จังหวัดท้ายบิ่งห์พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
Manh Phuong - To Tuan - VOV -  
(VOVWORLD) -จังหวัดท้ายบิ่งห์ขึ้นชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคเหนือเวียดนามโดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงโดยประชากรร้อยละ 70 เป็นเกษตรกร ขณะนี้ ทางจังหวัดกำลังเดินหน้าขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ผ่านมาตรการกระตุ้นที่เป็นก้าวกระโดดในการเปลี่ยนแปลงใหม่และพัฒนาการเกษตรแบบบูรณาการ
(Photo nongnghiep.vn)
|
นับตั้งแต่ปี 2002 จังหวัดท้ายบิ่งห์ได้เริ่มปรับผังที่นาเพื่อวางผังพื้นที่เกษตร เปลี่ยนแปลงใหม่การผลิตตามรูปแบบที่ทันสมัยและรวมศูนย์ ซึ่งถึงขณะนี้ได้เสร็จเรียบร้อยแล้วและนับตั้งแต่ปี 2017 ทางการจังหวัดได้เริ่มปฏิบัติโครงการรวมที่ดินเพื่อพัฒนาการเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่
จนถึงปลายปี 2017 จังหวัดท้ายบิ่งห์สามารถรวมที่ดินเพื่อการเกษตรได้ประมาณ 1 หมื่น 5 พันเฮกตาร์ ซึ่งในนั้นพื้นที่ให้เช่าและโอนกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเกษตรประมาณ 5 พันเฮกตาร์ พื้นที่ที่เชื่อมโยงระหว่างการผลิตกับการบริโภคประมาณ 1 หมื่นเฮกตาร์ นายเหงียนวันเกียน ชาวบ้านตำบลเตินฟอง อำเภอหวูทือ จังหวัดท้ายบิ่ง ได้เช่าที่เกือบ 20 เฮกตาร์เพื่อปลูกข้าวตามรูปแบบที่ทันสมัย คือใช้เครื่องจักรในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งใช้แรงงานแค่ 3 คนเท่านั้น และหากฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลก็จะได้กำไรราว 1.4 ล้านด่งต่อ 100 ตารางวา “ตอนผมเช่าที่ดิน ทางการตำบลได้ช่วยพูดคุยกับเกษตรกร เกษตรกรที่นี่ส่วนใหญ่ไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ผมก็เช่าที่ดินจากพวกเขา ผมทำเกษตรแบบนี้ตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งก็ได้กำไรดี”
ในจังหวัดท้ายบิ่งห์ มีเกษตรกรหลายคนกล้าคิดกล้าทำดังคุณเกียน โดยอำเภอหวูทือเป็นท้องถิ่นเดินหน้าในการปฏิบัติโครงการรวมพื้นการเกษตรและในปี 2017 ทางการอำเภอได้เปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักประมาณ 350 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างรายได้มากกว่าการปลูกข้าว ส่วนรูปแบบเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงก็สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 300-400 ด่งต่อเฮกตาร์ ขณะนี้ ที่อำเภอหวูทือ ครอบครัวเกษตรกรที่ทำการรวมพื้นที่ขนาดเล็กด้วยพื้นที่ตั้งแต่ 1 เฮกตาร์ขึ้นไปมีกว่า 160 ครอบครัวเป็นทุ่งนาขนาดใหญ่ รวมพื้นที่กว่า 570 เฮกตาร์ นายด่งวันฮ๊วน ผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตรเตินฟองเผยว่า โครงการรวมพื้นที่ฯช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตและช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิตและช่วยส่งเสริมผู้ที่มีวิธีการปลูกที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายผลิตสินค้าในขอบเขตใหญ่ “สำหรับการรวมพื้นที่นั้น เราได้ปฏิบัติอย่างรอบคอบตามแนวทางของพรรค เราได้จัดการพบปะหารือระหว่างครอบครัวที่มีพื้นที่เกษตรกับผู้ที่มีความต้องการแล้วพวกเขาสามารถลงนามสัญญาโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุติธรรม”
ขณะนี้ ที่จังหวัดท้ายบิ่งห์ มีสหกรณ์การเกษตร 210 แห่งที่กำลังปฏิบัติการเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวสมาชิกกับสถานประกอบการทั้งภายในและนอกจังหวัดเพื่อผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตร ครอบครัวส่วนใหญ่ได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลดต้นทุนและยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อลดพื้นที่เกษตรว่างเปล่าในท้องถิ่นต่างๆ
นายดิงหวิงถวี ประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอหวูทือเผยว่า รูปแบบการเกษตรที่ทันสมัยได้สร้างงานทำใหม่และรายได้ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ช่วยให้แรงงานท้องถิ่นไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น “ปัจจุบัน เกษตรกรในอำเภอหวูทือมีประมาณร้อยละ 40 เท่านั้น ส่วนที่เหลือได้ย้ายมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมการบริการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้สถานประกอบการเข้ามาเช่าที่นาจากเกษตรกร เพราะหากไม่มีงานทำ เกษตรกรก็ไม่ให้เช่า”
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตร ให้เช่าที่ดินและสมทบเงินทุนผ่านการโอนกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเกษตรจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาการเกษตรเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่.
Manh Phuong - To Tuan - VOV