สถานีวิทยุเวียดนามเดินพร้อมกับประชาชนในการรับมือพายุและน้ำท่วม

(VOVWORLD) -พายุยางิถือเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในทะเลตะวันออกในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา เหตุน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มหลังพายุได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมากใน 26 จังหวัดและนครต่างๆ ในภาคเหนือเวียดนาม ซึ่งในช่วงที่พายุพัดถล่มเวียดนาม ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามหลายคนได้ลงพื้นที่ประสบภัยเพื่ออัพเดทข่าวให้ผู้ฟังและผู้ชมทั่วประเทศได้รับทราบอย่างทันการณ์
สถานีวิทยุเวียดนามเดินพร้อมกับประชาชนในการรับมือพายุและน้ำท่วม - ảnh 1นักข่าว เหงียนดิ่งหว่าน จากสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลหรือ VTC (VTCnews)
 
 

หลังจากที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพายุยางิ ผู้บริหารของสถานีวิทยุเวียดนามได้ประชุมฉุกเฉินและตัดสินใจระดมยานพาหนะและอุปกรณ์ที่ดีที่สุดพร้อมกับนักข่าวที่มีประสบการณ์ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือสำนักงานตัวแทนของสถานีวิทยุเวียดนาม 2 แห่งในเขตตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุยางิเพื่อช่วยทำข่าวและรายงานสถานการณ์อย่างทันท่วงที

ถึงแม้ฝนตกหนักในขณะที่พายุพัดถล่ม แต่บรรดาผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามยังคงลงพื้นที่ที่การเดินทางยากลำบากในจังหวัดกาวบั่ง บั๊กก๋าน หลางเซิน ลาวกายและเอียนบ๊ายเพื่ออัพเดทข้อมูลเหตุดินถล่มและการช่วยผู้ประสบภัยซึ่งในการทำข่าวนั้นทีมงานต้องเผชิญความยากลำบากมากมาย ทั้งการไม่มีน้ำไม่มีไฟฟ้าใช้และระบบสื่อสารถูกตัดขาด รวมถึงต้องเผชิญอันตรายตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นต้นไม้หักโค้น หรือ ป้ายโฆษณาและกระจกหล่นใส่ศีรษะ นักข่าว หวูเหมี่ยน จากสำนักงานตัวแทนของสถานีวิทยุเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล่าว่า 

“เรื่องที่เรากังวลที่สุดคือไม่สามารถติดต่อกับสถานีวิทยุเวีดนามได้ 5 ชั่วโมงตอนพายุพัดถล่มจังหวัดกว๋างนิงห์ เวลา 5 ชั่วโมงถือว่ายาวนานมากสำหรับผมเพราะไม่สามารถติดต่อครอบครัว เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและไม่สามารถส่งข่าวกลับได้ ผมมักจะไปสัมภาษณ์ ถ่ายทำคลิปวิดีโอและถ่ายภาพในตอนเช้า ถึงเวลา 10 โมงเช้าก็ไปสำนักงานที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งข่าวกลับสำนักงานใหญ่ของวีโอวี โดยหวังว่า จะสามารถอัพเดทข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับพายุยางิให้แก่ประชาชน” 

ที่กรุงฮานอย ส่วนกระจายเสียงข่าวภายในประเทศของสถานีวิทยุเวียดนามหรือ VOV1 ได้ออกอากาศและอัพเดทข่าวเกี่ยวกับพายุยางิตลอดทั้งวัน นอกจากนี้กลุ่มนักข่าวของ VOV1 ก็ลงพื้นที่ชานกรุงฮานอยและจังหวัดภาคเหนือต่างๆ เช่น จังหวัดนามดิ๋ง ท้ายบิ่งห์ ท้านเงวียนและฟู้เถาะ เพื่อรายงานข่าวเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขผลเสียหายจากพายุ นักข่าว หว่างกวางฮวีเป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าวคนแรก ๆ ที่ลงพื้นที่จังหวัดท้ายเงวียนทำข่าวการรับมือเหตุน้ำท่วมอย่างรุนแรง กล่าวว่า

“ในขณะลงพื้นที่ทำข่าวเราเห็นว่า การรายงานข่าวทางวิทยุมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพราะมีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง เพราะว่าในช่วงนั้นทั้งจังหวัดถูกตัดไฟฟ้าและไม่มีน้ำประปา เรามีแต่โทรศัพท์มือถือ แต่ก็สามารถทำข่าวส่งกลับสำนักงานได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำข่าวในพื้นที่ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเนื่องจากเหตุพายุ เราสามารถอัพเดทข่าวให้ VOV1 ได้เร็วที่สุดและส่งภาพกลับสำนักงานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของVOV1”

สถานีวิทยุเวียดนามเดินพร้อมกับประชาชนในการรับมือพายุและน้ำท่วม - ảnh 2เพราะได้ลงพื้นที่และเห็นความเสียหายด้วยตาตนเอง นักข่าวมักจะเป็นผู้ที่ตระหนักได้ดีมากที่สุดเกี่ยวกับความเจ็บปวดและความเสียหายที่ประชาชนต้องรับมือ (VTCnews)

เพราะได้ลงพื้นที่และเห็นความเสียหายด้วยตาตนเอง นักข่าวมักจะเป็นผู้ที่ตระหนักได้ดีมากที่สุดเกี่ยวกับความเจ็บปวดและความเสียหายที่ประชาชนต้องรับมือในหลายวันที่ผ่านมา นักข่าว เหงียนดิ่งหว่าน จากสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลหรือ VTC เล่าว่า

“ช่อง VTC14 ของเรามีกลุ่มนักข่าวที่ลงพื้นที่ทำข่าวพายุยางิและเหตุน้ำท่วมรวม 10 กลุ่ม ส่วนกลุ่มของผมก็ทำข่าวที่จังหวัดลาวกายและเอียนบ๊าย ตอนแรกเราทำข่าวที่จังหวัดเอียนบ๊าย เพราะว่าที่นี่เกิดปัญหาดินถล่มอย่างรุนแรงแต่หลังจากที่ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเหตุน้ำป่าไหลหลากที่หมู่บ้านหนู่ในจังหวัดลาวกาย เราก็ลงพื้นที่จังหวัดลาวกายทันที และเมื่อถึงสถานที่เกิดเหตุก็รู้สึกตกใจและเศร้ามากเมื่อเห็นพื้นที่ดังกล่าวถูกทำลายทั้งหมด และเราก็เห็นความพยายามอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยของหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ดังกล่าวด้วย”

ในสภาวการณ์ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเนื่องจากเหตุพายุและน้ำท่วม โดยเฉพาะในขณะที่ไม่มีไฟฟ้า ชาวบ้านในท้องถิ่นไม่สามารถดูทีวี สัญญาณมือถือขาด ๆ หาย ๆแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือก็หมด วิทยุจึงถือเป็นช่องทางการรายงานข่าวที่ถูกต้องเพียงช่องทางเดียวสู่ประชาชน

“เรามีเครื่องรับวิทยุเพื่อฟังข่าว ในช่วงที่ไม่มีไฟฟ้า เราไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้เลย จึงมีแต่วิทยุเท่านั้นเพื่ออัพเดทข่าว”

“ช่องทางการติดต่อกับครอบครัวทำได้ยาก สัญญาณมือถือไม่ชัด แต่ผมยังคงฟังวิทยุอยู่เพราะความคุ้นเคยของผม สัญญาณของวิทยุยังชัดมาก ช่วยให้เราอัพเดทสถานการณ์ของท้องถิ่น ของลาวกายและเอียนบ๊ายได้” 

ในช่วงเวลาที่เกิดพายุ วีโอวี ได้ออกข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศด่วนของส่วนกลางเกี่ยวกับฝนตกหนักและเหตุน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง แนะนำวิธีการรับมือให้แก่ประชาชนและรักษาความปลอดภัย นาย หวื่ออาโท้ง ชนกลุ่มน้อยในเขตเขา ลองแหะ อำเภอถ่วนโจว จังหวัดเซินลา มองว่าวิทยุถือเป็นช่องข่าวที่สำคัญ

“ชาวเขาฟังวิทยุบ่อย เพราะบางทีไม่มีอินเตอร์เนตก็ดูทีวีไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดฝนตกและเหตุน้ำหลาก วิทยุได้ออกข่าวป้องกันพายุอย่างต่อเนื่องช่วยให้เราทราบและเป็นฝ่ายรุกในการป้องกัน ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้”

ในการประชุมของกรมการเมืองพรรคเพื่อชี้นำการแก้ไขผลเสียหายจากพายุยางิเมื่อวันที่ 9 กันยายน เลขาธิการใหญ่พรรค ประธานประเทศโตเลิม ได้ชื่นชมว่า 

“กองกำลังต่างๆ โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ หน่วยงานพยากรณ์อากาศ หน่วยงานการเกษตรและชนบท คมนาคม ไฟฟ้า สื่อมวลชน สถานที่โทรทัศน์เวียดนามและสถานีวิทยุเวียดนามได้ปฏิบัติตามคำสั่งและเป็นฝ่ายรุกในการรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยแก้ไขผลเสียหายจากพายุ สถานีวิทยุเวียดนามได้ปฏิบัติหน้าที่นี้ได้ดีมาก ซึ่งแนะแนวและอัพเดททุก ๆ ชั่วโมงทั้งวันและเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง”

ความพยายามอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยของเจ้าหน้าที่ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามได้มีส่วนร่วมค้ำประกันหน้าที่ในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ พายุและน้ำหลากผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของสื่อมวลชนได้ช่วยลดความเสียหายให้แก่ประชาชนได้ส่วนหนึ่ง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด