เกษตรกรจังหวัดกว๋างนิงสร้างฐานะจากการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในด้านปศุสัตว์

(VOVWORLD) - การปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็ดจากรูปแบบเดิมมาเป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแบบครบวงจรคือแนวโน้มที่สำคัญของเกษตรกรในอำเภอเมืองกว๋างเอียน จังหวัดกว๋างนิง ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาโรคระบาดและสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งเกษตรกรและเขตชุมชน

 

เกษตรกรจังหวัดกว๋างนิงสร้างฐานะจากการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในด้านปศุสัตว์ - ảnh 1รูปแบบฟาร์มเลี้ยงเป็ดทำให้เป็ดเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ

นาย ด่งกวางเกื่อง อาศัยที่หมู่บ้านเกิ๋มหลิว ตำบลเกิ๋มลา อำเภอเมืองกว๋างเอียนได้เผยว่า การเลี้ยงเป็ดตามรูปแบบเดิมมักเกิดโรคระบาด ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพเนื้อเป็ด ดังนั้นเขาจึงทำการศึกษา เรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเลี้ยงเป็ดเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มกำไรและลดความเสี่ยงจากการพัฒนาฟาร์มเลี้ยง

ในการเลี้ยงเป็ดตามรูปแบบเดิม ถ้าเป็ดกินอาหาร 2.7-2.9 กิโลกรัมจะสามารถทำน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม แต่สำหรับรูปแบบฟาร์มเลี้ยงเป็ด เป็ดกินอาหารแค่ 2.1-2.2 กิโลกรัมก็สามารถทำน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ซึ่งการเลี้ยงเป็ดเนื้อ 1 หมื่นตัวจ้างคนงานแค่ 1 คนเท่านั้น

นาย ด่งกวางเกื่อง เผยต่อไปว่า ในการเลี้ยงเป็ดตามรูปแบบเดิมมักจะประสบปัญหาต่างๆในการจัดการโรงเรือน มีความเสี่ยงจากการเกิดโรคระบาดและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อปี 2022 นาย เกื่องได้ใช้เงินเก็บส่วนตัวและเงินกู้รวมประมาณ5พันล้านด่งหรือคิดเป็นกว่า 2 แสน 1 หมื่น ดอลลาร์สหรัฐเพื่อปรับปรุงและพัฒนาฟาร์มเลี้ยงเป็ดบนพื้นที่ 3.5 เฮกตาร์ โดยมีพื้นสองชั้น ชั้นบนใช้ตะแกรงเหล็กสูงจากพื้นซีเมนต์ด้านล่างประมาณ50เซนติเมตร หลังคาเหล็กลูกฟูก มีระบบควบคุมอุณหภูมิโรงเรือน ระบบให้น้ำและให้อาหารเป็ดอัตโนมัติ ซึ่งทำให้เป็ดเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ส่วนสำหรับผู้เลี้ยงเป็ดก็สามารถบริหารจัดการโรงเรือน ติดตามการเติบโตและเตรียมแผนสำหรับอาหารเป็ดและการป้องกันโรคระบาดต่างๆได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเข้าถึงฟาร์ม

 ปัจจุบัน ฟาร์มเลี้ยงเป็ดแบบครบวจรของนายเกื่อง มีเป็ดไข่ 7พันตัวและเป็ดเนื้อ 7พัน 5 ร้อยตัว โดยในเวลา 1 เดือนครึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ  3.6 กก.  สามารถขายได้เดือนละกว่า 15 ตันในราคาประมาณ4หมื่น5พันด่งต่อก.ก. นอกจากนี้ นาย เกื่องยังได้ซื้อตู้ฟักไข่เป็ด 4 ตู้เพื่อผลิตไข่ข้าวและเป็ดพันธุ์ ส่วนของเสียจากฟาร์มเลี้ยงเป็ดถูกนำไปใช้ในฟาร์มสวนผสม ใช้เลี้ยงปลาและปลูกผลไม้ โดยนาย เกื่องมีบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด 4 บ่อ สวนปลูกส้มโอและลิ้นจี่อย่างละ 100 ต้น อีกทั้งทำการจำหน่ายอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ซึ่งรูปแบบการทำสวน การเลี้ยงปลาและการเลี้ยงเป็ดสร้างรายได้ประมาณ 4 หมื่น 2 พันดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน สำหรับแผนการในอนาคต นายเกื่องเผยว่า

“เนื้อเป็ดแปรรูปขายได้ในราคา 65-70,000ด่งต่อก.ก. ดังนั้น ผมมีแผนผลักดันการแปรรูปเนื้อเป็ดและหาตลาดรองรับเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

เกษตรกรจังหวัดกว๋างนิงสร้างฐานะจากการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในด้านปศุสัตว์ - ảnh 2การใช้ตู้ฟักไข่เป็ดช่วยค้ำประกันคุณภาพของเป็ดพันธุ์

นอกจากนี้ จากการเป็นสมาชิกสมาคมการปศุสัตว์ในท้องถิ่น นาย ด่งกวางเกื่องได้เชื่อมโยง แนะนำวิธีและรูปแบบฟาร์มเลี้ยงเป็ดที่มีประสิทธิภาพให้แก่ชาวบ้าน นาย เลวันโด่ รองประธานสมาคมเกษตรกรจังหวัดกว๋างนิงได้ประเมินว่า

“นอกจากเดินหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว นาย เกื่อง ยังรับหน้าที่หัวหน้าสมาคมการปศุสัตว์ตำบลเกิ๋มลา อำเภอเมืองกว๋างเอียน จังหวัดกว๋างนิง โดยได้ช่วยเหลือชาวบ้านในการเข้าร่วมระบบห่วงโซ่การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์”

ทั้งนี้ รูปแบบฟาร์มเลี้ยงเป็ดของนาย ด่งกวางเกื่อง ได้รับการขยายผลในอำเภอเมืองกว๋างเอียนเพื่อป้อนให้แก่ตลาดทั้งภายในและนอกจังหวัด ซึ่งมีส่วนร่วมค้ำประกันรายได้ให้แก่ชาวบ้านและยกระดับประสิทธิภาพของเศรษฐกิจในท้องถิ่น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด