ฝามเฟือกฮึงกับการต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศรวม 8 ครั้งเพื่อความฝันเกี่ยวกับโอลิมปิก

(VOVworld) – ในขณะที่ทุกคนในครอบครัวทานข้าวร่วมกันในช่วงตรุษเต๊ด แต่นักกีฬาหลายคนอย่างเช่น คุณฝามเฟือกฮึงยังคงต้องฝึกในต่างประเทศ และนี่เป็นครั้งที่ 8 แล้วที่คุณฮึงต้องต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการได้รับสิทธิ์เข้าร่วมเวทีการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือโอลิมปิกรีโอ 2016

(VOVworld) – ในขณะที่ทุกคนในครอบครัวทานข้าวร่วมกันในช่วงตรุษเต๊ด แต่นักกีฬาหลายคนอย่างเช่น คุณฝามเฟือกฮึงยังคงต้องฝึกในต่างประเทศ และนี่เป็นครั้งที่ 8 แล้วที่คุณฮึงต้องต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการได้รับสิทธิ์เข้าร่วมเวทีการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือโอลิมปิกรีโอ 2016
ฝามเฟือกฮึงกับการต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศรวม 8 ครั้งเพื่อความฝันเกี่ยวกับโอลิมปิก - ảnh 1
เป้าหมายสูงสุดคือการได้รับสิทธิ์เข้าร่วมเวทีการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือโอลิมปิกรีโอ 2016 (Photo Internet)
หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกปี 2015 ฝามเฟือกฮึงและฟานถิแทงห่าได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันยิมนาสติกปรีโอลิมปิก 2016 ณ ประเทศบราซิลในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งเพื่อเตรียมเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ เฟือกฮึงได้เก็บตัวที่ประเทศจีนตั้งแต่ต้นปีนี้โดยไม่ได้ร่วมฉลองตรุษเต๊ดประเพณีกับครอบครัว แม้จะคิดถึงบ้านแต่เขาก็พยายามฝึกอย่างหนักเพื่อเป้าหมายสูงสุด “ผมยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือจะได้รับสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกรีโอ 2016 ผมหวังว่า ผมจะทำได้ ผมเหลือเวลาไม่มากแล้ว”
ฝามเฟือกฮึงต้องไปเก็บตัวในต่างประเทศตั้งแต่อายุ 7 ขวบทำให้การต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำของเขา “ผมยังจำตรุษเต๊ดที่เมื่อผมอายุประมาณ 9-10 ขวบ ครูอาจารย์ทุกคนต่างกลับประเทศ พวกเราชวนกันไปเที่ยวที่สวนสาธารณะและชมการยิงดอกไม้ไฟ ตรุษเต๊ดในต่างประเทศไม่มีถาดอาหารไหว้บรรพบุรุษเหมือนในเวียดนามมีแต่อาหารว่างสำหรับเด็กเท่านั้น”
เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาที่ลูกชายต้องต้อนรับตรุษเต๊ดเพียงลำพังตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อยอยู่ คุณโงถิเวินห่ง คุณแม่ของฝามเฟือกฮึงได้เผยว่า  “บางครั้งดิฉันต้องมาอยู่บ้านของพ่อแม่เพื่อคลายความคิดถึงลูกชายที่กำลังฝึกในต่างประเทศ เมื่อทานข้าวก็คิดถึงลูกจึงร้องไห้ตลอด ปีแรกที่ลูกไป ตรุษเต๊ดลูกไม่กลับประเทศ ถึงปีที่ 2 ลูกกลับมาที่บ้าน ตอนฉันเรียกเขา เขาก็ไม่ตอบ พอฉันกอดเขาแล้วถามว่าทำไมไม่ตอบ ลูกบอกว่า ทำไมแม่ดูเปลี่ยนไปมากแบบนี้ ดิฉันกอดลูกแล้วร้องไห้”
ชีวิตที่มีแต่การฝึกอย่างยากลำบากเพื่อแลกกับเหรียญรางวัลทั้งในระดับภูมิภาคและโลกถือเป็นแรงกำลังใจให้เฟือกฮึงผูกพันกับการแข่งขันยิมนาสติกในตลอด 21 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น กีฬายิมนาสติกได้ช่วยสร้างความอดทนและความมุ่งมั่นให้แก่เฟือกฮึง ที่ไม่ย่อท้อต่อความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะในขณะที่เขาป่วยเป็นโรควัณโรคกระดูก ซึ่งกระดูกสันหลังของเขาถูกทำลายไปแล้วถึง 2 ท่อนจนคิดว่าต้องเลิกเล่นยิมนาสติกแต่จากการรักษาและความพยายามของตนเอง ในที่สุดเฟือกฮึงก็ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก 2012 และได้เหรียญทองในการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกปี 2013 ณ ประเทศสโลวาเกีย
ฝามเฟือกฮึงกับการต้อนรับตรุษเต๊ดในต่างประเทศรวม 8 ครั้งเพื่อความฝันเกี่ยวกับโอลิมปิก - ảnh 2
(Photo Internet)
ในการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกปี 2015 ณ ประเทศสกอตแลนด์ เฟือกฮึงได้แสดงท่าใหม่ในประเภทห่วงที่ได้ถูกระบุในหนังสือแนะนำเทคนิกของสหพันธ์ยิมนาสติกโลกและถูกตั้งชื่อตามชื่อของเฟือกฮึง ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายในชีวิตนักกีฬายิมนาสติกของเฟือกฮึง“จริงๆแล้ว ท่าที่ผมคิดค้นขึ้นมานั้นไม่ยากนักแต่ยังไม่เคยมีใครเล่นท่านี้ ในการแข่งขัน ผมกล้าเล่นดูแม้จะล้มเหลวก็ตามแต่ความสำเร็จของผมคือสหพันธ์ยิมนาสติกโลกได้รับรองเป็นท่าใหม่ ผมมีความยินดีเป็นอย่างมากและหวังว่า ในอนาคต นักกีฬายิมนาสติกเวียดนามจะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น คิดค้นท่าใหม่ๆเพื่อจะได้ระบุในกฎยิมนาสติกโลก”
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันยิมนาสติกโลก ฝามเฟือกฮึงได้บรรลุเป้าหมายคือได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันปรีโอลิมปิก 2016 ซึ่งถ้าหากติดท๊อป 24 คน ความฝันที่จะได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่สองของเฟือกฮึงก็จะกลายเป็นความจริง
ฝามเฟือกฮึงเคยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกลอนดอน 2012 ณ ประเทศอังกฤษ เคยแข่งขันในรายการระดับโลก ส่วนโอลิมปิกรีโอ 2016 อาจเป็นการแข่งขันโอลิมปิกโลกครั้งสุดท้ายของฝามเฟือกฮึง ดังนั้น แม้ต้องฉลองตรุษเต๊ดไกลบ้านแต่เขาก็พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะได้บรรลุผลสำเร็จที่ตนตั้งเป้าไว้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด