ผู้กำกับบุ่ยต๊วนหยุงกับภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม”
Kim Ngan - VOV5 -  
(VOVworld) – “สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ การถ่ายทำฉากทุกฉากล้วนมีความยากเพราะแต่ละฉากต้องการเงื่อนไขที่แตกต่างกัน รวมถึงฉากที่บรรยายถึงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะยากมากถ้าหากเราทุ่มเทถ่ายทำอย่างเต็มที่” นี่คือคำยืนยันของคุณบุ่ยต๊วนหยุง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม” ซึ่งได้รับคำชมว่า เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความซาบซึ้งตรึงใจให้แก่ผู้ชมโดยใช้งบในการถ่ายทำเพียง 1 หมื่นล้านด่งหรือ 15 ล้านบาทเท่านั้น
(VOVworld) – “สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ การถ่ายทำฉากทุกฉากล้วนมีความยากเพราะแต่ละฉากต้องการเงื่อนไขที่แตกต่างกัน รวมถึงฉากที่บรรยายถึงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะยากมากถ้าหากเราทุ่มเทถ่ายทำอย่างเต็มที่” นี่คือคำยืนยันของคุณบุ่ยต๊วนหยุง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม” ซึ่งได้รับคำชมว่า เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความซาบซึ้งตรึงใจให้แก่ผู้ชมโดยใช้งบในการถ่ายทำเพียง 1 หมื่นล้านด่งหรือ 15 ล้านบาทเท่านั้น
“เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม”
|
ดิฉันพบปะกับคุณบุ่ยต๊วนหยุงเมื่อต้นเดือนนี้ในขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม” กำลังฉายในสัปดาห์ภาพยนตร์โอกาสฉลองครบรอบ 85 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม 3 กุมภาพันธ์ ขณะนั้น บุ่ยต๊วนหยุงสวมเสื้อแจ็คเก็ตหนังสีน้ำตาล กางเกงยีนส์และเสื้อพรม ดูเขาเหมือนผู้ชายที่มีอายุอ่อนกว่าวัย 43 ปี ในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผลิตภาพยนตร์ บุ่ยต๊วนหยุงได้ประสบความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจในวงการภาพยนตร์เวียดนาม เช่น ได้รับรางวัลว่าวทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมประเภทละครโทรทัศน์ชุดเมื่อปี 2006 จากละครโทรทัศน์เรื่อง “การแต่งงานบนวิมาน” รางวัลดอกบัวทองประเภทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากผลงานเรื่อง “ฮานอย ฮานอย” ในงานมหกรรมภาพยนตร์แห่งชาติครั้งที่ 15 และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรางวัลว่าวทองเมื่อปี 2006 อีกด้วย ส่วนภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม” เป็นภาพยนตร์ชุดล่าสุดของบุ่ยต๊วนหยุง การถ่ายทำค่อนข้างยากเพราะต้องใช้ภาษาโบราณหลายภาษา “การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ยากมากเพราะใช้หลายภาษาที่เป็นภาษาโบราณ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาไทยและภาษาเวียดนาม เพราะบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่น ท่านหวอตุ่งมีสำเนียงจังหวัดกว๋างนาม พระบามีสำเนียงเฮืองเซินจังหวัดเหงะติ๋ง นักแสดงคนอื่นๆต้องสื่อสารด้วยสำเนียงของแต่ละถินในจังหวัดเหงะอาน เช่น สำเนียงนามด่านของลุงโฮ”
บุ่ยต๊วนหยุงถ่ายทำฉากหนึ่งในจังหวัดพิจิตร
|
ฤดูใบไม้ผลิปี 1927 เหงียนอ๊ายก๊วกหรือประธานโฮจิมินห์ ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่าเฒ่าจิ๋นได้เดินทางจากยุโรปเข้าไปประเทศสยามเพื่อเคลื่อนไหวปฏิวัติและเตรียมรวม 3 องค์การพรรคเข้าเป็นองค์กรเดียว ในตอนแรก ท่านอาศัยอยู่ที่บ้านดง จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยได้รับการช่วยเหลือปกป้องจากครอบครัวท่านดั๋งทุกเฮื้อและลูกชายคือดังท้ายเตวี๊ยน ลูกสาวดั๋งกวิ่งแองหรือคุณยอและลูกเขยหวอตุ่ง ดังนั้น หลายฉากในภาพยนตร์จึงได้รับการถ่ายทำที่พิจิตรภายใต้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากทางการท้องถิ่นและชาวบ้าน “เจ้าของโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งได้ให้พวกเรายืมโรงงานเพื่อบันทึกเสียง และมีคนไทยมาแสดงเป็นตัวประกอบ เช่น เสียงพุดคุย เสียงทักทาย เป็นต้น ซึ่งสนุกสนานมาก ทางการจังหวัดพิจิตรได้ติดตามโครงการนี้ตั้งแต่ที่ยังเป็นโครงการและให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ หลังจากที่เราถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จแล้ว ทางจังหวัดได้อนุรักษ์ไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม”
คุณบุ่ยต๊วนหยุงเล่าว่า ตลอดระยะเวลาครึ่งเดือนที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ทางคณะถ่ายทำได้รับความรักจากคนไทยและนับถือประธานโฮจิมินห์เหมือนคุณลุงเช่นเดียวกับคนเวียดนาม “
พวกเขาถามผมว่า กำลังถ่ายทำภาพยนตร์เกี่ยวกับลุงโฮใช่ไหม ชาวไทยก็มีความเคารพรักลุงโฮ พวกเขาเอ่ยถึงท่านด้วยความเคารพนับถือเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่เฉกเช่นเดียวกับ Abraham Lincoln หรือผู้นำขบวนการเรียกร้องเอกราช คนไทยก็เรียกประธานโฮจิมินห์ว่าลุงโฮเหมือนคนเวียดนาม”
ฉากหนึ่งในภาพยนตร์
|
ในตลอด 7 วันที่ฉายในกรุงฮานอย ภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม” ได้สร้างความซาบซึ้งตรึงใจให้แก่ผู้ชม หลังจากที่ภาพยนตร์จบลง ทุกคนต่างยืนขึ้นและปรบมือชื่นชม
“ภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะมากๆเพราะมีความหมายลึกซึ้งและช่วยให้ป้าเข้าใจช่วงเวลาที่ลุงโฮทำการเคลื่อนไหวในประเทศไทย ถ้าหากอ่านหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ ป้าก็เข้าใจได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น”
“ดิฉันมีความซาบซึ้งใจต่อความเสียสละเพื่อประเทศของลุงโฮ ท่านได้สละทั้งครอบครัวและความคิดถึงบ้าน ภาพยนตร์เรื่องนี้ช่วยให้ดิฉันเข้าใจแง่มุมใหม่เกี่ยวกับลุงโฮที่แตกต่างกับลุงโฮในละครเวที เพราะมีทั้งช่วงเวลาเคลื่อนไหวปฏิวัติเพื่อกู้ชาติและน้ำใจของท่านแก่ประชาชน”
นายบุ่ยต๊วนหยุงตระหนักเสมอว่า“ผู้กำกับต้องให้ความเคารพต่อประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วแต่ต้องทำให้ผู้ชมเข้าถึงเรื่องราวในภาพยนตร์ให้ได้มากที่สุด” ซึ่งแนวทางนี้ได้ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในการทำภาพยนตร์เรื่อง “เฒ่าจิ๋นในประเทศสยาม”./.
Kim Ngan - VOV5