เรียนภาษาเวียดนามเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ

 ท่านผู้ฟังคะ ความคิดที่จะอนุรักษ์ภาษาเวียดนามให้แก่ชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศเป็นความปรารถนาของบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “อนุรักษ์วัฒนธรรมของวน. – อนุรักษ์ภาษาเวียดนาม”ที่จัดขึ้นครั้งแรก ณ กรุงฮานอย  ถึงแม้จะมาจากหลายสาขาอาชีพแต่ทุกคนต่างตระหนักดีว่า ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดถ้าสามารถรักษาภาษาเวียดนามก็เหมือนเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมของชาติ

            ท่านผู้ฟังคะ ความคิดที่จะอนุรักษ์ภาษาเวียดนามให้แก่ชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศเป็นความปรารถนาของบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนาภายใต้หัวข้อ อนุรักษ์วัฒนธรรมของวน. อนุรักษ์ภาษาเวียดนามที่จัดขึ้นครั้งแรก ณ กรุงฮานอย ซึ่งพวกเขาคือตัวแทนของผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ในชุมชนชาววน.จากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เจ้าหน้าที่ นักวิจัยและนักข่าวของสำนักข่าว องค์การศึกษา สำนักงานวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ในเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางวัฒนรรมของประเทศชาติ ถึงแม้จะมาจากหลายสาขาอาชีพแต่ทุกคนต่างตระหนักดีว่า ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดถ้าสามารถรักษาภาษาเวียดนามก็เหมือนเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ

             anh lang que
       
            นายไมเคิ้ล Bui เป็นชาวเวียดนามอาศัยอยู่ในสหรัฐเกือบ 30ปีแล้ว แต่เขาโชคดีที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือและหนังสือพิมพ์เป็นภาษาเวียดนาม ดังนั้นเขาจึงก่อตั้งสำนักหนังสือพิมพ์ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า “นิตยสารวัยรุ่น” แต่ละเดือนจำหน่าย 3 แสนฉบับ โดยหวังว่าจะมีส่วนร่วมช่วยให้วัยรุ่นเวียดนามที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศได้สัมผัสกับภาษาเวียดนาม ได้ศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติตน

            “ในบทความแต่ละบท ผมอยากจะสื่อให้ชนวัยรุ่นรู้เรื่องประวัติศาสตร์เวียดนาม ในบริษัทของผมมีพนักงานที่เป็นลูกหลานของชาวเวียดนามหลายคนแต่พูดภาษาเวียดนามไม่ชัด ตอนเข้ามาทำงานใหม่ๆ พูดได้ไม่กี่คำ เดี๋ยวนี้เขียนคล่องพูดคล่องกันหมดแล้ว

            นาย Ha Van Canh นายกสมาคมชาวเวียดนามในแขวงเชียงขวางประเทศลาว แม้จะจากบ้านเกิดไปอยู่ต่างแดนตั้งแต่ยังเด็ก แต่ได้อยู่ในชุมชนของชาวเวียดนามที่อำเภอเมืองเชียงขวาง ซึ่งในชุมชน ทุกคนจะคุยกันเป็นภาษาเวียดนามและมีห้องเรียนภาษาเวียดนามด้วย          นาย Ha Van Canh กล่าวว่า

            “พ่อแม่ผมเอาใจใส่ต่อการเรียนของลูกๆมาก คอยสอนให้ลูกรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเวียดนาม ชุมชนชาวเวียดนามในลาวส่วนใหญ่มีจิตสำนึกดีในการรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะการสอนภาษาเวียดนามให้เด็กๆ โดยได้สร้างโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามขึ้น ปัจจุบันในประเทศลาวมีโรงเรียนสอนภาษาเวียดนาม 12 แห่งที่ชุมชนชาวเวียดนามร่วมใจกันสร้างขึ้น

            นาย Tran Hoang Hai เป็นชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี เขาก็ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์และสงวนหนึ่งหน้าลงข่าวเป็นภาษาเวียดนามและที่อยู่เว็ปไซด์ของสำนักข่าวเวียดนามด้วย เพื่อให้เด็กๆเชื้อสายเวียดนามสามารถอ่านข่าวหาความรู้เกี่ยวกับประเทศชาติและมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนๆในประเทศที่มีฐานะยากจน นาย Hoang Hai เผยว่า

            “การอบรมบ่มสอนเด็กนอกจากสอนในโรงเรียนแล้ว เราอาจจะให้ความรู้แก่เด็กโดยผ่านหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนตหรือกิจกรรมการกุศล ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจถึงรากเหง้าของประชาชาติตน ถึงความลำบากของประชาชนในประเทศ

            นาย Nguyen Phuong Hung ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในสหรัฐเกือบ 60 ปี ชวนเพื่อนอีก 3 คนมาเที่ยวฮานอย เขาได้เก็บภาพของฮานอยไว้ในวิดีโอคลิปพร้อมกับคำบรรยายด้วยความตื้นตันใจเพื่อนำกลับไปให้เพื่อนๆชาวเวียดนามคนอื่นๆในสหรัฐได้ชม เขากล่าวว่า

            “พวกเราไม่ว่าจะเดินทางไปแห่งหนใดเมื่อได้ยินได้ฟังภาษาเวียดนามแล้วจะตื้นตันใจมาก เมื่อได้พูดคุยภาษาแม่ในใจกลางนครหลวงฮานอย ผมอยากเชิญชวนให้พี่น้องเชื้อสายเวียดนามในสหรัฐมาเที่ยวฮานอยและพยายามเรียนภาษาเวียดนาม

            นาย Nguyen Thanh Son รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามให้ทราบว่า ปัจจุบันมีชาวเวียดนามอาศัยอยู่ในต่างประเทศเกือบ 4 ล้าน 5 แสนคน ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ถือกำเหนิดและเติบใหญ่ในประเทศที่ตนอาศัยอยู่จึงไม่รู้ภาษาแม่ ฉนั้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเวียดนาม ภาษาเวียดนามให้แก่ชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศถือเป็นงานเร่งด่วนของรัฐบาลเวียดนาม ชาวเวียดนามไม่ว่าจะอาศัยอยู่ ณ แห่งหนใดถ้ายังอยากรักษาภาษาเวียดนามไว้แล้วถือว่ายังมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติอยู่ในใจและจะใช้เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์และเผยแพร่คุณค่าวัฒนธรรมของชาติตนกับชาวต่างประเทศ./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด