เกษตรกรจังหวัดยาลายพัฒนาการเลี้ยงโคขุนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
To Tuan-VOV5 -  
(VOVworld)-ปัจจุบัน ขบวนการเกษตรกรพัฒนาการผลิตและช่วยกันแก้ปัญหาความยากจนกำลังได้รับการส่งเสริมให้เป็นแนวทางหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชิงเกษตรและชนบท ซึ่งได้สร้างรูปแบบการพัฒนาการผลิตที่หลากหลายเพื่อช่วยเกษตรกรสามารถสร้างฐานะในบ้านเกิดยกตัวอย่างเช่นรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุนที่จังหวัดยาลายในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน
(VOVworld)-ปัจจุบัน ขบวนการเกษตรกรพัฒนาการผลิตและช่วยกันแก้ปัญหาความยากจนกำลังได้รับการส่งเสริมให้เป็นแนวทางหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชิงเกษตรและชนบทโดยการสนับสนุนจากสมาคมเกษตรกรทุกระดับ ซึ่งได้สร้างรูปแบบการพัฒนาการผลิตที่หลากหลายเพื่อช่วยเกษตรกรสามารถสร้างฐานะในบ้านเกิดยกตัวอย่างเช่นรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุนที่จังหวัดยาลายในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน
|
จนถึงปัจจุบันมีครอบครัวเกษตรกรร้อยละ80ทำการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุนเป็นอาชีพเสริม
|
ตำบล อานฟู๊ อยู่ชาญเมือง เปลกู จังหวัดยาลาย โดยชาวบ้านที่นี่ได้ประกอบอาชีพการเกษตรมาช้านาน โดยเฉพาะการปลูกผักและเลี้ยงสุกร แต่ในช่วงหลายปีมานี้ จากกระบวนการพัฒนาตัวเมืองและการเพิ่มประชากร พื้นที่ผลิตเกษตรจึงลดน้อยลงดังนั้นการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบด้านการเกษตรและแสวงหารูปแบบการผลิตใหม่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นจึงเป็นแนวทางที่จำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งตั้งแต่ปี2002-2006 ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดยาลายได้ทำการแนะนำรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อให้ชาวบ้านพัฒนาและจนถึงปัจจุบันมีครอบครัวเกษตรกรร้อยละ80ทำการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุนเป็นอาชีพเสริมเพราะไม่เสียเวลาและไม่ส่งผลกระทบต่ออาชีพหลักของครอบครัวแถมยังช่วยเพิ่มรายได้ได้มากพอสมควรด้วย นาย โด๋แทงลอง ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพนี้เป็นคนแรกตามโครงการแนะนำของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดได้เผยว่าตอนแรกซื้อวัวสภาพผอมมา2ตัวในราคา30ล้านด่ง หลังจากขุนให้ดีมา1ปีก็สามารถขายได้ในราคา25ล้านด่งต่อหนึ่งตัว หรือไม่ก็เลี้ยงได้6เดือนแล้วขายก็ได้กำไรประมาณ5ล้านด่งแล้ว ตั้งแต่ปี2003 ผมได้ปฏิบัติตามการแนะนำของโครงการโดยเริ่มซื้อวัวมาเลี้ยงให้อ้วนแล้วขายต่อ แต่ละปีครอบครัวผมเลี้ยงวัวได้5-10ตัว ต้องปลูกญ้าเนเปียร์ที่มีคุณภาพดีเพื่อเป็นอาหารวัวและเลี้ยงวัวในคอก.
|
ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดยาลายมีฝูงวัวประมาณ2แสน5หมื่นตัว มากเป็นอันดับ3ของประเทศ
|
จากประสิทธิภาพของการเลี้ยงโคขุนของครอบครัวนายลอง ชาวบ้านในตำบลอื่นๆก็เรียนรู้ตามจนทำให้ขบวนการเลี้ยงโคเนื้อได้พัฒนาขยายกว้างอย่างรวดเร็วโดยแต่ละครอบครัวสามารถเลี้ยงตั้งแต่2-10ตัวต่อครั้ง สำหรับวัวที่มีสภาพผอมนั้นจะซื้อจากพ่อค้าคนกลางส่วนอาหารก็เป็นอาหารหยาบเช่นหญ้าเนเปียร์ที่สามารถปลูกได้ง่ายรอบสวนหรือรอบบ่อปลานอกจากนี้อาจจะใช้เศษผักในสวนเพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงวัวก็ได้ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรพัฒนาอาชีพเสริมนี้ ทางศูนย์ส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดยาลายยังได้เปิดการฝึกอบรมวิชาชีพและการสัมมนา ถ่ายทอดเทคนิกกับประสบการณ์ให้กับเกษตรกรรวมทั้งเสนอให้ทางธนาคารนโยบายสังคมอ.ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนด้วยสิทธิพิเศษเพื่อให้เกษตรกรขยายและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีส่วนร่วมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคขุนนี้กลายเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจหลักของท้องถิ่น ตามข้อมูลของทางการจังหวัด ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดยาลายมีฝูงวัวประมาณ2แสน5หมื่นตัว มากเป็นอันดับ3ของประเทศโดยฝูงวัวร้อยละกว่า40เป็นวัวผสมพันธุ์ที่มีคุณภาพดี นาย ตริงก๊วกเวียด ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยาลายเผยว่า พวกเราแนะนำวิธีการเลี้ยงโคขุนให้ชาวบ้านตั้งแต่ปี2003 จนถึงปัจจุบันในต.อานฟู๊มีครอบครัวที่ประกอบอาชีพนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะเห็นว่ารายได้จากการทำอาชีพนี้ก็มีมากพอสมควรและมีประสิทธิภาพสูง.
จังหวัดยาลายเป็นท้องถิ่นที่ยังประสบกับอุปสรรคมากมายในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาอาชีพเลี้ยงโคเนื้อหรือโคขุนในท้องถิ่นต่างๆของจังหวัดถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการ มีส่วนร่วมเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่งานด้านการแก้ปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกร โดยทางสมาคมเกษตรกรเวียดนามได้ถือเป็นตัวอย่างเพื่อขยายผลไปยังท้องถิ่นอื่นๆในทั่วประเทศ./.
To Tuan-VOV5