พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างอย่างยั่งยืนในมาเลเซีย

(VOVWorld) – จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมปี๒๐๑๓ มาเลเซียมีพื้นที่สีเขียวกว่า๔ล้าน๖แสนตารางเมตรซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุง พัฒนาและก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน น้ำ และลดการปล่อยก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ของบรรดาสถาปนิกและเจ้าของโครงการใน มาเลเซีย


 (VOVWorld) – จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมปี๒๐๑๓ มาเลเซียมีพื้นที่สีเขียวกว่า๔ล้าน๖แสนตารางเมตรซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุง พัฒนาและก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน น้ำ และลดการปล่อยก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ของบรรดาสถาปนิกและเจ้าของโครงการในมาเลเซีย

พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างอย่างยั่งยืนในมาเลเซีย - ảnh 1
มาเลเซียมีพื้นที่สีเขียวกว่า๔ล้าน๖แสนตารางเมตร( Photo:www.lienbangtravel.com)

เช่นเดียวกับหลายๆประเทศที่กำลังพัฒนา นครและตัวเมืองของมาเลเซียนับวันยิ่งได้รับการขยายกว้างเพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของประชาชน แต่กระบวนการนี้ก็ทำให้ปริมาณของเสียเพิ่มสูงขึ้นซึ่งตามข้อมูลสถิติ มาเลเซียอยู่อันดับ๖๖ด้านดัชนีพัฒนามนุษย์เมื่อปี๒๐๐๙และอยู่อันดับ๕๔ด้านดัชนีสิ่งแวดล้อมเมื่อปี๒๐๑๐ ลดลง๒๘อันดับเมื่อเทียบกับปี๒๐๐๘ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนมาเลเซียได้รับการปรับปรุงให้ให้ดีขึ้นแต่ก็ต้องแลกกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่แย่ขึ้น ดังนั้นบรรดาสถาปนิกมาเลเซียได้เน้นซ่อมแซม พัฒนาและก่อสร้างอาคารถาวรเพื่อมีส่วนร่วมสร้างความสมดุลย์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถาปนิกGoh Kai Chen จากมหาวิทยาลัยTun Hus sein Onn ของมาเลเซียเผยว่า“ทุกปี มาเลเซียมีของเสียนับพันตันซึ่งส่วนใหญ่มาจากอาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ แถมอาคารเหล่านี้ก็ใช้พลังงานและน้ำเป็นจำนวนมาก ดังนั้น พวกเราจึงทำการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ”  เพื่อวางมาตรฐานการก่อสร้างอย่างยั่งยืน ปี๒๐๐๙ ได้มีการกำหนดดัชนีการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน๖ด้านคือ ประหยัดพลังงาน น้ำ คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร การวางแผน และการบริหารอย่างยั่งยืน การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับแหล่งทรัพยากรณ์ธรรมชาติ การก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังช่วยลดผลกระทบจากกระบวนการก่อสร้างที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพราะต้องคำนึงถึงสถานที่ การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน การซ่อมบำรุงและการรื้อถอนอาคารที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ปฏิบัติมาเกือบ๔ปี มี๑๒๕โครงการที่ได้รับการรับรองเป็นอาคารสีเขียวจากทั้งหมดกว่า๔๐๐โครงการที่ยื่นขอการรับรองซึ่งมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์กว่า๒แสนตันต่อปี  เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและผลักดันให้เจ้าของโครงการปฎิบัติต่อไป อาคารเหล่านี้จึงถูกแบ่งเป็น๔ประเภทโดยอาศัยดัชนีการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้รับการประเมินทุกๆ๓ปี

พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างอย่างยั่งยืนในมาเลเซีย - ảnh 2
ก่อสร้างอาคารถาวรเพื่อมีส่วนร่วมสร้างความสมดุลย์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(Photo:yeudulich.vn )

แม้ว่าจะประสบผลสำเร็จเป็นที่น่ายินดี แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในมาเลเซียยังประสบกับความท้าทายนานัปการ สถาปนิกGoh Kai Chen กล่าวว่า การขาดประสบการณ์และเทคโนโลยีทำให้การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับความนิยมมากนัก“การก่อสร้างอย่างยั่งยืนเป็นคำนิยามใหม่ในมาเลเซีย ประชาชนจำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ งบประมาณที่ใช้ก่อสร้างอาคารที่ยั่งยืนก็สูงกว่าการก่อสร้างอาคารธรรมดาประมาณร้อยละ๔๐ แต่ถือว่า คุ้มค่าในระยะยาว ดังนั้น บรรดานักลงทุนที่ให้ความสนใจแต่ผลกำไรและระยะเวลาคืนทุนก็ไม่สนใจต่อการก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืน” ร่วมกับแนวโน้มการก่อสร้างอย่างยั่งยืนในโลก มาเลเซียกำลังมีก้าวเดินแรก และสิ่งปลูกสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังมีส่วนร่วมสร้างบรรยากาศแห่งสีเขียวในมาเลเซีย./.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด