ประชาคมโลกต้องแสดงท่าทีที่เข้มแข็งมากขึ้นต่อปฏิบัติการของจีนที่ทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกตึงเครียดมากขึ้น

(VOVWORLD) - ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม ณ กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็กได้อ้างคำกล่าวของนักวิชาการสาธารณรัฐเช็กว่า ประชาคมโลกควรแสดงท่าทีอย่างเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อกดดันและขัดขวางปฏิบัติการของจีนที่ทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกตึงเครียดมากขึ้น  
ประชาคมโลกต้องแสดงท่าทีที่เข้มแข็งมากขึ้นต่อปฏิบัติการของจีนที่ทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกตึงเครียดมากขึ้น - ảnh 1คณะปฏิบัติงานไปเยือนเกาะด๊าล๊าดในหมู่เกาะเจื่องซา (VNA) 

ข้อสังเกตดังกล่าวได้มีขึ้นหลังจากที่กลุ่มเรือสำรวจไหหยาง  08 ของจีนได้รุกล้ำเข้ามาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามอีกครั้ง โดยนักข่าว Alex Svamberg จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ Novinky.cz ได้เผยว่า การที่จีนส่งเรือสำรวจไหหยาง 08และเรือคุ้มกันรุกล้ำเข้ามาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามบริเวณแนวปะการังตือชิ้งคือปฏิบัติการล่าสุดที่ทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี  1982 หรือ UNCLOS ส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาค ประชาคมโลกไม่รับรองเกาะเทียมที่จีนก่อสร้างอย่างผิดกฎหมายในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งชื่มชมเวียดนามที่ยืนหยัดทำการต่อสู้และขัดขวางปฏิบัติการของจีนภาคสนาม จากนโยบายการต่างประเทศที่ผลักดันความสัมพันธ์หลายรูปแบบหลายฝ่าย เวียดนามจะได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนและประเทศที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีโลก เช่น สหรัฐ รัสเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย ฝรั่งเศสและอังกฤษ

ส่วนนาย Jan Hornat นักวิชาการจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสังกัดกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเช็กและนาย Vaclav Kopecky นักวิชาการเกี่ยวกับความมั่นคงเอเชียจากสถาบันวิจัยปัญหาระหว่างประเทศได้ให้ข้อสังเกตว่า ประชาคมโลกได้แสดงท่าทีอย่างเข้มแข็งต่อปฏิบัติการเพียงฝ่ายเดียวของจีนในการซ่อมแซม ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างและปฏิบัติการทางทหารในทะเลตะวันออก โดยเฉพาะสหรัฐได้ขยายยุทธศาสตร์การค้ำประกันการเดินเรืออย่างเสรีในทะเลตะวันออก ส่วนนาย Jan Hornat ได้เผยว่า ทะเลตะวันออกมีความหมายที่สำคัญต่อสหภาพยุโรป หรือ อียูทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและการสร้างสรรค์เขตทะเลที่เปิดกว้างและเสรี จีนไม่มีหลักฐานทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องอธิปไตยเหนือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นประ9เส้น” และเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2016 ศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกได้ออกคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีน โดยได้ปฏิเสธคำเรียกร้องอธิปไตยของจีนเหนือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นประ9เส้น”

ส่วนประกาศของอียูเมื่อวันที่ 28สิงหาคมระบุว่า ปฏิบัติการเพียงฝ่ายเดียวในทะเลตะวันออกในเวลาที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลกระทบในทางลบต่อความมั่นคง การเดินเรือ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสันติภาพในภูมิภาค ซึ่งฝ่ายต่างๆในภูมิภาคต้องใช้ความอดกลั้น มีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อมุ่งสู่การฟื้นฟูสภาพเดิม ลดปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคและแก้ไขปัญหาการพิพาทผ่านมาตรการสันติ สอดคล้องกับกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982หรือ UNCLOS และย้ำว่า ฝ่ายต่างๆสามารถแสวงหาการสนับสนุนจากคนกลางไกล่เกลี่ยหรือยื่นฟ้องต่อศาลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแก้ไขปัญหา อียูยังแสดงความประสงค์ว่า ฝ่ายต่างๆจะเสร็จสิ้นการเจรจาซีโอซีอย่างมีประสิทธิภาพ จริงจังและมีข้อผูกมัดทางกฎหมาย พร้อมทั้งยืนยันถึงคำมั่นที่จะธำรงความเป็นระเบียบในเขตทะเลและมหาสมุทรบนพื้นฐานของกฎหมายสากล ความมั่นคง ความร่วมมือ การเดินเรือและการบินอย่างเสรีเพื่อผลประโยชน์ของทุกประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด