เลขาธิการใหญ่พรรค เจื่องจิง ผู้วางพื้นฐานให้แก่ภารกิจ “โด๋ยเม้ย”

(VOVWORLD) -ในเวียดนาม  โด๋ยเม้ยหรือ “การเปลี่ยนแปลงใหม่” ได้รับการปฏิบัตินับตั้งแต่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 6 เมื่อปี 1986  โดยเสมือนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมและโฉมหน้าของประเทศเวียดนามในทุกด้าน ซึ่งผู้ริเริ่มภารกิจในเชิงการปฏิวัตินี้คือท่าน เจื่องจิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามผู้ล่วงลับ

เลขาธิการใหญ่พรรค เจื่องจิง ผู้วางพื้นฐานให้แก่ภารกิจ “โด๋ยเม้ย” - ảnh 1 เลขาธิการใหญ่พรรค เจื่องจิง

ก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 6 ท่าน เจื่องจิงได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของการที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ ในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังถูกปิดล้อมคว่ำบาตร ส่วนสหภาพโซเวียดและประเทศในยุโรปตะวันออกเริ่มทำการเปิดประเทศ จึงลดความช่วยเหลือด้านการเงินให้แก่เวียดนาม ซึ่งเวียดนามตกเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง     ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนประสบอุปสรรคมากมาย

จากสถานการณ์ดังกล่าว กิจกรรมในลักษณะ “โด๋ยเหมย”หรือ “การเปลี่ยนแปลงใหม่”เริ่มได้รับการปฏิบัติในท้องถิ่นบางแห่งแต่ยังไม่กลายเป็นแนวทางใหญ่ของทั้งพรรคและประชาชน ซึ่งเลขาธิการใหญ่พรรค เจื่องจิงได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ชื่อว่ากลุ่มที่ปรึกษาของเลขาธิการใหญ่พรรคที่รวมปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์ที่มีหัวก้าวหน้าเพื่อทำการวิจัยในปัญหาทั้งทางทฤษฎีและสถานการณ์ที่เป็นจริงของประเทศเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การเปลี่ยนแปลงใหม่ พร้อมทั้ง ได้นำคณะลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ของจังหวัดและนคร 20 แห่งในทั้ง 3 ภาคแล้วสามารถสรุปผลได้ว่า   ถึงเวลาที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องยกเลิกแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินและกลไกรัฐอุปถัมภ์ ต้องมีการวางแผนการรับผิดชอบทางการเงินเองและเริ่มส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสินค้าหลายภาคส่วนภายใต้การบริหารของรัฐ นักเศรษฐศาสตร์ หวอด๋ายเลือก สมาชิกในกลุ่มที่ปรึกษาของเลขาธิการใหญ่พรรคและรับหน้าที่เขียนบทวิจัยสองบทในหัวข้อ “นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินที่ประยุกต์ใช้ในเวียดนาม”และ “นโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศของเวียดนามในยุคใหม่”ได้กล่าวว่า “ผมได้รับหน้าที่เขียนบทวิจัยสองบทนี้และท่านเจื่องจิงก็ได้อ่านทั้งสองบทหลายรอบ ซึ่งตอนนั้นเราต้องอาศัยแนวคิดและนโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเลนินเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในเวียดนามยกเลิกการทำงานแบบขุนนางและการพึ่งพาการอุปถัมภ์ของรัฐเพียงอย่างเดียวเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงการค้าและการเงิน  ซึ่งเป็นสองแนวคิดสำคัญที่สุดของเลนินที่เราได้ใช้ในช่วงริเริ่มภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่”

  แต่อย่างไรก็ดี กระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศนั้นไม่ได้ราบรื่นนักเนื่องจากยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันของบรรดาผู้บริหาร รวมทั้ง ปัจจัยในเชิงภาววิสัยและอัตวิสัย รองศาสตรจารย์ดอกเตอร์ เลก๊วกลี้ รองผู้อำนวยการสถาบันการเมืองแห่งชาติโฮจิมินห์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงใหม่ปี 1986 คือการต่อสู้ภายในที่เข้มข้นระหว่างสองแนวทางคือเปลี่ยนแปลงใหม่หรือไม่เปลี่ยนแปลงใหม่ “เมื่อท่านเลขาธิการใหญ่พรรคเจื่องจิงเสนอแนวคิดเปลี่ยนแปลงใหม่เศรษฐกิจและแนวคิดทางทฤษฎีของพรรค  แม้จะถูกตำหนิแต่ท่านก็ยังยืนหยัดในแนวทางนี้  แม้กระทั่งถูกแรงกดดันจากหลายฝ่ายท่านก็ยังปกป้องแนวทางที่เลือกเฟ้น ในความเป็นจริงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่มิใช่ทุกเรื่องที่จะปฏิบัติได้สำเร็จทั้งหมดเพราะก็มีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขเนื่องจากในระหว่างการเปลี่ยนแปลงใหม่นั้นมีทั้งคนที่เข้าใจและยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจในแนวทางแต่การปฏิบัติยังดำเนินตามแบบเก่า”

จากการสำรวจสถานการณ์ที่เป็นจริงและความตั้งใจเปลี่ยนแปลงใหม่ตัวเอง เปลี่ยนแปลงใหม่พรรค ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9ของสมัยที่5 บทปราศรัยที่กลั่นกรองจากใจของท่านเลขาธิการใหญ่พรรคเจื่องจิงได้กลายเป็นพลังจูงใจของประชาชนเพราะสามารถสะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความปรารถนาของเจ้าหน้าที่ สมาชิกพรรคและประชาชน นาย ฝามเท้เยวียด อดีตสมาชิกคณะเลขาธิการกลางพรรค อดีตประธานแนวร่วมปิตุภูมิได้ยืนยันว่า

“ท่าน เจื่องจิงเป็นผู้นำที่ยืนหยัดเส้นทางแห่งการปฏิวัติ มีความคิดสร้างสรรค์ในการกำหนดแนวทาง มีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างทันการณ์ เน้นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ยังคงยืนหยัดเส้นทางการพัฒนไปสู่ลัทธิสังคมนิยม”

ด้วยวิธีการปฏิบัติในเชิงทฤษฏีและการถอดบทเรียนจากภาคปฏิบัติ ท่านเจื่องจิงเป็นผู้วางพื้นฐานให้แก่การปฏิบัติภารกิจ “โด๋ยเม้ย”และกล้าต่อสู้กับทัศนะและกลไกการทำงานแบบอนุรักษ์นิยมและรัฐอุปถัมภ์อย่างเข้มแข็ง มีส่วนร่วมสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกในการเปลี่ยนแปลงใหม่และกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกด้านในที่ประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่6  ซึ่งได้ช่วยเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของเศรษฐกิจสังคมเวียดนาม .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด