบการณ์และขยายผลต่อไปเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามได้อย่างยั่งยืน”
ตามกำหนดการ ถึงปี 2018 กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมด 32 แห่งในโครงการจะนำเข้าใช้การอย่างสมบูรณ์และนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2017 นี้ ชาวประมงในวุงเจียงจะเริ่มเลี้ยงหอยมุกเพื่อเพิ่มรายได้มากขึ้น ซึ่งการเพาะเลี้ยงแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่สร้างฐานะที่มั่นคงให้แก่ชาวประมงเท่านั้น หากยังช่วยยกระดับจิตสำนึกและความรับผิดชอบของชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอ่าวฮาลองที่เป็นมรดกธรรมชาติแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย.
Truong Giang - To Tuan - VOV