เกษตรกรโห่วยางตัดอ้อยได้ผลดี

(VOVWORLD) - การที่โรงงานน้ำตาล ฝุงเหียบ สังกัดบริษัทหุ้นส่วนน้ำตาลเกิ่นเทอหรือ Casuco ประกาศราคาซื้ออ้อยในฤดูนี้ที่ 1,180 ด่ง/กก. ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว 360 ด่ง/กก. ได้ทำให้ชาวไร่อ้อยในจังหวัดโห่วยางรู้สึกมีความสุขมาก ชาวไร่อ้อยหลายคนกล่าวว่า นี่คือฤดูตัดอ้อยที่โรงงานฯรับซื้อผลผลิตในราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เกษตรกรโห่วยางตัดอ้อยได้ผลดี - ảnh 1เกษตรกรโห่วยางตัดอ้อยได้ผลดี

ในหลายวันที่ผ่านมานี้ ที่อำเภอฝุงเหียบ จังหวัดโห่วยาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่ใหญ่ที่สุดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เกษตรกรกำลังเก็บอ้อยเพื่อจำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่สูงกว่าราคารับซื้อของโรงงานน้ำตาลเกือบสองเท่า

นาง เหงียนถิลิง ในตำบล ด่ายแถ่ง เมืองหงาไบ๋ ประกอบอาชีพรับซื้ออ้อยเพื่อส่งขายให้แก่โรงงานน้ำตาลมาเกือบ 10 ปี เมื่อทราบว่าโรงงานน้ำตาลฝุงเหียบรับซื้ออ้อยที่ท่าเรืออย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม เธอจึงมาติดต่อรับซื้ออ้อยจากเกษตรกรในอำเภอฝุงเหียบ นาง ลิง เล่าว่า ปัจจุบัน โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยที่ราคา 1,180 ด่งต่อกิโลกรัม ดังนั้น เธอจึงซื้ออ้อยจากเกษตรกรในราคาไม่เกิน 1,100 ด่งต่อกิโลกรัม

ราคาอ้อยที่สูงขึ้นทำให้ชาวไร่อ้อยและพ่อค้าคนกลางมีความสุขมาก ชาวไร่อ้อยหลายคนกล่าวว่า นี่คือราคาที่โรงงานน้ำตาลรับซื้อสูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ความสุขนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะปีนี้ราคาปุ๋ยและค่าจ้างคนงานเก็บอ้อยเพิ่มขึ้นทำให้ได้กำไรไม่มากนัก นาย เหงียนแทงลวน ในตำบลหว่าอาน อำเภอ ฝุงเหียบ เผยว่า เขาปลูกอ้อยพันธุ์ Roc 16 ในพื้นที่เกือบ 1 เฮกตาร์ ซึ่งหลังจากหักต้นทุนแล้ว เขาเหลือกำไรไม่เกิน 200 ด่งต่อกิโลกรัม

 “ปีนี้ ขายอ้อยได้ 1,180 ด่ง แต่ผมต้องจ่ายค่าจ้างคนงานตัดอ้อยทั้งหมด 3-4 แสนด่ง พื้นที่ปลูกอ้อยถ้าอยู่ใกล้ต้องจ้าง 3 แสนด่ง แต่ถ้าอยู่ไกลประมาณ 500 เมตร ต้องจ้าง 4 แสนด่งต่อตัน ค่าจ้างคนงานสูงมาก ดังนั้น  ผมจึงได้กำไร 1-2 แสนด่งต่ออ้อย1กิโลกรัม”

เกษตรกรโห่วยางตัดอ้อยได้ผลดี - ảnh 2เกษตรกรในจังหวัดโห่วยางได้ปลูกอ้อยในพื้นที่กว่า 5,000 เฮกตาร์โดยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอฝุงเหียบ 

ในฤดูปลูกอ้อยปี 2020-2021 เกษตรกรในจังหวัดโห่วยางได้ปลูกอ้อยในพื้นที่กว่า 5,000 เฮกตาร์โดยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอฝุงเหียบ นาย เจิ่น วัน ต๊วน หัวหน้าสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทของอำเภอฯได้เผยว่า ในเวลาที่ผ่านมา ชาวไร่อ้อยที่นี่ได้ตัดอ้อยในพื้นที่กว่า 1,800 เฮกตาร์เพื่อจำหน่าย ปัจจุบัน อำเภอยังคงมีอ้อยปลูกในพื้นที่เกือบ 2,900 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตรวมประมาณ 250,000 ตัน ปัจจุบัน นอกจากการรวมกลุ่มตัดอ้อย 110 กลุ่ม และรถขนส่งอ้อย 90 คันที่สามารถบรรทุกได้ 40-50 ตันเพื่อเร่งตัดอ้อยส่งขายโรงงานน้ำตาลแล้ว ท้องถิ่นต่างๆในอำเภอยังจัดการประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มตัดอ้อย เจ้าของรถขนส่งและพ่อค้าคนกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19เป็นอย่างดี

“เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลากว่า 3 เดือนและอาจแพร่ระบาดนานขึ้นด้วย ดังนั้น แรงงานตัดอ้อยอาจลำบากกว่าปีที่แล้ว  ปัจจุบันนี้ เกษตรกรได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด 3 ข้อคือสวมหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดฆ่าเชื้อและเว้นระยะห่าง เพื่อค้ำประกันการตัดอ้อยที่ปลอดภัยจากการระบาด”

ทุกปีเมื่อเข้าสู่ฤดูตัดอ้อย อำเภอฝุงเหียบมักถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ปีนี้ เนื่องจากโรงงานน้ำตาลเปิดรับซื้ออ้อยช้าจึงทำให้ไร่อ้อยหลายแห่งเลยวันตัดอ้อย ดังนั้นภาครัฐ เกษตรกรและโรงงานน้ำตาลจึงประสานงานอย่างแข็งขัน เร่งกระบวนการตัดและรับซื้ออ้อย ซึ่งทำให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดโห่วยางปีนี้มีฤดูตัดอ้อยที่น่ายินดี.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด