สถานประกอบการเวียดนามประกอบธุรกิจแฟรนไซส์
Ngọc Luân –Tô Tuấn -  
(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพในด้านธุรกิจแฟรนไซส์ซึ่งทำให้เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว รายได้เพิ่มขึ้นและประชากรเพิ่มการบริโภคมากซึ่งทำให้เวียดนามกลายเป็นสถานที่ที่ดึงดูดใจในการทำธุรกิจแฟรนไซส์โดยเฉพาะ นับตั้งแต่เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอและผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก สถานประกอบการเวียดนามก็มีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อเข้าร่วมธุรกิจนี้
(VOVworld) – ในหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพในด้านธุรกิจแฟรนไซส์ซึ่งทำให้เศรษฐกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว รายได้เพิ่มขึ้นและประชากรเพิ่มการบริโภคมากซึ่งทำให้เวียดนามกลายเป็นสถานที่ที่ดึงดูดใจในการทำธุรกิจแฟรนไซส์โดยเฉพาะ นับตั้งแต่เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอและผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก สถานประกอบการเวียดนามก็มีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อเข้าร่วมธุรกิจนี้
|
ร้านเคเอฟซีแห่งหนึ่ง(Photo:KFCVietnam ) |
ในกว่า๑ทศวรรษที่ผ่านมา ในตลาดขายปลีกของเวียดนามได้มีเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน โดยเฉพาะ ด้านอาหารและเครื่องดื่มขยายธุรกิจแฟรนไซส์ในเวียดนาม คุณหว่างถิเตวี๊ยตฮวารองอธิบดีกรมวางแผนแห่งกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์กล่าวว่า“จนถึงปัจุบัน ธุรกิจแฟรนไซส์ในเวียดนามได้มีการพัฒนาโดยมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแฟรนไซส์กว่า๘พันรายการซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านการขายปลีก ให้เช่าเครื่องมืออุปกรณ์ การศึกษาฝึกอบรม และประเทศที่มีเครื่องหมายการค้าแฟรนไซส์ในเวียดนามส่วนใหญ่คือสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลียและประเทศจากสหภาพยุโรปหรืออียู”
เครือบริษัทต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่คือในด้านอาหารกำลังเข้ามาลงทุนในเวียดนามและขยายการประกอบธุรกิจผ่านระบบแฟรนไซส์ซึ่งเครือบริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ เครือบริษัทฟาสต์ฟู้ดต่างๆ เช่น ลอทเทเรียของสาธารณรัฐเกาหลี แมคโดนัลด์ เคเอฟซี และพิซซ่าฮัทของสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีซุปเปอร์มาเก็ตขายส่ง เช่น เครือบริษัทเมโทร แค๊ชแอนด์แคร์รีของเยอรมนี ปาร์กสันของมาเลเซีย และเมื่อเร็วๆนี้ สถานประกอบการหลายแห่งของไทยก็เข้ามาลงทุนธุรกิจแฟรนไซส์ในเวียดนามเช่นกัน ควบคู่กันนั้น สถานประกอบการต่างๆของเวียดนามก็ได้เรียนรู้วิธีการประกอบธุรกิจนี้ทั้งการสร้างเครื่องหมายการค้าและมีการขายแฟรนไซส์ในต่างประเทศ เช่น เฝอ๒๔และกาแฟจูงเงวียนที่เริ่มต้นด้วยการขายแฟรนไซส์ในประเทศก่อน ผลสำเร็จเบื้องต้นของสถานประกอบการเวียดนามเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่สถานประกอบการเวียดนามอื่นๆอีกจำนวนมากโดยเฉพาะสถานประกอบ การขนาดกลางและขนาดย่อมที่ปฏิบัติตามแนวโน้มพัฒนานี้ นายฝ่ามยวีเกื่อง ผู้อำนวยการบริษัทผลิตและบริการแซนเวียดเผยว่า ทางบริษัทกำลังศึกษาการลงทุนเครื่องหมายการค้าซับเวย์ซึ่งทำธุรกิจขายแซนวิชของสหรัฐเพื่อทำการประกอบธุรกิจในกรุงฮานอย ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่ประสบความยากลำบาก การซื้อแฟนส์ไซส์ถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้สถานประกอบการไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างเครื่องหมายการค้า ฝึกอบรมบุคลากร ประสบการณ์ หาแหล่งวัตถุดิบและสถานที่ขายโดยผู้ที่ชื้อแฟรไซส์จะรับการช่วยเหลือทั้งหมดจากบริษัทแม่ สิ่งที่สำคัญคือ สถานประกอบการยังได้รับคำปรึกษาด้านการเงินในกระบวนการประกอบธุรกิจ นายฝ่ามยวีเกื่องกล่าวว่า“ธุรกิจแฟรนไซส์มีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนสร้างเครื่องหมายการค้าด้วยตัวเอง ในสวนต้นไม้ มีเมล็ดพันธุ์ต่างๆและแต่ละคนมีแนวคิดและมีความประสงค์จะเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์ไม่เหมือนกันซึ่งก็ต้องมาดูต่อว่า พวกเรามีประสบการณ์ในการปลูกต้นไม้ไหม? และประสบการณ์ของเรามากเท่ากับของเครื่องหมายการค้าใหญ่ๆหรือไม่? ผมคิดว่า ในเวียดนาม การสร้างเครื่องหมายการค้ายากมาก พวกเราต้องศึกษาเรียนรู้อีกมาก”
ระบบธุรกิจแฟรนไซส์มีข้อดีคือ มีระบบประกอบธุรกิจและเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีการดำเนินธุรกิจแบบมืออาชีพและเป็นระบบที่ได้รับการปฏิบัติในทั่วโลกมานาแล้วดังนั้นสถานประกอบการที่รับซื้อแฟรนไซส์จะใช้เวลาไม่มากในการเจาะตลาดเมื่อเทียบกับการสร้างเครื่องหมายการค้าด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี เพื่อให้การค้าทั้งภายในและต่างประเทศมีความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไซส์สามารถพัฒนาอย่างเข้มแข็งในเวลาข้างหน้า นอกจากความช่วยเหลือด้านกฎหมายและสินเชื่อของรัฐแล้ว ก่อนอื่นสถานประกอบการต้องลงทุนในด้านนี้มากขึ้นพร้อมทั้งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงเพื่อป้อนให้แก่ตลาดภายในประเทศ./.
Ngọc Luân –Tô Tuấn