รูปแบบ “การปลูกดอกไม้บนคันนา”มีส่วนร่วมพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
Lưu Sơn -  
(VOVWORLD) - รูปแบบ“การปลูกดอกไม้บนคันนา”คือรูปแบบการผลิตใหม่ที่ได้รับการปฏิบัติเป็นการนำร่องบนพื้นที่ 10 เฮกต้าของสหกรณ์อานเหยด อำเภอลองเดี่ยน จังหวัดบ่าเหรีย-หวูงเต่า โดยเกษตรกรได้ปลูกดอกไม้ชนิดต่างๆบนคันนาเพื่อดึงดูดแมลงที่มีประโยชน์และจำกัดแมลงที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งมีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
รูปแบบ “การปลูกดอกไม้บนคันนา” |
รูปแบบ“การปลูกดอกไม้บนคันนา” อยู่ในโครงการบริหารการระบาดของแมลงศัตรูพืชในทุ่งนาผ่านเทคโนโลยีเชิงนิเวศของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ IRRI ซึ่งได้รับการปฏิบัติเป็นการนำร่องเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2009 - 2010 ณ อำเภอกายไหล่และอำเภอก๊ายแบ่ จังหวัดเตี่ยนยาง โดยตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มระบบพันธุ์พืชที่มีดอกบนคันนาและยุติการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในช่วงแรกๆของการปลูกข้าวเพื่อพัฒนาระบบนิเวศในทุ่งนาและลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการผลิต ช่วยเกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซื้อและพ่นยาฆ่าแมลง
ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติในจังหวัดบ่าเหรีย – หวูงเต่า โดยเกษตรกรในท้องถิ่นได้เผยว่า การทำนาในรูปแบบนี้จะไม่ต้องการใช้ยาฆ่าแมลง แถมให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ 6 – 7 ตันต่อเฮกตา เพิ่มขึ้นเกือบ 1 ตันเมื่อเทียบกับการทำนาแบบธรรมดา นาย เหงวียนฮึวซาง สมาชิกสหกรณ์อานเหยดได้เผยว่า“เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้ เกษตรกรไม่ต้องเสียเงินทุนเพื่อปลูกดอกไม้ หากได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินในการปฏิบัติวิธีการผลิตใหม่ที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ดี ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก”
ประสบการณ์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้คือ ต้องปลูกพืชที่มีดอกสีขาวและสีเหลืองเพื่อดึงดูดแมลงที่มีประโยชน์เข้ามากินแมลงศัตรูพืชที่เป็นเหยื่อ นาง เจิ่นถิเทียนเฮือง หัวหน้าสำนักงานการเกษตรสังกัดศูนย์ส่งเสริมการเกษตรและการทำประมงจังหวัดบ่าเหรีย – หวูงเต่าได้ประเมินว่า การประยุกต์ใช้รูปแบบดังกล่าวในการผลิตจะช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ระบบนิเวศของทุ่งนา รักษาสุขภาพให้แก่เกษตรกรและยกระดับทักษะการบริหารควบคุมแมลงศัตรูพืชในทุ่งนา ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
“โครงการปลูกพืชที่มีดอกนี้ได้รับการปฏิบัติในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศผ่านการลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น”
รูปแบบ“การปลูกดอกไม้บนคันนา”จะช่วยสร้างก้าวกระโดดให้แก่โครงการปรับปรุงพื้นที่นาข้าวในจังหวัดบ่าเหรีย – หวูงเต่า ซึ่งจากจุดแข็งต่างๆ เช่น การลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน สามารถยืนยันได้ว่า นี่คือรูปแบบที่สำคัญและควรได้รับการประยุกต์ใช้และขยายผลต่อไปในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ.
Lưu Sơn