ชาวบ้านอำเภอก๊ายเนือก จังหวัดก่าเมา สร้างฐานะด้วยการปลูกพืชเฉพาะถิ่นผสานกับการเลี้ยงปลา

(VOVWORLD) -ต้นโบ่นโบ่นในภาษาเวียดนามหรือต้นธูปฤาษี(ต้นกกช้าง)ในภาษาไทยคือพืชเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดก่าเมา โดยเฉพาะในอำเภอก๊ายเนือก ในช่วงก่อนพืชชนิดนี้เป็นหญ้าที่ไร้คุณค่าแต่เดี๋ยวนี้ได้กลายเป็นผักเฉพาะถิ่นที่มีมูลค่าสูง มีเครื่องหมายการค้าแบบหมู่คณะ “ผลิตภัณฑ์โบ่นโบ่นก๊ายเนือก” โดยได้รับการปลูกทั้งในอำเภอก๊ายเนือก ซึ่งการปลูกต้นโบ่นโบ่นผสานกับการเลี้ยงปลาน้ำจืดได้เปิดแนวทางใหม่ช่วยให้ชาวบ้านที่นี่สร้างฐานะที่มั่นคง
ชาวบ้านอำเภอก๊ายเนือก จังหวัดก่าเมา สร้างฐานะด้วยการปลูกพืชเฉพาะถิ่นผสานกับการเลี้ยงปลา - ảnh 1ต้นโบ่นโบ่นคือพืชเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดก่าเมา โดยเฉพาะในอำเภอก๊ายเนือก

นับตั้งแต่ที่กรมลิขสิทธิ์ทางปัญญาได้รับรองเครื่องหมายการค้า “ผลิตภัณฑ์โบ่นโบ่นก๊ายเนือก” ให้แก่ท้องถิ่นเมื่อกว่า 15 ปีก่อน ชาวบ้านในอำเภอก๊ายเนือก จังหวัดก่าเมาเริ่มปลูกพืชชนิดนี้เพื่อพยายามเพิ่มรายได้ นาย เจิ่นวันหลาก ในตำบลเตินฮึงดง เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เห็นคุณค่าที่ยั่งยืนของต้นโบ่นโบ่น จึงได้ใช้พื้นที่เลี้ยงกุ้ง 5 เฮกตาร์ของครอบครัวเพื่อปลูกต้นโบ่นโบ่น แต่ในช่วงแรก เขาไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาน้ำจืดและปลูกต้นโบ่นโบ่น จึงไปเรียนรู้ประสบการณ์จากเกษตรกรในท้องถิ่นอื่นๆ หลังจากนั้น เขาได้ขยายพื้นที่ปลูกต้นโบ่นโบ่นเป็น 20 เฮกตาร์ ซึ่งเฉพาะต้นโบ่นโบ่นก็สร้างกำไรนับสิบล้านด่งต่อเดือนบวกกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาช่อนและปลาสลาดในพื้นที่ปลูกต้นโบ่นโบ่นได้ช่วยสร้างกำไรให้แก่ครอบครัวนายหลากประมาณ 600 ล้านด่งต่อปี

รูปแบบการเกษตรนี้แม้ลำบากแต่สร้างรายได้อย่างมีเสถียรภาพ ถ้าหากปลูกต้นโบ่นโบ่นแบบทั่วๆไปจะสามารถปลูกได้แค่ฤดูเดียวเท่านั้น แต่ผมได้กักเก็บน้ำจืดทำให้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและช่วยลดต้นทุน เราขายผลผลิตให้แก่แม่ค้าพ่อค้าในตลาดอำเภอก๊ายเดือกและเดิ่มเยย ซึ่งแต่ละเดือน ผมเก็บต้นโบ่นโบ่นได้กว่า 3 ตันในพื้นที่ 20 เฮกตาร์ ได้กำไรกว่า 40 ล้าน

ชาวบ้านอำเภอก๊ายเนือก จังหวัดก่าเมา สร้างฐานะด้วยการปลูกพืชเฉพาะถิ่นผสานกับการเลี้ยงปลา - ảnh 2นาย เจิ่นวันหลาก ได้ใช้พื้นที่เลี้ยงกุ้ง เฮกตาร์ของครอบครัวเพื่อปลูกต้นโบ่นโบ่น 

นาย เจิ่นวันหลาก กล่าวว่า รูปแบบการปลูกต้นโบ่นโบ่นผสานกับการเลี้ยงปลาทำได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการเก็บผลผลิตและการแปรรูป “ ในการปลูกต้นโบ่นโบ่น เราต้องติดตามการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มปูนขาวและฟอสฟอรัสให้เหมาะสม ผมปลูกในพื้นที่กว้างขวาง จึงต้องจ้างแรงงาน โดยผมจ่ายค่าจ้างแรงงาน 200,000 ด่ง/คน/ 4 ชั่วโมง

แม้เป็นพืชป่าแต่เมื่อนำโบ่นโบ่นไปทำอาหาร เช่น สลัด แกงและผัด เราจะสัมผัสได้ถึงความหวานอร่อยที่พิเศษ ทำให้ผู้ที่ได้ทานชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและกลายเป็นเมนูอาหารท้องถิ่นชื่อดังของจังหวัดก่าเมา

ในตำบลเตินฮึงดง ไม่ได้มีแค่คุณหลากเท่านั้น หากเกษตรกรหลายๆคนก็กำลังปลูกต้นโบ่นโบ่นผสานกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด ส่วนทางการท้องถิ่นได้ช่วยผลักดันและอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรในการขยายรูปแบบนี้ นาย เจิ่นแทงเลียม ประธานสมาคมเกษตรกรตำบลเตินฮึงดงเผยว่า “พรรคสาขาและคณะกรรมการประชาชนตำบลให้การดูแลเอาใจใส่ต่อการปลูกโบ่นโบ่นผสานกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด ปัจจุบันนี้ ทางตำบลฯ กำลังขยายพื้นที่ปลูกต้นโบ่นโบ่นเพราะว่า รูปแบบนี้มีประสิทธิภาพและสร้างรายได้อย่างมีเสถียรภาพ ส่วนสมาคมเกษตรกรและสำนักงานที่เกี่ยวข้องของตำบลได้อำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อช่วยให้มีเงินทุนพัฒนาและขยายรูปแบบนี้

จากที่เคยเป็นเพียงต้นวัชพืชไร้ค่าที่ชาวบ้านหาทางกำจัด แต่เดี๋ยวนี้ได้กลายเป็นเมนูอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดก่าเมา และช่วยพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ให้แก่ชาวบ้าน ในกระบวนการพัฒนาเครื่องหมายการค้า “ผลิตภัณฑ์โบ่นโบ่นก๊ายเนือก” รูปแบบการปลูกต้นโบ่นโบ่นผสมกับการเลี้ยงปลาน้ำจืดของคุณเจิ่นวันหลากได้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและเป็นช่องทางให้ประชาชนในท้องถิ่นสร้างฐานะให้มั่นคง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด