(VOVWORLD) -แม้จะห่างไกลแผ่นดินใหญ่นับร้อยไมล์ทะเลแต่หมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ในแนวหน้าของปิตุภูมิ ที่มีไม่ถึง 10 ครอบครัว ก็มีโรงเรียนและสถานีอนามัย ซึ่งประชาชนที่นี่มีใจรักทะเลและเกาะแก่ง ปิตุภูมิและประเทศ
น้ำใจระหว่างทหารกับประชาชนมีความใกล้ชิดมาก
|
บนเกาะซองตื่อเตย มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของ 7 ครอบครัว ซึ่งแต่ละครอบครัวมีคู่สามีภรรยารุ่นใหม่และลูกสองคน ทุกวัน ผู้ชายจะเข้าร่วมกองกำลังทหารบ้าน กองเยาวชนและร่วมกับทหารเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆบนเกาะ ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่บ้าน ปลูกผัก เลี้ยงหมู ไก่และดูแลลูก เมื่อพระอาทิตย์ตก พวกเขาจะเจอกันและปั่นจักรยานไปกับลูกบนถนนเลียบชายฝั่ง นางเลทูจางได้กล่าวถึงชีวิตบนเกาะว่า
“ครอบครัวดิฉันมีสมาชิก 4 คน เรามีลูกชายและลูกสาว พวกเราย้ายมาอยู่อาศัยบนเกาะได้ 3 ปีแล้ว ดิฉันคิดว่า ชีวิตบนเกาะมีความเงียบสงบมากและมีความสุขมาก”
ครอบครัวต่างๆที่อาศัยบนเกาะได้รับความช่วยเหลือจากทางการท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ทหารบนเกาะ ซึ่งน้ำใจระหว่างทหารกับประชาชนมีความใกล้ชิดมาก ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านการช่วยเหลือจุนเจือกันเมื่อประสบอุปสรรค คุณ ลิวถิเกิ่มหั่ง รู้สึกซาบซึ้งใจมากเมื่อกล่าวถึงน้ำใจอันอบอุ่นที่มีต่อกันของประชาชนที่นี่
“สำหรับประชาชนบนเกาะซองตื่อเตย น้ำใจระหว่างกองทัพกับประชาชนบนเกาะมีความสามัคคี ให้ความสนใจกัน แบ่งเบาอุปสรรคและช่วยเหลือจุนเจือกัน พวกเราได้มอบขนมและของขวัญให้แก่เจ้าหน้าที่ทหาร ส่วนทหารมอบผักให้แก่พวกเรา ซึ่งพวกเราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข”
ส่วนสำหรับเด็กๆที่อาศัยบนเกาะ พวกเขามีน้ำใจพิเศษต่อเจ้าหน้าที่ทหารและเกาะแก่งของปิตุภูมิ เด็กหญิง เสิ่มถิจุ๊กลี นักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาซองตื่อเตยได้เผยว่า
“หนูรักทหารมากเพราะทหารสอนสิ่งดีๆและการละเล่นต่างๆ ให้แก่หนู เจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่ปกป้องประเทศเพื่อให้พวกหนูได้ไปโรงเรียน”
วัดซองตื่อเตย (Photo: thanhnien) |
โรงเรียนประถมศึกษาซองตื่อเตยเป็นโรงเรียนพิเศษที่มีชั้นเรียนเดียวสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนที่อาศัยบนเกาะ การสอนหนังสือให้แก่นักเรียนในวัยต่างๆนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับครู 2 คนของโรงเรียน การสอนหนังสือมาจากความเข้าใจ การเดินพร้อมกับเด็กๆที่อาศัยบนเกาะที่ห่างไกลแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นเกียรติ เป็นความภาคภูมิใจของครู 2 คนและครอบครัว ครูเหงวียนหิวฟู้ได้เผยว่า
“ผมดีใจและภูมิใจมากที่ได้สอนหนังสือในแนวหน้าของปิตุภูมิ ผมเองและครอบครัวต่างรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมต่อเจื่องซาอันศักดิ์สิทธิ์ สอนหนังสือให้แก่เด็กเพื่อให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองที่สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคม”
ในชั้นเรียนนี้ นอกจากการสอนหนังสือให้แก่นักเรียนแล้ว ครูยังสอนการร้องเพลง ศิลปะป้องกันตัวและเรียนรู้เกี่ยวกับทะเล ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านบนเกาะเจื่องซาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยโรงเรียนและสถานีอนามัยได้รับการก่อสร้าง เครื่องกรองน้ำทะเลเป็นน้ำจืดได้รับการติดตั้งบนเกาะ ชาวบ้านบนเกาะมีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมใช้ แม้จะอยู่บนเกาะกลางทะเลแต่ทุกวัน ก็ยังสามารถได้ยินเสียงระฆัง เสียงนักเรียนอ่านหนังสือและเสียงไก่ขัน ทำให้รู้สึกว่า เจื่องซามีความใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งของปิตุภูมิ.