เรอชัมแค้ง (Rơ Chăm Khánh) ชายหนุ่มชนเผ่า Jrai ผู้หลงใหลในเครื่องดนตรีพื้นเมือง

(VOVWORLD) - ในสภาวการณ์ที่คุณค่าของวัฒนธรรมพื้นเมือง โดยเฉพาะของชนกลุ่มน้อยกำลังถูกหลงลืม การที่มีชายหนุ่มชนเผ่า Jrai คนหนึ่งในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน คือคุณ เรอชัมแค้ง (Rơ Chăm Khánh)ยังคงหลงใหลในดนตรีพื้นเมือง โดยเฉพาะ การเล่นเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมและกำลังฟื้นฟูสิ่งที่กำลังถูกหลงลืมถือเป็นสิ่งทีน่ายกย่อง

เรอชัมแค้ง (Rơ Chăm Khánh) ชายหนุ่มชนเผ่า Jrai ผู้หลงใหลในเครื่องดนตรีพื้นเมือง - ảnh 1เรอชัมแค้ง (Rơ Chăm Khánh) ชายหนุ่มชนเผ่า Jrai ผู้หลงใหลในเครื่องดนตรีพื้นเมือง

คุณ เรอชัมแค้ง (Rơ Chăm Khánh)    เกิดเมื่อปี 1990 เป็นชาวอำเภอ ดึ๊กเกอ จังหวัดยาลายมาแต่กำเนิดและชีวิตมีความผูกพันกับป่าเขา เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศูนย์วัฒนธรรม-การกีฬาอำเภอดึ๊กเกอ มีความเชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรีสมัยใหม่ เช่น ออร์แกน กีตาร์และกลอง รวมทั้งเครื่องดนตรีเวียดนาม เช่น พิณตรึง (T'rung) แคนและขลุ่ย และยังสามารถทำระนาดหินและขลุ่ยที่ทำจากไม้ที่มีชื่อว่า Dinh Pak Puot เพื่อเล่นประกอบเพลงของชนเผ่า Jra ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่หายากในจังหวัดยาลาย

คุณ เรอชัมแค้ง บอกว่า ชีวิตประจำวันของเขามีความผูกพันกับเสียงของลำธาร เสียงนกร้องและเพลงพื้นบ้านซึ่งซึมซับจนกลายเป็นความรักดนตรี แม้มีความหลงใหลในการเล่นดนตรีและการร้องเพลงของชนเผ่า Jrai แต่เครื่องดนตรีของชนเผ่า Jrai มีน้อยมาก ดังนั้น คุณ เรอชัมแค้ง จึงอยากทำเครื่องดนตรีอื่น ๆ ให้แก่ชนเผ่าตน และจากความคิดที่ว่าเมื่อหมู่บ้านมีงานเทศกาลก็ต้องมีเครื่องดนตรีให้เยาวชนในหมู่บ้านเล่นและเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรักชนเผ่าตนทำให้คุณ เรอชัมแค้ง มีความมุ่งมั่นที่จะทำระนาดหินขึ้นมา

“เครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้เสียงที่แตกต่างกัน ระนาดหินดังก้องกังวาลไกล ส่วนเสียงขลุ่ยเหมือนเสียงเพรียกจากธรรมชาติ”

นอกจากเพื่อหาเลี้ยงชีพแล้ว คุณ เรอชัมแค้ง ยังเข้าป่าหลายแห่งเพื่อหาวัสดุสำหรับทำเครื่องดนตรี เขาใช้เวลาครึ่งปีในการทำชุดระนาดหิน เมื่อก่อน ระนาดหินของเขตเตยเงวียนส่วนใหญ่เป็นหินธรรมชาติและไม่ค่อยมีการแกะสลักให้มีความสวยงาม และมีหินไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดนตรีได้ เช่น หินบนภูเขาที่ไม่แข็งมากเกินไป ดังนั้น การหาหินมาทำเครื่องดนตรีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

คุณ เรอชัมแค้ง เผยว่า หินที่มีขนาดแตกต่างกันจะให้เสียงที่ไม่เหมือนกันและมีโน้ตที่แตกต่างกัน ส่วนวิธีการกลึงหินก็มีผลต่อความคมชัดของเสียง ส่วนการวัดเสียงตัวโน้ต แม้คุณ เรอชัมแค้ง จะใช้เครื่องวัดเสียง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการฟังด้วยหูเพื่อตรวจสอบเสียง ระนาดหินแต่ละชุดมี 16 - 35 โน้ต

“เมื่อผมสร้างเสียงได้ 1 โน้ต ผมรู้สึกมีความสุขและสบายใจมาก หลังจากนั้นผมก็ค่อยๆทำจนได้ 16 โน้ต”

ระนาดหินถือเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีประจำชาติ ซึ่งคุณ เรอชัมแค้ง ก็นำระนาดหินไปแสดงตามหมู่บ้านต่างๆ รวมทั้ง ร้องเพลงพื้นบ้านเพื่อสรรเสริญบ้านเกิดเมืองนอนและประเทศ คุณ เรอชัมแค้ง ยังสอนวิธีการเล่นระนาดหินให้แก่นักเรียนของโรงเรียนประจำสำหรับชนเผ่าในอำเภอด้วยความหวังว่า คนรุ่นใหม่จะรู้วิธีการอนุรักษ์คุณค่าที่งดงามของชนเผ่าตน ยังทำให้พวกเขาหลงใหลและสนใจดนตรีพื้นเมือง คุณ อา ซิว ทื้อ ในอำเภอดึ๊กเกอเผยว่า

“ผมชอบเล่นดนตรีและฝึกเล่นด้วยตัวเอง คุณ เรอชัมแค้ง ได้ช่วยให้ผมมีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีพื้นเมืองมากขึ้น ทำให้ผมหลงใหลเครื่องดนตรีประจำชาติมากขึ้น”

สิ่งที่คุณ เรอชัมแค้ง กำลังปฏิบัติได้ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชมและภาคภูมิใจเพราะในความวุ่นวายของชีวิตสมัยใหม่ยังคงมีชายหนุ่มในเขตเตยเงวียนที่ทุ่มเทเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด