ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย

(VOVWORLD) - หุ่นกระบอกคือหุ่นขนาดเล็กที่มีลำตัวทำจากกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่๕  การแสดงหุ่นกระบอกได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการแสดงโขนและหนังใหญ่ แต่ได้เริ่มสูญหายตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 9 ปัจจุบัน ไทยมีคณะเชิดหุ่นกระบอก 2-3 คณะเท่านั้น รวมทั้งคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นที่มีการแสดงเชิดหุ่นอย่างต่อเนื่อง ในรายการสารคดีของเราวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทยผ่านการแสดงบทละคร “พระสุธน มโนราห์”ของคณะเชิดหุ่นกระบอกบ้านตุ๊กกะตุ่นในกรอบงานเทศกาลหุ่นกระบอกนานาชาติ ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้

 

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 1ฉาก พรานบุญกำลังร่ายรำท่ามกลางป่าหิมพานต์ที่ลึกลับ (ภาพจากคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น)

เวลา 20.00น.  ที่นั่งชั้น 1 ของโรงละครเอาเกอร์ที่มีประมาณ ๑๐๐ที่นั่งถูกจับจองเต็มหมด ผู้ชมส่วนใหญ่คือผู้ปกครองและเด็กๆที่กำลังรอชมการแสดงหุ่นเชิดเรื่อง“พระสุธน มโนราห์”ของคณะเชิดหุ่นกระบอกบ้านตุ๊กกะตุ่น แสงไฟสีฟ้าส่องผ่านตัวละครหุ่นที่เป็นผู้ชาย ความสูง 40 ซม. ใบหน้าดูดุ ใส่เสื้อและมีผ้าโพกศีรษะที่มีลายพื้นเมือง ใส่สร้อยคอที่ทำจากลูกปัดสีดำ และสะพายธนูไว้ที่หลัง กำลังร่ายรำท่ามกลางป่าหิมพานต์ที่ลึกลับในตอนกลางคืน ซึ่งตัวละครหุ่นดังกล่าวคือพรานบุญที่กำลังวางแผนจับตัวนางกินรีไปถวายพระสุธน ส่วนฉากบนเวทีมีการใช้ภาพสามมิติเพื่อทำเป็นคลื่นน้ำ

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 2การแสดง หุ่นเชิดเรื่อง“พระสุธน มโนราห์” (ภาพจากคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น)

ตอนนี้ มีการปรากฎตัวของตัวละครหุ่นผู้หญิง 4 ตัว ใส่เสื้อสีเขียวเข้ม สีแดง สีส้มและสีฟ้า มีผมยาวสีดำมัดไปข้างหลัง สวมชฎาที่ประดับด้วยดอกไม้สีแดงและสีเหลือง ใส่แหวนและสร้อยคอต่างๆ โดยเฉพาะตัวละครหุ่นที่ใส่เสื้อสีเขียวเข้มชื่อมโนราห์ ที่อยู่ใกล้พรานบุญนั้น มีปีกและหางเหมือนนก มีท่ารำที่อ่อนช้อยนิ้วมือของหุ่นถูกออกแบบมาอย่างดี นาย นิเวศ แววสมณะ ผู้ก่อตั้งโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นและหัวหน้าคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นได้เผยว่า บทละครนี้อ้างอิงวรรณคดีเรื่องพระสุธน มโนราห์ โดยมโนราห์เป็นกินรีที่มีทั้งความเป็นคนและความเป็นนกอยู่ในตัว ซึ่งเรื่องนี้มักถูกจัดเป็นละครรำและคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่นเป็นคณะแรกที่ทำการแสดงหุ่นกระบอกเรื่อง พระสุธน มโนราห์

“การแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง พระสุธน มโนราห์ ในประเทศไทย ทำขึ้นมาเป็นร้อยรอบแล้ว  ซึ่งคนดูทุกรอบก็จะมีเสียงปรบมือทุกครั้ง โดยเฉพาะตอนบูชายัญและตอนเลือกคู่ เราก็เอามาแสดงในกรุงฮานอย คนไทยได้ชมแล้ว คนต่างชาติไม่เคยได้ชม เราก็เลยยกสิ่งที่พิเศษที่สุดของบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย เรื่องมโนราห์เพื่อแนะนำให้กับประชาชนชาวเวียดนามและประเทศอื่นๆที่มาร่วมเทศกาล”

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 3การเชิดหุ่นมโนราห์ตอบบูชายัญ   (ภาพจากคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น)

ปกติการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระสุธน มโนราห์จะใช้เวลา 4 ชั่วโมง แต่การแสดงในกรอบงานเทศกาลหุ่นกระบอกที่กรุงฮานอยมีการกำหนดเวลาแค่ 40 นาทีเท่านั้น ดังนั้น นาย นิเวศ แววสมณะ จึงได้เลือกฉากที่ถือเป็นจุดเด่นของทั้งบท โดยเฉพาะใช้เวลา 14 นาทีในการแสดงตอนบูชายัญ ซึ่งถือเป็นฉากสำคัญและสะท้อนทักษะความสามารถในการประดิษฐ์และเชิดหุ่นกระบอก

“การรำมโนราห์ถือว่ารำยากมากเพราะต้องใช้นิ้วมือ ท่าซึ่งยากมาก หุ่นกระบอกไทยไม่สามารถจีบมือได้ เราต้องมาจินตนาการให้หุ่นกระบอกไทยสามารถจีบมือได้ หุ่นกระบอกไทยจะมีปีกเหมือนนก จะมีหางเหมือนนก ได้อย่างไร ยากอีก นี่คือสิ่งที่ท้าทาย ผมชอบทำอะไรที่มันท้าทาย เพลงที่ร้องก่อนรำบูชายัญ เป็นเพลงที่ไพเราะจับใจคือเสียงอาจารย์ดวงเนตร ดุริยพันธุ์ที่ร้องว่า ฉันต้องลา ลาไปก่อนเพื่อจะต้องกลับสู่เขาไกรลาส เนื้อหามันมีความไพเราะและมีความหมายที่มโนราห์ ซึ่งเป็นคนครึ่งนกครึ่งคนและไม่อยู่กับคน ก็มีความเมตตาปราณีจากคน เกิดความรักระหว่างมนุษย์กับสักขีพยานซึ่งเป็นนก อันนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย”

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 4ความประณีตสวยงามของ ตัวละครหุ่นมโนราห์ (ภาพจากคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น)

นอกเหนือจากรายละเอียดต่างๆที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรม เช่น ตัวละครหุ่น การแต่งตัว การใช้วรรณคดีเรื่องพระสุธน มโนราห์ ดนตรีและการใช้ภาษาในสมัยรัชกาลที่๕ ก็ยังมีการใช้เทคนิคสมัยใหม่ เช่น  แสงสีเสียงและ เทคนิค animation graphic โดยเฉพาะฉากที่ใช้ร่มที่มีภาพวัดวาอารามและธรรมชาติที่สวยงามเพื่อสลับฉาก ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมเวียดนามเป็นอย่างมาก

“การใช้แสงสีเสียง รวมทั้งแบ็คกราวดีมาก แสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีของคณะเชิดหุ่น สำหรับตัวละครหุ่น รวมทั้งเสื้อผ้าและชฎาก็สวยมาก”

“การแสดงหุ่นกระบอกของคณะเชิดหุ่นจากประเทศไทยมีหลากหลายสีสัน การจัดฉากบนเวทีก็มีความเหมาะสม โดยการใช้ร่มที่มีภาพต่างๆ ซึ่งทำให้คนดูประทับใจ โดยเฉพาะแค่หมุนร่มไปอีกด้านก็ถือเป็นการเปลี่ยนฉากได้อย่างรวดเร็ว น่าทึ่งมาก”

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 5 คณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น

สำหรับนาย นิเวศ แววสมณะและสมาชิกคณะเชิดหุ่นของโรงหุ่นกระบอก บ้านตุ๊กกะตุ่น รอยยิ้ม และเสียงปรบมือของผู้ชมเป็นการให้กำลังใจที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ นาย นิเวศ แววสมณะยังได้รับรางวัลด้านการประดิษฐ์หุ่น และรางวัลเหรียญเงินในเทศกาลหุ่นกระบอกนานาชาติกรุงฮานอยปี 2018 นาย นิเวศ แววสมณะเผยว่า ในระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม เขาและสมาชิกคณะเชิดหุ่นของโรงละครหุ่นบ้านตุ๊กกะตุ่นจะมีการสาธิตทำหุ่นกระบอกไทย ณ กรุงฮานอย ส่วนสำหรับคุณผู้ฟังที่สนใจศิลปะแขนงนี้และมีโอกาสมากรุงฮานอยในช่วงปลายเดือนธันวาคม ก็อย่าลืมแวะไปร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมที่น่าสนใจนี้นะคะ.

ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 6นาย นิเวศกำลังแสดงการรำมโนราห์ 
ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 7
ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย - ảnh 8
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด