นักวิทยาศาสตร์หญิงช่วยคืนแสงสว่างให้กับผู้ป่วยโรคตา

(VOVworld) – รางวัลโกวาแลฟสกายาปี 2014 ได้มอบให้แก่คณะและบุคคล 1 คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ยอดเยี่ยมในด้านวิทยาศาสตร์ในกรุงฮานอยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ซึ่งคณะที่ได้รับรางวัลครั้งนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ของสาขาวิชาเนื้อเยื่อ – เอ็มบริโอ ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยและคณะจักษุของโรงพยาบาลรักษาโรคตาส่วนกลาง โดยรองศาสตรจารย์ ดร.เหงวียนถิบิ่ง จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยเป็นตัวแทนในโครงการวิจัยการใช้เทคโนโลยีเซลล์ในการรักษาโรคตา
(VOVworld) – รางวัลโกวาแลฟสกายาปี 2014 ได้มอบให้แก่คณะและบุคคล 1 คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ยอดเยี่ยมในด้านวิทยาศาสตร์ในกรุงฮานอยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ซึ่งคณะที่ได้รับรางวัลครั้งนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ของสาขาวิชาเนื้อเยื่อ – เอ็มบริโอ ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยและคณะจักษุของโรงพยาบาลรักษาโรคตาส่วนกลาง โดยรองศาสตรจารย์ ดร.เหงวียนถิบิ่ง จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยเป็นตัวแทนในโครงการวิจัยการใช้เทคโนโลยีเซลล์ในการรักษาโรคตา
นักวิทยาศาสตร์หญิงช่วยคืนแสงสว่างให้กับผู้ป่วยโรคตา - ảnh 1
คณะนักวิทยาศาสตร์ของสาขาวิชาเนื้อเยื่อ – เอ็มบริโอ

สมาชิกของคณะนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้มีทั้งรองศาสตรจารย์ เจ้าหน้าที่ระดับดร. ปริญญาโท ปริญญาตรีและเจ้าหน้าที่เทคนิคของสาขาวิชาเนื้อเยื่อ – เอ็มบริโอ ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยและคณะจักษุของโรงพยาบาลจักษุส่วนกลาง ซึ่งเน้นวิจัยวิธีการรักษาด้วยการเพาะเลี้ยงเยื่อบุผิวจากเซลล์ต้นกำเนิดในส่วนต่างๆของร่างกาย  ถ้าหากมีปัญหาลูกตาอักเสบข้างใดข้างหนึ่งก็จะใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเยื่อลูกตาอีกข้าง แต่ถ้าหากตาอักเสบทั้งสองข้างจะใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเยื่อบุในช่องปาก หลังจากทำการเพาะเลี้ยงให้เนื้อเยื่อนั้นโตเต็มวัยก็จะสามารถนำมาปลูกถ่ายได้ นี่คือวิธีการใหม่ที่กำลังประยุกต์ใช้ในหลายประเทศและยังคงได้รับการวิจัยเพื่อพัฒนาต่อไป แต่ในเวียดนามยังไม่มีการวิจัยและประยุกต์ใช้ รองศาสตราจารย์ ดร. เหงวียนถิบิ่ง จากมหาวิทยาลัยแททยศาสตร์ฮานอย ตัวแทนของคณะที่วิจัยโครงการนี้เผยว่า “พวกเราวิจัยวิธีการที่ทันสมัยของโลกเพื่อนำแสงสว่างมาให้แก่ผู้ป่วยโรคตาในเวียดนาม  ซึ่งถือเป็นวิธีรักษาขั้นสุดท้าย สำหรับผู้ที่ทำการผ่าตัดตาหลายครั้งและรักษาด้วยวิธีอื่นๆแต่อาการยังไม่ดีขึ้นและวิธีการรักษาที่ทันสมัยนี้ก็มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการรักษาในต่างประเทศ”
ในช่วงแรก คือปี 2004 การวิจัยประสบอุปสรรคเพราะขาดเงินทุน โดยสมาชิกทุกคนต้องใช้เงินส่วนตัวในการทำวิจัย ถึงปี 2007 ทางคณะได้รับเงินทุนจากกระทรวงสาธารณสุขและต่อจากนั้นก็ได้รับเงินทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.เหงวียนถิบิ่งเผยต่อไปว่า “พวกเรายังคงประสบอุปสรรคต่างๆ เช่น สารเคมีและวัสดุหลายอย่างไม่สามารถหาซื้อในเวียดนามได้ ส่วนการซื้อจากต่างประเทศก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งพวกเราก็พยายามหาทางแก้ปัญหาเพื่อประสบความสำเร็จในการวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”
นักวิทยาศาสตร์หญิงช่วยคืนแสงสว่างให้กับผู้ป่วยโรคตา - ảnh 2
รองศาสตราจารย์ ดร. เหงวียนถิบิ่ง
หลังการวิจัยเป็นเวลา 4 ปี จนถึงปี 2007 ก็เป็นครั้งแรกที่คณะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเนื้อเยื่อลิมบัสของลูกตากระต่ายแล้วและยังประสบความสำเร็จในการรักษาโรคนี้ในกระต่ายอีกด้วย หลังจากนั้น คณะก็ประสบความสำเร็จในการทดลองรักษาตาของมนุษย์ ซึ่งผู้ป่วยคนแรกที่ได้รับการปลูกถ่ายด้วยวิธีนี้เมื่อต้นปี 2008 ยังคงมีอาการปกติจนถึงปัจจุบัน ดร. แพทย์หญิงหวูเตวะแคง ผู้เชี่ยวชาญด้านเยื่อลูกตาและแพทย์ผ่าตัดตาให้แก่ผู้ป่วยเผยว่า “ในกรณีที่ตาอักเสบในส่วนของเนื้อเยื่อหรือเยื่อเมือกบุกระจกตา วิธีการรักษาใหม่นี้จะช่วยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นภายในเวลา 3 และใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังการผ่าตัดประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร”
จนถึงขณะนี้ ในจำนวนผู้ป่วย 37 คนที่ได้รับการผ่าตัดในเวลาที่ผ่านมา มี 15 คนต้องเลี้ยงเซลล์จากลิมบัสของลูกตาอีกข้างที่ไม่อักเสบ ซึ่งมีอัตราความสำเร็จร้อยละ 80 ส่วน 22 คนที่เหลือตาเสียทั้ง 2 ข้างต้องใช้วิธีเลี้ยงเซลล์จากเยื่อบุช่องปาก ซึ่งมีอัตราความสำเร็จร้อยละ 70 นางโห่ถิกิมแทง รองประธานสหภาพแรงงานที่ดูแลกิจการด้านสตรีและการวิจัยวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮานอยเผยว่า “นี่เป็นโครงการวิจัยที่ต้องมีความร่วมมืออย่างมากระหว่างแพทย์คลินิกกับศูนย์วิจัยเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แม้จะเพิ่งรักษาผู้ป่วยได้ไม่กี่คนแต่ก็แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญและความสำเร็จในเบื้องต้นของการวิจัยนี้ รวมทั้งคืนแสงสว่างให้กับผู้ป่วย ส่วนขั้นตอนดำเนินโครงการก็ตอบสนองความต้องการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญในการรักษาโรคตาของเวียดนาม”
ควบคู่กับการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาโรคตา ทางคณะฯยังทำการวิจัยใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาโรคอื่นๆอีกด้วย ซึ่งส่วนร่วมของคณะฯจะช่วยคืนแสงสว่างและชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วยจำนวนมาก./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด