มาตรการอนุรักษ์สุกรพันธุ์พื้นเมืองม๊องก๊าย

(VOVWORLD) -สุกรพันธุ์พื้นเมืองม้องก๊ายเป็นสุกรพันธุ์แท้ที่หายากและนิยมเลี้ยงกันมานานในจังหวัดกว๋างนิง เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย โตเร็ว แข็งแรงและเนื้ออร่อยกว่าเนื้อหมูจากเขตอื่น  นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในจังหวัดและนครต่างๆ หน่วยงานการเกษตร สถานประกอบการและเกษตรกรจังหวัดกว๋างนิงได้เป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติมาตรการฉุกเฉินเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สุกรนี้ให้พัฒนาขยายตัวอย่างมั่นคง

มาตรการอนุรักษ์สุกรพันธุ์พื้นเมืองม๊องก๊าย - ảnh 1สุกรพันธุ์ม้องก๊าย 

นับตั้งแต่ปลายปี 2018 เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศต่างๆ หน่วยงานการเกษตรและสัตวแพทย์จังหวัดกว๋างนิงได้เป็นฝ่ายรุกในการวางแผนป้องกันเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สุกรนี้ นาย ดั๋งก๊วกบ๋าว ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนพันธุ์สัตว์เลี้ยงกว๋างนิงได้เผยว่า “พวกเรามีฝูงพ่อแม่พันธุ์สุกรม้องก๊ายร้อยตัว ตอนโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระบาด พวกเราได้ปฏิบัติมาตรการป้องกันต่างๆแต่ท้ายที่เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พวกเราก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า เมื่อไหร่โรคนี้จะหยุดระบาด แต่พวกเราคิดว่า ทางการจังหวัดฯต้องเตรียมความพร้อมก่อน”

สำนักงานการเพาะเลี้ยงและสัตวแพทย์จังหวัดกว๋างนิงได้เผยว่า จนถึงขณะนี้ จังหวัดกว๋างนิงมีสุกรพันธ์ม้องก๊ายกว่า 27,000 ตัวคิดเป็นร้อยละ 81 ของจำนวนสุกรที่เลี้ยงในจังหวัด เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา การอนุรักษ์พันธุ์สุกรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยได้มีการจัดการประชุมหลายครั้งในจังหวัดกว๋างนิงเพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์พันธุ์สุกรม๊องก๊าย แม้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องดังกล่าว แต่บริษัทหุ้นส่วนแร่ธาตุเทียนถวนเตื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัท 5 แห่งที่เลี้ยงสุกรพันธุ์ม้องก๊ายได้นำสุกรพันธุ์ม๊องก๊าย 26 ตัวมาเลี้ยงบนเกาะแถหว่าง อำเภอเวินโด่นเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สุกรนี้ นาย เจิ่นหว่า ผู้อำนวยการบริษัทฯได้เผยว่า “ ในจำนวนสุกร 26 ตัว มีสุกรตัวผู้ 6 ตัวและสุกรตัวเมีย 20 ตัว ซึ่งสุกรจะออกลูกคอกแรกในเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ เกาะแห่งนี้ไม่มีคนอาศัย พวกเราได้ปฏิบัติมาตรฐานการเลี้ยงสุกรอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เช่น การให้หมูกินอาหารที่ปรุงสุก”

มาตรการอนุรักษ์สุกรพันธุ์พื้นเมืองม๊องก๊าย - ảnh 2สุกรพันธุ์ม้องก๊ายเป็นสุกรพันธุ์แท้ที่หายากและนิยมเลี้ยงกันมานานในจังหวัดกว๋างนิงเพราะสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย โตเร็ว แข็งแรงและเนื้ออร่อยกว่าเนื้อหมูจากเขตอื่น 
สำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดกว๋างนิงได้วางแผนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สุกรม้องก๊าย ดอกเตอร์ ฟานเลเซิน หัวหน้าสาขาวิชาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์และพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงสังกัดสถาบันการเพาะเลี้ยงได้เผยว่า ต้องปฏิบัติตาม 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือระยะเร่งด่วน ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรค ต้องต้องทำการแช่แข็งสเปิร์มและเอ็มบริโอ ส่วนระยะที่ 2 ได้รับการปฏิบัติหลังจากที่การแพร่ระบาดโรคหยุดคือทำการผสมเทียมสุกร ซึ่งมาตรการนี้จะค้ำประกันประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง และสามารถฟื้นฟูฝูงสุกรหลังการแพร่ระบาด “ปัจจุบัน พวกเราต้องทำการแช่แข็งสเปิร์มและปฏิบัติในขอบเขตที่ใหญ่ขึ้นแต่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับกรณีที่เลวร้ายกว่าคือถ้าเกิดสถานการณ์โรคระบาดและไม่เหลือสุกรแม่พันธุ์ พวกเราต้องเก็บรักษาเอ็มบริโอเพื่อทำการผสมเทียม ในฟาร์มเลี้ยงแต่ละแห่ง พวกเราต้องคัดเลือกสุกรตัวผู้ 6 ตัว พวกเราต้องใช้เวลา  1 – 2 ปีเพื่อฟื้นฟูฝูงสุกรพันธุ์ม๊องก๊าย”

ควบคู่กับการปฏิบัติมาตรการที่ 2 ต้องให้ความช่วยเหลือบริษัทต่างๆในการเลี้ยงสุกรบนเกาะ ค้ำประกันการปฏิบัติมาตรฐานที่เข้มงวดและทำการตรวจสอบการอนุรักษ์พันธุ์สุกรม๊องก๊ายในท้องถิ่น จนถึงขณะนี้ เมืองม๊องก๊ายมีสุกร 1,100 ตัว โดยเป็นสุกรตัวเมีย 415 ตัว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด