ประสิทธิภาพจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐานเวียดแก๊ปในนาข้าวที่จังหวัดก่าเมา

(VOVWORLD) -ช่วงนี้ ก่าเมากำลังย่างเข้าสู่ฤดูเก็บกุ้งก้ามกรามขาย โดยเกษตรกรมีความยินดีเป็นอย่างมากที่สามารถขายได้ในราคาสูงกว่าช่วงที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกที่ 4 ช่วยให้มีเงินต้อนรับตรุษเต๊ต รูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวเป็นก้าวกระโดดด้านเศรษฐกิจของจังหวัดฯในหลายเดือนที่ผ่านมา โดยกุ้งก้ามกรามนับวันยืนยันบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายครอบครัวและจังหวัด
 
 
ประสิทธิภาพจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐานเวียดแก๊ปในนาข้าวที่จังหวัดก่าเมา - ảnh 1การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐานเวียดแก๊ปในนาข้าวที่จังหวัดก่าเมา

ก่าเมาเป็นหนึ่งในจังหวัดเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมากที่สุด โดยเฉพาะในอำเภอเท้ยบิ่งห์ อูมิงห์ เจิ่นวันเถ่ย ก๊ายเนือกและนครก่าเมา 

ครอบครัวนาง ห่งถิแญง หมู่บ้านที่ 9 ตำบลแค้งถ่วน อำเภออูมิงห์ จังหวัดก่าเมา ได้เก็บกุ้งก้ามกรามที่เพาะเลี้ยงในนาข้าวแล้ว จากการปฏิบัติรูปแบบนี้ในพื้นที่ 1.2 เฮกตาร์ เธอสามารถเก็บกุ้งได้กว่า 300 กิโลกรัม จึงมีความยินดีเป็นอย่างมากเพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง          “เรานำกุ้งพันธุ์ 15,000 ตัวมาเลี้ยง ตอนนี้กุ้งโตขายได้กว่า 33 ล้านด่ง ส่วนการเก็บเกี่ยวข้าวก็ได้ผลดี เราเก็บไว้กินเองบางส่วนแล้วที่เหลือขายได้กว่า 3 ล้านด่ง

ปี 2021 เป็นฤดูที่ 2 ที่สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัดก่าเมาประสานงานกับศูนย์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์และสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภออูมิงห์ปฏิบัติรูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวตามมาตรฐานเวียดแก็ปให้แก่เกษตรกรในตำบลแค้งถ่วน โดยมีการปฏิบัติในพื้นที่การเกษตรของ 73 ครอบครัว รวมพื้นที่ประมาณ 100 เฮกตาร์ โดยแต่ละครอบครัวได้รับกุ้งพันธุ์ 15,000 ตัวและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในการเลี้ยง ดังนั้นในฤดูนี้ การเก็บเกี่ยวได้ผลดีทั้งในการปลูกข้าวและการเลี้ยงกุ้ง คุณป้าโห่ถินัม กล่าวด้วยความยินดีว่า          “การปลูกข้าวในปีนี้ได้ผลดีกว่าปีก่อนๆ เพราะว่าปีก่อนๆ เราขาดประสบการณ์ในการปลูกข้าวพันธุ์ ST24 แต่ในปีนี้มีประสบการณ์แล้ว ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามก็ช่วยให้เรามีกำไรเพิ่มอีกเกือบ 50 ล้านด่ง

ในอดีต ชาวบ้านตำบลแค้งถ่วนมีความคุ้นเคยกับรูปแบบการปลูกป่าเพื่อการผลิตผสานกับการปลูกข้าวเท่านั้น แต่หลังจากที่เห็นประสิทธิภาพของรูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวได้ทำให้เกษตรกรหลายคนปฏิบัติตาม โดยในตอนแรกมีการปฏิบัติในพื้นที่ประมาณ 100 เฮกตาร์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ได้ขยายเป็นนับร้อยเฮกตาร์ นาย โตนจุงค้าง ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านที่ 9 ตำบลแค้งถ่วนกล่าวว่า

          “รูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละครอบครัวสามารถเก็บกุ้งได้ประมาณ 400 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีความยินดีเป็นอย่างมาก เราได้ปฏิบัติรูปแบบนี้เป็นเวลา 2 ปีและตอนนี้กำลังย่างเข้าสู่ระยะสุดท้าย เกษตรกรได้ปฏิบัติตามและขยายพื้นที่เพิ่มประมาณ 400 เฮกตาร์”

ที่อำเภอเท้ยบิ่งห์ นาย ฝ่ามวันขาย เกษตรการที่กำลังเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวรวมพื้นที่ 1.3 เฮกตาร์เผยว่า กุ้งก้ามกรามได้รับการเพาะเลี้ยงแบบนี้มีเนื้อหอมและอร่อยมากเนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติในนาข้าวที่ปลูกแบบอินทรีย์ หลังการปฏิบัติเป็นการนำรอง ขณะนี้ พื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในอำเภอเท้ยบิ่งห์ได้ขยายเป็น 16,000 เฮกตาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตำบล เบี๋ยนแบกดง เตินบั่งห์ เบี๋ยนแบก เท้ยบิ่ง ชี้ฝ่ายและชี้หลึก เป็นต้น ถึงกลางเดือนมกราคมปี 2022 พื้นที่กว่าร้อยละ 30 ของอำเภอเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บกุ้งโดยได้ผลผลิตประมาณ 200-250 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ขายได้ในราคา 110,000 – 130,000 ด่งต่อกิโลกรัม สร้างกำไรประมาณ 20 ล้านด่งต่อเฮกตาร์และรูปแบบการเลี้ยงกุ้งนี้กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว นาย เจิ่นวันเซวียน ผู้เลี้ยงกุ้งในอำเภอเท้ยบิ่งกล่าวว่า          “ในปีนี้ เราเก็บกุ้งได้ประมาณ 500 กิโลกรัม ขายในราคา 135,000 ด่งต่อกิโลกรัม ถ้าขายได้หมดก็จะได้กำไรกว่า 60 ล้านด่ง ก็พอเพื่อต้อนรับตรุษเต๊ต

รูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวที่มีประสิทธิภาพของเกษตรกรก่าเมา ได้สร้างแนวทางใหม่ให้เกษตรกรในท้องถิ่นในการสร้างฐานะให้มั่นคง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด