การทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากชาซานเตวี๊ยดโบราณต่าสั่ว

(VOVWORLD) -เขตต่าสั่ว อำเภอบั๊กเอียน จังหวัดเซินลา ที่อยู่พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร เป็นแดนสวรรค์แห่งเมฆหมอกของภาคตะวันตกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีและมีความชื้นสูงทำให้เหมาะแก่การปลูกชาซานเตวี๊ยดโบราณที่มีคุณภาพสูง 
การทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากชาซานเตวี๊ยดโบราณต่าสั่ว - ảnh 1ผลิตภัณฑ์ของชาซานเตวี๊ยดในต่าสั่ว (Photo :thuonghieucongluan.com.vn)

ชาซานเตวี๊ยดต่าสั่วภายใต้เครื่องหมายการค้า ซานาม (Shanam) ผลิตโดยบริษัทชาและผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นเตยบั๊กจำกัดหรือ Tafood เปิดตัวเมื่อปี 2015 และวางจำหน่ายในตลาดเมื่อปี 2017 ใช้ใบชาผลิตและเก็บโดยชาวต่าสั่วเอง นอกจากชาพื้นเมืองชนิดต่างๆของต่าสั่ว เช่น ชาเวียน ชาจุ๊ก ชาไมและแบกชาที่มีรสชาติแตกต่างกัน ทางบริษัทฯ ยังผลิตชาแบบซอง โดยใช้ยอดชาซานเตวี๊ยดทำให้ผู้ดื่มชาทั้งภายในและต่างประเทศได้มีโอกาสลิ้มลองรสชาติที่เข้มข้นของชาซานเตวี๊ยดโบราณได้ง่ายขึ้น ชายี่ห้อซานามคือผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัทมุ่งทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ นาง เหงียนถิทั้ม ตัวแทนของชาซานาม บริษัท Tafood กล่าวว่า" โครงการสตาร์ทอัพของเราคือโครงการผลิตชาซานเตวี๊ยดโบราณของเวียดนาม โดยใช้เครื่องหมายการค้าคือ ชาซานนาม นี่คือผลิตภัณฑ์ของบริษัท Tafood ในตำบลต่าสั่ว เราเน้นสร้างห่วงโซ่มูลค่าตั้งแต่ในท้องถิ่นที่จัดสรรวัตถุดิบไปจนถึงการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ การแปรรูป การสร้างเครื่องหมายการค้า การประกอบธุรกิจและการจำหน่ายในตลาด ปัจจุบันนี้ เรากำลังดูแลตลาดภายในประเทศและในระยะต่อไปจะเน้นส่งออกไปยังต่างประเทศ"

เพื่อส่งเสริมเครื่องหมายการค้าชาซานาม บริษัท Tafood ได้จัดทำและฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้แก่ชาวต่าสั่ว ซึ่งเป็นผู้ปลูกต้นชาซานเตวี๊ยดเพื่อยกระดับคุณภาพของชา โดยใช้เวลา 3 ปีในการจัดทำรูปแบบการประกอบธุรกิจในต่าสั่ว แล้วขยายผลไปยังท้องถิ่นอื่นๆ เช่น สุ่งโดและเอียนบ๊าย นาง เหงียนถิทั้ม เผยต่อไปว่า ถ้าหากเป็นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ชาซานามก็จะได้รับความนิยมในตลาดและชาวบ้านก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น ชาวบ้านต่าสั่วจึงตระหนักได้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้และใส่ใจมากขึ้นในการปลูกและแปรรูปชาซานาม

การทำธุรกิจสตาร์ทอัพจากชาซานเตวี๊ยดโบราณต่าสั่ว - ảnh 2 ชาวต่าสั่วเก็บใบชา ซานเตวี๊ยด (Photo :thuonghieucongluan.com.vn)

ชาซานามที่ผลิตโดยชาวม้งในต่าสั่วได้มาตรฐาน OCOP ระดับประเทศและได้รับรางวัลต่างๆทั้งในระดับเอเชียและยุโรป แต่เพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ นับวันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ทางบริษัทฯจึงได้เข้าร่วมโครงการ "สนับสนุนสถานประกอบการประกอบธุรกิจเพื่อสนับสนุนห่วงโซ่มูลค่าการเกษตรหรือโครงการ EFD” โดยได้รับคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ เปิดการฝึกอบรมทักษะความสามารถในการบริหารสถานประกอบการ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่ชาวบ้าน ปัจจุบันนี้ ทางบริษัทมีเครื่องหมายการค้าสองรายการคือ ชาซานวี (Shanvie) และชาซานาม (Shanam) ซึ่งค่อยๆได้รับความนิยมจากผู้บริโภค นาง บุ่ยถิแทงมาย ผู้เชี่ยวชาญของกองทุนลงทุนสตาร์ทอัพ BestB แสดงความคิดเห็นว่า บริษัท Tafood ได้สร้างความเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ระหว่างทางการปกครองท้องถิ่นกับชาวต่าสั่ว ซึ่งเป็นผู้ผลิตชาซานาม เพื่อสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าที่ยั่งยืนต่างๆ             "เวียดนามมีชาหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกัน นอกจากนี้ ชาก็เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของคนเวียดนาม ซุ่งแต่ละคนก็มีรสนิยมในการดื่มชาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ทางบริษัทควรทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น โดยมุ่งสู่การตอบสนองความต้องการของตลาดและของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเพื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากขึ้น"

จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับผลกระทบจากห่วงโซ่มูลค่าในการผลิตและประกอบธุรกิจ บริษัท Tafood ได้ยกระดับทักษะความสามารถในการบริหารอย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดและบริหารสถานประกอบการให้พัฒนาอย่างถูกทิศทางและยั่งยืน ช่วยให้เครื่องหมายการค้าชาซานเตวี๊ยดต่าสั่วซานามได้รับความนิยมในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมากขึ้น./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด