(VOVWORLD) - สำหรับประชาชนจังหวัดด่งทาป ฤดูน้ำหลากถือเป็นช่วงเวลาที่ช่วยเติมทรัพยากรให้แก่ลุ่มน้ำและช่วยชะล้างทำความสะอาดทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว แต่ปีนี้ ปริมาณน้ำหลากไม่มากและมาช้ากว่าปกติเมื่อเทียบกับหลายปีก่อน ทำให้เกษตรกรหลายคนสูญเสียรายได้ ดังนั้นเกษตรกรหลายคนจึงปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบการทำนาให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปด้วยการหันมาปลูกข้าวควบคู่กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ในรายการชีวิตและสังคมวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอแนะนำรูปแบบการดำรงชีวิตที่มีประสิทธิภาพนี้ในจังหวัดด่งทาป
รูปแบบการเลี้ยงปลาสร้อยขาวช่วยให้ชีวิตของเกษตรกรมีความยั่งยืน มั่นคง |
ปัจจุบันไม่มีเกษตรกรในเขตนี้ที่ทอดแหจับปลาและกุ้งอีก เนื่องจากสภาพที่เปลี่ยนไปของแม่น้ำโขงที่ปริมาณน้ำลดลงโดยเกษตรกรหันมาเลี้ยงเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามหรือปลาช่อนในนาข้าว ซึ่งสร้างรายได้ตั้งแต่หลักร้อยล้านด่งถึงพันล้านด่งต่อปี นาย บุ่ย จิ เญิน เผยว่า ด้วยการลงทุนซื้อปลาพันธุ์ประมาณ 5 ล้านด่ง เขาสามารถเพาะพันธุ์และขายปลาสร้อยขาวได้ 2 ตันด้วยราคาขายที่ 130,000 ด่งต่อกิโลกรัม มีรายได้ 260 ล้านด่ง ซึ่งหมายความว่าการเลี้ยงปลาสร้อยขาวเพียง 1 เดือนสร้างรายได้เท่ากับการทำนา 2 ฤดู
“ปัจจุบัน รูปแบบนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ผมมีแผนการมากมาย เช่น ขยายโครงการให้ใหญ่ขึ้น และประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนที่สนใจมาเยี่ยมชม ศึกษาและปฏิบัติตาม”
หลังจากจับปลาสร้อยขาวเสร็จ ประมาณเดือนกรกฎาคม นาย บุ่ยชี้เญิน ก็จะเริ่มปล่อยน้ำเข้านา เมื่อต้นข้าวมีอายุได้ 1 เดือน นาย เญิน ก็จะนำกุ้งจากบ่อมาปล่อยลงนา โดยกุ้งจะช่วยกินอาหารในนาซึ่งไม่ต้องใช้อาหารอุตสาหกรรม ตามการประมาณการของนาย เญิน ถ้ากุ้งที่เลี้ยงมีน้ำหนักรวมกัน 5-6 ตัน และขายที่ราคา 150,000 ด่งต่อกิโลกรัม เขาจะมีรายได้ 750-900 ล้านด่ง
“ข้าวพันธุ์นี้ทนน้ำสูง ไม่ว่าน้ำอยู่ระดับไหนต้นข้าวก็จะโผล่พ้นน้ำจึงเหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งมาก ในเบื้องต้น ผมคิดว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี กระบวนการปลูกข้าวผสานกับการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลาเป็นไปอย่างสะดวกมาก”
นาย เยืองฟู้ซวน หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจเมือง ห่งหงึ จังหวัดด่งทาปกล่าวว่า รูปแบบการเลี้ยงปลาสร้อยขาวผสานกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์ของรูปแบบการดำรงชีวิตในช่วงฤดูน้ำหลาก นี่เป็นฤดูเก็บเกี่ยวแรก ดังนั้นตั้งแต่ฤดูเก็บเกี่ยวหน้า ท้องถิ่นจะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นจริง ปัจจุบัน ทางจังหวัดฯกำลังปฏิบัติรูปแบบการดำรงชีวิตในฤดูน้ำหลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าว การเลี้ยงปลาสร้อยขาวผสานกับการปลูกข้าวตามฤดูกาล โครงการเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติในอำเภอเกือบทุกแห่งในเขตลุ่มน้ำ เช่นอำเภอ ห่งหงึ รูปแบบนี้สร้างรายได้สูงตั้งแต่ 5-35 ล้านด่งต่อเฮกตาร์เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิม
“อำเภอห่งหงึได้กำหนดแนวทางปฏิบัติรูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน หลังฤดูข้าวนาปรัง แทนที่จะปล่อยให้นาว่างเปล่าและรอให้น้ำหนุนเพื่อทำความสะอาดนาข้าว พวกเขาเป็นฝ่ายรุกในการสูบน้ำลงนาข้าวซึ่งวิธีนี้ช่วยปกป้องแหล่งสัตว์น้ำ อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรทำความสะอาดนาและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสัตว์น้ำ”
รูปแบบเลี้ยงปลาสร้อยขาวผสานกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าว |
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำของจังหวัดด่งทาปได้เปลี่ยนวิธีการทำเกษตรเนื่องจากน้ำหลากที่มาช้าและไม่มาก แทนที่จะปลูกข้าว 3 ฤดูเหมือนเดิม พวกเขาได้ปรับเปลี่ยนมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในฤดูน้ำหลากซึ่งทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว 3 ฤดู
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ต้นน้ำได้นำรูปแบบพัฒนาวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัวต่างๆ รูปแบบการเลี้ยงปลาช่อน ปลาสร้อยขาวและกุ้งก้ามกรามผสานกับการปลูกข้าวได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน และสิ่งที่สำคัญกว่าคือการได้เห็นถึงประโยชน์ของการทำเกษตรแบบหมุนเวียน การปกป้องทรัพยากรสัตว์น้ำและการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
แนวทางอยู่ร่วมกับน้ำหลากได้รับการคัดเลือกและตรวจสอบผ่านรูปแบบ วิธีคิดและวิธีปฏิบัติของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งจังหวัดด่งทาปเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติแนวทางนี้ จากการปฏิบัติแบบชั่วคราวในช่วงฤดูน้ำหลากมาเป็นการปฏิบัติอย่างจริงจังด้วยการเปลี่ยนฤดูน้ำหลากให้เป็นฤดูสำหรับการผลิตหลัก ทำประชาชนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ให้มีการใช้ประโยชน์จากฤดูน้ำหลากอย่างเต็มที่ในจังหวัดด่งทาปและในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง.