คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย

(VOVWORLD) - "ผมเลือกมาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิทยากรประจำแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์จังหวัดอุดรธานีก็คือ หนึ่งมีความเคารพรักศรัทธาในตัวท่านประธานโฮจิมินห์ "
 
 
คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 1นาย อรรถพล เรืองสิริโชค 

 

“ไม่มีการงานสิ่งใดยาก

กลัวแต่จิตใจไม่มั่นคง

ขุดภูเขาถมทะเล

ถ้าใจมุ่งมั่นทำสำเร็จแน่นอน”

นี่คือคติที่นาย อรรถพล เรืองสิริโชค วิทยากรประจำแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์จังหวัดอุดรธานีถือปฏิบัติเสมอเมื่อเจออุปสรรคต่างๆ เขาเป็นชาวไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นที่ 3 ที่เกิดและเติบโตในประเทศไทยอีกทั้งยังเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสถานีวิทยุเวียดนาม โดยนายอรรถพลได้ตั้งใจพยายามศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเวียดนามและประธานโฮจิมินห์อย่างต่อเนื่องเพื่อมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองมาตุภูมิให้ใกล้ชิด มีส่วนร่วมเผยแพร่ภาษาเวียดนาม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เวียดนามในชุมชนชาวไทย ผมชอบสอนภาษาเวียดนามให้เด็กๆ เยาวชนเวียดนาม ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นใหม่ก็เพราะว่า หลังจากปี 2518 สถานการณ์การสอนภาษาเวียดนามในเมืองไทย ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในอุดรธานีก็หยุดการเรียนการสอนไป ทำให้เด็กๆ เวียดนามรุ่นหลังนี้จึงไม่รู้ภาษาเวียดนามกันเยอะ ผมก็กลัวว่า ต่อไปในอนาคต ภาษาเวียดนามจะหายสาบสูญไปจากประเทศไทย เด็กก็ไม่สามารถสื่อสารได้กับคนเวียดนามในประเทศ เพราะฉะนั้นจึงจิตอาสาไปสอนให้เพราะว่าผมก็มีความรู้ด้านภาษาไทยบ้างที่จะพูดให้มันตรงกับภาษาเวียดนาม

คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 2ในชั้นเรียนภาษาเวียดนาม
นาย อรรถพล เรืองสิริโชค มีชื่อเวียดนามคือ วันเวียดแถ่ง เกิดเมื่อปี 1970 ในครอบครัวที่มีคุณตาและคุณพ่อคุณแม่เป็นครูสอนภาษาเวียดนามในชุมชนชาวเวียดนามที่สกลนคร จากการได้เรียนภาษาเวียดนามตั้งแต่ยังเด็ก จึงสามารถพูดภาษาไทยและภาษาเวียดนามได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งช่วยให้เขารู้สึกผูกพันกับประเทศ คนและวัฒนธรรมเวียดนามและในตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา นาย อรรถพล ก็เป็นหนึ่งในแฟนพันธุ์แท้ของรายการภาคภาษาไทย สถานีวิทยุเวียดนาม เคยได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวด “คุณรู้อะไรเกี่ยวกับเวียดนาม” ที่จัดโดยส่วนกระจายเสียงต่างประเทศของสถานีวิทยุเวียดนาม การฟังและอ่านข้อมูลข่าวสารของสถานีวิทยุเวียดนามเป็นประจำทุกๆ วันได้ช่วยให้เขามีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ประธานโฮจิมินห์และสามารถอัพเดทข้อมูลที่แม่นยำถูกต้องเกี่ยวกับเวียดนามได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งทำการศึกษาค้นคว้าและโพสข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ ประเทศ คนเวียดนาม ความสัมพันธ์ร่วมมือที่ดีงามระหว่างสองประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งนี่คือวิธีการที่คุณอรรถพพลปฏิบัติเพื่อแสดงความรักต่อประเทศเวียดนาม ประธานโฮจิมินห์ ธำรงเกียรติประวัติและขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองประชาชาติ
คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 3การติดตามข่าวสารจากวีโอวีเพื่อเพิ่มความรู้และเพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางต่อไปเป็นสิ่งที่เขาทำทุกวัน

คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 4นาย อรรถพล กับคณะนักท่องเที่ยว
สาเหตุที่ผมเลือกมาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิทยากรประจำแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์จังหวัดอุดรธานีก็คือ หนึ่งมีความเคารพรักศรัทธาในตัวท่านประธานโฮจิมินห์ ท่านเป็นวีรบุรุษสำคัญของเวียดนามและเป็นนักคอมมิวนิสต์สำคัญของโลก และท่านก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เป็นเมืองขึ้นให้ลุกขึ้นต่อสู้ขับไล่พวกนักล่าเมืองขึ้นที่ยึดครองประเทศตัวเองเพราะท่านก็ทำสำเร็จ สองคือผมอยากเผยแพร่เกียรติคุณ คุณงามความดีของลุงโฮให้กับชาวไทย ได้รู้จักสิ่งดีงามในตัวลุงโฮ เพราะว่า ท่านก็เคยมาพำนักอาศัยในประเทศไทย และได้รับการช่วยเหลือจากประเทศไทยในการกู้ชาติบ้านเมืองเวียดนามจนสำเร็จในที่สุด ก็อยากจะให้คนไทยรู้จักตัวตนที่แท้จริงของลุงโฮและจะมาเที่ยวบ้านลุงโฮเยอะๆ สามก็คือ อยากจะเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ในการช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานีเพราะจังหวัดอุดรธานีก็เป็นจังหวัดบ้านเกิดของผม ก็อยากให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทั้งเวียดนาม ทั้งไทยและทั้งต่างประเทศได้มาเที่ยวอุดรธานี ได้มาชมบ้านลุงโฮ เสร็จแล้วก็ไปจับจ่ายใช้สอยในสถานที่อื่นๆ ช่วยประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และช่วยให้จังหวัดอุดรธานีพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเศรษฐกิจก็พัฒนาตามไปด้วย”
คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 5ภาพนาย อรรถพล เรืองสิริโชคให้การต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว
งานประจำในตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาของนาย อรรถพล คือวิทยากรแหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์จังหวัดอุดรธานี  และเขาบอกว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์แห่งนี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศเวียดนามและประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งพวกเขามาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและภารกิจของประธานโฮจิมินห์ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประธานโฮจิมินห์เคลื่อนไหวในประเทศไทยช่วงปี 1928-1929 แหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์จังหวัดอุดรธานีเปิดเมื่อวันที่ 2 กันยายนปี 2002 โดยในช่วงที่เปิดใหม่ๆ มีนักท่องเที่ยวไม่กี่คนมาเที่ยว แต่ปัจจุบันในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากถึง 50-120 คน

ผมก็รู้สึกภูมิใจที่ผมมาทำงานที่นี่ก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้แหล่งประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ของเราได้รับการรับรองจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นสถานที่ดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ ได้เผยแพร่เกีรยติคุณ คุณธรรมของท่านประธานโฮจิมินห์ให้แก่ชาวโลกได้รับรู้เพราะว่า ที่นี่ได้ให้การต้อนรับแขกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ ตลอดจนชาวเวียดนามมาเยี่ยมชมทุกวัน

คุณ อรรถพล เรืองสิริโชค ผู้ที่มีส่วนช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย - ảnh 6ข่าวสารเกี่ยวกับเวียดนามที่นายอรรถพลอ่านเพิ่มความรู้และเผยแพร่ทางเฟสบุ๊ค

จงภูมิใจในความเป็นเวียดนามของเราเพราะว่า เวียดนามเป็นชนชาติที่กล้าหาญ เข้มแข็ง แล้วก็มีความอดทน จะเห็นว่า เวียดนามไม่ได้เริ่มต้นอย่างสวยหรู คือเริ่มต้นจากยากลำบาก ต้องตกเป็นเมืองขึ้น รุ่นพ่อรุ่นแม่ของเราต้องทำงานหนักเพื่อที่จะมีเวียดนามที่เจริญรุ่งเรืองในวันนี้ เราในฐานะเป็นเยาวชนเวียดนามรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ภูมิใจในเกียรติประวัติของบ้านเมือง เกียรติประวัติของรุ่นพ่อรุ่นแม่ ได้จงสืบสานพัฒนาเวียดนามรุ่นของเราให้ดีต่อไป แล้วก็ทำยังไงให้ประเทศเวียดนามของเราเจริญรุ่งเรืองเทียบเคียงกับประเทศต่างๆ ในโลก 5 ทวีปอย่างที่ลุงโฮปรารถนาว่า ต่อไปข้างหน้า เมื่อเราเดินทางไปที่ไหน เราพูดถึงเวียดนาม ทุกคนก็จะรู้จัก ก็จะภูมิใจดีใจที่ได้คบค้าสมาคมกับชาวเวียดนาม

นี่คือสิ่งที่นายอรรพลอยากฝากถึงชาวไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นหลัง ซึ่งคำพูดนี้ก็สะท้อนให้เห็นผ่านการปฏิบัติเป็นประจำของเขา สำหรับเขาก็รู้สึกโชคดีและภูมิใจที่เป็นคนเวียดนาม และหวังว่าจะได้มีส่วนร่วมมากขี้นเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเทศ คนเวียดนาม ประธานโฮจิมินห์ สัมพันธ์ไมตรีที่ยาวนานและยั่งยืนระหว่างสองประชาชาติเวียดนาม – ไทย และยิ่งกว่านั้นคือมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภาษาเวียดนามและวัฒนธรรมเวียดนามในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด