(VOVWORLD) -ในรายการของเราวันนี้ ขอเชิญท่านฟังคำอวยพรตรุษเต๊ตของประธานสถานีวิทยุเวียดนาม ท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยและรายการพิเศษในหัวข้อ “ตรุษเต๊ตสะท้อนคุณค่าวัฒนธรรมเวียดนาม”และสุดท้ายคือภาคข่าว
วันนี้คือวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตามจันทรคติ โดยประชาชนเวียดนามในทั่วประเทศกำลังเตรียมถาดอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ต้มขนมแบ๊งจึง หรือขนมข้าวต้มมัดใหญ่และตกแต่งบ้านเพื่อต้อนรับปีใหม่ ซึ่งสำหรับคนเวียดนาม ตรุษเต๊ตไม่เพียงแต่เป็นโอกาสพิเศษเพื่อเชิดชูและปฏิบัติตามประเพณีเพื่อเข้าใจคุณค่าวัฒนธรรมของประชาชาติเท่านั้น หากยังสร้างความมั่นใจในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกด้วยความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติที่ดีงามของประชาชาติอีกด้วย
เสียงดนตรีที่ครึกครื้นในพิธีปลูกต้นเสาตุง ณ วิหาร Kim Ngan ในกรุงฮานอย ได้สร้างบรรยากาศพิเศษสำหรับงานวันตรุษเต๊ตประเพณีของเวียดนาม ซึ่งจัดขึ้นในกรอบของรายการ Tết Việt- Tết Phố ตรุษเต๊ตปีใหม่เวียดนามที่มีขึ้นในย่านโบราณ36สายของฮานอย. ในบรรยากาศที่เคร่งขรึมและศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมตามประเพณีดั้งเดิมต่างๆเช่น พิธีถวายเครื่องเซ่นไหว้ พิธีรายงานต่อเทพเจ้า พิธีตั้งต้นเสาตุง เป็นต้น ได้รับการปฏิบัติอย่างมีชีวิตชีวา สร้างอารมณ์ความรู้สึกมากมายให้แก่ผู้คนที่เข้าร่วมงานรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ คุณเหงวียนเฟืองถาว และนาย Winsly นักท่องเที่ยวจากอังกฤษ กล่าวว่า
หญิง: นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันเข้าร่วมกิจกรรมรับตรุษเต๊ตแบบนี้ การได้เห็นพิธีตั้งเสาตุงก็ทำให้รู้สึกซาบซึ้งอย่างที่อธิบายไม่ได้ เพราะเข้าร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ในบรรยากาศของเต๊ตแห่งอดีต ทำให้เราต้องตระหนักว่าอยากพาลูกหลานมาร่วมกิจกรรมที่เป็นประเพณีนี้เพื่อให้มีความรู้จักและเข้าใจ
ชาย: นี่เป็นครั้งที่ 3 ที่ผมมาเวียดนาม แม้จะได้ร่วมเทศกาลเต็ดมา 2 ครั้งแล้วแต่เพราะเจอปัญหาโควิดทำให้นี่เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกถึงบรรยากาศเทศกาลตรุษเต๊ตอย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะได้เห็นพิธีกรรมเหล่านี้ หลายคนสวมชุดแบบดั้งเดิมที่แตกต่างกัน ทุกคนตื่นเต้นมากที่จะได้ต้อนรับปีใหม่ตามประเพณีของเวียดนาม
คุณเจิ่นถิทวี้ลาน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของเขตทะเลสาบหว่านเกี๊ยมและย่านเมืองเก่าฮานอย กล่าวว่า การจำลองบรรยากาศตามประเพณีในช่วงวันปีใหม่แบบดั้งเดิมในย่านเมืองเก่าของฮานอยเป็นการรักษาและสืบสานคุณค่าของวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเวียดนามช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและมีความรัก ความหวงแหนในคุณค่าอันล้ำค่าของชาติ “เราจำลองบรรยากาศฉลองตรุษเต๊ตของครอบครัวชาวฮานอยที่นำเสนอพิธีต่างๆ เช่น พิธีถวายธูปเทียน กราบไหว้เทพหลักเมือง พิธีตั้งต้นเสาตุงที่วิหาร Kim Ngan เลขที่ 42-44 ถนน ห่างบาก ในย่านโบราณ36สาย เราตั้งใจฟื้นฟูคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักกันมากขึ้นโดยเฉพาะเด็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติที่เราต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้”
|
นอกเหนือจากพิธีกรรมแบบดั้งเดิมแล้ว ในรายการ “Tết Việt - Tết Phố” ยังมีการแสดงศิลปะดนตรีพื้นเมืองของภูมิภาคต่างๆ โดยมีคณะศิลปะจากนครไฮฟอง จากจังหวัดฟู้เถาะเข้าร่วม คุณ Nguyen Thi Lich ศิลปินร้องเพลง Xoan ของคณะศิลปะจังหวัดฟู้เถาะกล่าวว่า “นี่เป็นโอกาสที่ดีเยี่ยม ที่นี่คือย่านถนนโบราณและยังเป็นสถานที่ที่เรามักจะแสดงศิลปะพื้นเมืองเพื่ออนุรักษ์ความงามของเวียดนาม ซึ่งเรารู้สึกดีและภูมิใจเพราะเห็นผู้ที่สนใจมาชมมีทั้งคนต่างชาติและพวกเขาก็ขึ้นเวทีร้องเพลงไปกับเราด้วย นี่หมายความว่าการร้องเพลง Xoan ได้รับการเผยแพร่ไม่เพียงแต่ในประเทศของเราเท่านั้นหากยังได้รับการเผยแพร่ในระดับสากลด้วย ดังนั้น สิ่งที่เวียดนามควรทำคือรักษาคุณค่าศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองนี้ต่อไป”
เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2023 รายการ “Tết Việt - Tết Phố” ช่วยให้ประชาชนได้สัมผัสถึงคุณค่าเต็ดเวียดนามดั้งเดิม และเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น การห่อขนมแบ๊งจึง การจัดดอกดารารัตน์ หรือดอกแดฟโฟดิล การวาดภาพแมวที่เป็นนักษัตรประจำปีนี้ ศิลปะลายพู่กันและการฝึกทำเครื่องปั้นดินเผากับช่างฝีมือ เป็นต้น กิจกรรมนี้สร้างโอกาสให้ชาวเวียดนามทั่วประเทศรวมถึงชาวเวียดนามโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ห่างไกลมาตุภูมิร่วมกันมุ่งใจสู่รากเหง้า สร้างความผูกพันกัน ร่วมแบ่งปันคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของทุกท้องถิ่นตลอดจนร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของเวียดนาม
|
แตกต่างกับบรรยากาศที่คึกคักรื่นเริงที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตรุษเต๊ตปีใหม่ทางจันทรคติตามประเพณีในรายการ “Tết Việt - Tết Phố” ที่ย่านโบราณใจกลางกรุงฮานอย บรรยากาศภายในบ้านของครอบครัวของคุณเจืองถิห่า เลขที่ 29 ถนนห่างด่าว นั้นมีความอบอุ่นมาก โดยภายหลังต้องทำงานหนักมาทั้งปี พวกเขาเลือกต้อนรับตรุษเต๊ตอย่างเรียบง่าย ไม่ต้องยุ่งกับการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆสำหรับตรุษเต๊ตเหมือนที่เคยทำทุกปี หากพวกเขามีวิธีการรักษาคุณค่าดั้งเดิมของบรรพบุรุษในวันตรุษเต๊ตตามแบบวิถีของคนสมัยใหม่
ในช่วงบ่ายของวันที่ 30 เดือน 12 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่าตามจันทรคติ ครอบครัวของคุณเจืองถิห่าได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมอาหารมื้อสิ้นปี ในฤดูใบไม้ผลิก่อนหน้านี้ เมื่อแม่สามีของเธอยังมีสุขภาพแข็งแรง ท่านก็เป็นคนเตรียมข้าวของและถาดอาหารสำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งลูกสาวและลูกสะใภ้เป็นผู้ช่วยในครัว โดยมีการเตรียมข้าวเหนียว ถั่วเขียวและของแห้งก่อนเต๊ตหลายเดือน ตลอดจนการทำของหวานและผลไม้เชื่อมสำหรับตรุษเต๊ตรวมถึง แจ่คอซึ่งเป็นถั่วเขียวกวนที่ขาดไม่ได้ในถาดอาหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาได้มอบหน้าที่การทำอาหารส่งท้ายปีเก่าและอาหารในช่วงตรุษเต๊ตให้กับคุณเจืองถิห่าที่เป็นลูกสะใภ้คนโต คุณห่าเผยว่า “แม่พูดเสมอว่าวันตรุษเต๊ตจะต้องของทำหวานคือแจ่คอเหมือนที่เต๊ตต้องมีแบ๊งจึง ไก่ลวก หัวหอมดอง เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วจะต้องมีอาหารครบทุกอย่างนับตามจำนวนถ้วยชามตามประเพณีของชาวฮานอย ดังนั้น เพื่อสืบทอดหน้าที่ในการจัดถาดอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษเราก็ลองเดินตามรอยแม่บ้างแต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนนิดหน่อย”
ซึ่งเธอบอกว่าในยุคสังคม 4.0 เหมือนในปัจจุบันนี้การจับจ่ายซื้อของก็ไม่เสียเวลาเหมือนเมื่อก่อน เพียงคลิกเมาส์หรือโทรศัพท์สั่งซื้อทุกอย่างสำหรับปีใหม่ได้ตามที่แม่ต้องการ นอกจากอาหารบางอย่างที่ปรุงเอง เธอก็สั่งอาหารกึ่งสำเร็จรูปหลายอย่างจากร้านอาหารในฮานอย แม้ราคาอาจสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ก็เป็นที่น่าพอใจและได้ความสะดวกสบาย“วิถีชีวิตปัจจุบันได้เปลี่ยนไปตามแนวทางที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้คน เรายอมจ่ายค่าบริการเพิ่มเพื่อให้มีเวลาดูแลงานอีกหลายส่วน เพื่อให้ตรุษเต๊ตมีความสุข ฉันคิดว่ามีหลายวิธีเพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบบครัว”
ปีนี้ ความสุขในมื้ออาหารส่งท้ายปีเก่าของครอบครัวคุณห่าได้เพิ่มทวีคูณเพราะหลังจาก 2 ปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลูกชายของเธอที่ศึกษาในต่างประเทศก็สามารถกลับบ้านเพื่อฉลองตรุษเต๊ตกับครอบครัวได้ ในถาดอาหารส่งท้ายปีเก่ารับปีใหม่บนหิ้งบูชานั้นนอกจากอาหารแบบดั้งเดิมที่ใช้เซ่นไหว้ปู่ย่าตายายและบรรพบุรุษแล้ว ก็ยังมีอาหารแบบตะวันตกที่นำเข้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ณ หิ้งบูชาบรรพบุรุษ ทุกคนในครอบครัวได้มากราบไหว้ถวายธูปเทียนด้วยความเคารพ และนี่ยังเป็นโอกาสสั่งสอนให้เกิดความรู้ในคุณค่าทางวัฒนธรรมของเวียดนาม
“ขอบคุณเทพเจ้า และบรรพบุรุษที่คอยปกป้องให้ทั้งครอบครัวของเรามีสุขภาพที่ดีและมีความสงบสุขตลอดปีที่ผ่านมา ลูกหลานประสบความสำเร็จในการทำงานและการเรียน ใครอยากขออะไรก็อธิษฐานด้วยใจจริง นี่เป็นพิธีกรรมที่สำคัญมาก ถือเป็นการสิ้นสุดปีและเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ขอให้เป็นปีที่ดีและประสบแต่โชคดี”
คนเวียดนามอยู่ที่ไหน ก็จะมีตรุษเต๊ตเวียดนามอยู่ที่นั่น สำหรับชาวเวียดนามโพ้นทะเลมากกว่า 5.3 ล้านคนในกว่า 130 ประเทศและดินแดนทั่วโลกนั้นขณะนี้ก็อาจได้ฉลองปีใหม่เวียดนามตามแบบของชาวเวียดนาม การที่ประเพณีตรุษเต๊ตเวียดนามได้รับการจัดขึ้นในพื้นที่สาธารณะอย่างที่วิหารกิมเงินนั้นจะทำให้คุณค่าแห่งวัฒนธรรมของตรุษเต๊ตเวียดนามได้รับการเผยแพร่ไปไกลนอกอาณาเขตของเวียดนาม
วันที่ 17 ธันวาคมของปีเสือ ในกรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ตรงกันข้ามกับอากาศหนาวจัดข้างนอก บรรยากาศในห้องประชุมของโรงแรมโซลการ์เดนกลับมีความอบอุ่นเป็นพิเศษเพราะที่นี่กำลังจัดรายการ “ตรุษเต๊ตแห่งบ้านเกิด” เพื่อต้อนรับตรุษเต๊ตปีแมวตามจันทรคติของชุมชนชาวเวียดนามในสาธารณรัฐเกาหลี และบรรยากาศก็มีความอบอุ่นมากขึ้นเมื่อเพื่อนร่วมชาติเป็นจำนวนมากได้พบกันหลังจากต้องห่างเหินกันมานานกว่า 2 ปีเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 "วิเศษมาก" คือประโยคที่สะท้อนความหมายของรายการพบปะ“ตรุษเต๊ตแห่งบ้านเกิด” ของชุมชนชาวเวียดนามในสาธารณรัฐเกาหลี โดยภาพลักษณ์ของตรุษเต๊ตที่สะท้อนจากภาพของกิ่งดอกท้อ ดอกเหมยและอาหารเวียดนาม เช่น แบ๊งจึง ปอเปี๊ยะทอด หมูยอ เป็นต้น ได้ช่วยให้ผู้คนได้สัมผัสบรรยากาศตรุษเต๊ตเวียดนามในใจกลางกรุงโซล คุณ Vo Thi Ngoc Tuyet เผยว่า “ทุกครั้งที่เข้าร่วมงานฉลองปีใหม่ประเพณีนี้ เราก็รู้สึกเหมือนได้กลับบ้านเกิดและภูมิใจในวัฒนธรรมเวียดนาม ตรุษเต๊ตเวียดนามคึกคักอบอุ่นมากไม่เหมือนเต๊ตของเกาหลี”
ชมรมนักศึกษาเวียดนามที่อยู่ห่างจากกรุงโซลเกือบ400กิโลเมตรก็กำลังเข้าร่วมงานฉลองตรุษเต๊ตเวียดนามที่จัดโดยวิทยาลัยอาชีวศึกษา Honam (Gwangju) “ในวันที่ 30 ส่งท้ายปีเก่ารับปีใหม่ เราก็ทำอาหารเพื่อรับประทานร่วมกันเหมือนในเวียดนาม มีการห่อแบ๊งจึง หมูหัน หมูยอ ปอเปี๊ยะทอดและเมนูอีกหลายอย่างที่จะมีในถาดอาหารวันตรุษเต๊ต จริงๆ เดี๋ยวนี้มีอาหารแบบสำเร็จรูปขายด้วย แต่เราอยากได้รสชาติแบบเวียดนามแท้ๆและอยากทำอาหารเพื่อให้ได้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเกิด”
สำหรับนาย Kim Joong Nung สามีของนางเหงวียนถิเวิน ที่เข้าร่วมรายการตรุษเต๊ตแห่งบ้านเกิดกับชุมชนชาวเวียดนามในสาธารณรัฐเกาหลีนั้นจิตวิญญาณของตรุษเต๊ตปีใหม่เวียดนามได้ซึมซับสู่ชุมชนชาวเกาหลีอย่างกว้างขวาง โดยเขาให้ลูกๆใส่ชุดอ๊าวหย่ายไปร่วมงานต่างๆเมื่อเมื่อตรุษเต๊ตเวียนมา“ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่เวียดนามหรือปีใหม่ที่เกาหลีทุกคนก็มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือมีอารมณ์รอเต๊ตอย่างใจจดใจจ่อและอยากสร้างบรรยากาศใหม่เริ่มต้นปีใหม่ โดยที่สาธารณรัฐเกาหลีสมาชิกในครอบครัวจะรวมตัวกันเพื่อทำอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษและรับประทานอาหารร่วมกัน ส่วนที่เวียดนามนอกจากการรับประทานอาหารแล้วก็ยังไปอวยพรญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงด้วย เลยรู้สึกเป็นกันเองมาก”
ขณะนี้ตรุษเต๊ตเวียดนามกำลังมีขึ้นในชุมชนชาวเวียดนามในหลายประเทศทั่วโลก โดยที่ประเทศสหรัฐ ในโอกาสฉลองตรุษเต๊ตได้มีการจัดกิจกรรมเดินแฟชั่นชุดอ๊าวหย่ายที่ชาวเวียดนามซึ่งกำลังอาศัยในฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐออกแบบทำเอง นี่เป็นงานที่จัดขึ้นแล้วหลายปีเพื่อสร้างความผูกพันในชมรมชาวเวียดนามและมุ่งสู่บ้านเกิด สำหรับพวกเขา การออกแบบและเดินแบบชุดอ๊าวหย่ายเวียดนามในงานต้อนรับตรุษเต๊ตก็ถือเป็นความสุขและความภูมิใจต่อรากเหง้าของตนเมื่อใช้ชีวิตในต่างแดน
-“เรารู้สึกปลึ้มปิติยินดีมากเมื่อใส่ชุดอ๊าวหย่ายเวียดนาม ซึ่งทำให้ภูมิใจมากที่เป็นสตรีเวียดนาม“
-“ทุกปีเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิผู้คนต่างก็มีความรู้สึกคิดถึงบ้านเกิดเป็นอย่างยิ่ง แม้เราจะอยู่ห่างไกล แต่การที่เราได้ใส่ชุดอ๊าวหย่ายเข้าร่วมงานวันตรุษเต๊ตก็รู้สึกคลายความคิดถึงบ้าน ฉันมักเลือกชุดอ๊าวหย่ายเพื่อใส่ไปงานต่างๆเพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อเห็นอ๊าวหย่ายก็รู้สึกบ้านเกิดอยู่ไม่ไกลนัก”
คุณ Kim Lienชาวเวียดนามโพ้นทะเลในจังหวัดอุดรธานีกับผู้สื่อข่าววิทยุเวียดนาม |
สำหรับชาวเวียดนามโพ้นทะเล ตรุษเต๊ตไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่ทุกคนกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตามประเพณีของตรุษเต๊ต ไปตลาดซื้อถาดผลไม้ 5 อย่างเพื่อบูชาบรรพบุรุษ ซื้อแบ๊งจึงและแบ๊งแต๊ดให้คลายความคิดถึงบ้านเกิดเท่านั้น หากยังเป็นโอกาสในการเผยแพร่วัฒนธรรมเวียดนามสู่ชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย คุณ Kim Lienชาวเวียดนามโพ้นทะเลในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชาวเวียดนามโพ้นทะเลกำลังอาศัยมากที่สุดในประเทศไทยได้เผยว่า“ปกติแล้วในวันใกล้ตรุษเต๊ต เรามักจะไปที่สุสานเพื่อจุดธูปรำลึกและขอให้ปู่ย่าตายายปกป้องลูก หลานในปีใหม่และเชิญกลับบ้านเพื่อร่วมเฉลิมฉลองตรุษเต๊ต อาหารที่เรามักจะทำในวันขึ้นปีใหม่ประเพณีนั้นมีแบ๊งจึง ปอเปี๊ยะทอด หมูยอ เป็นต้น โดยทำและลวกทั้งคืน พอถึงรุ่งเช้าก็สุกดี แล้วก็นำไปแจกจ่ายทั่วทุกบ้านเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษในวันตรุษเต๊ต คนไทยในชุมชนก็ชอบและเข้าร่วมกิจกรรมนี้กับเรา ในจังหวัดอุดรธานีชมรมชาวเวียดนามจะฉลองตรุษเต๊ตประมาณ 3-4 วัน โดยมีเส้นทางขายอาหารตรุษเต๊ตและคนขายก็เป็นผู้หญิงเวียดนามที่ใส่ชุดอ๊าวหย่าย คนไทยชอบอาหารเวียดนามหลายอย่าง เช่น ปอเปี๊ยะทอด เฝอ หมูยอ เป็นต้น”.
คุณเลียนบอกว่า การอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามเป็นเรื่องที่ชุมชนชาวเวียดนามในอุดรฯให้ความสำคัญซึ่งสะท้อนผ่านการส่งเสริมให้สตรีทุกคนใส่ชุดประจำชาติอ๊าวหย่าย “เมื่อมีเทศกาลอย่างเช่นตรุษเต๊ตหรืองานแต่งงาน ผู้หญิงเรามักจะใส่ชุดอ๊าวหย่าย โดยเฉพาะเมื่อไปสักการะที่อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ นอกจากนี้สมาคมชาวเวียดนามในจังหวัดอุดรธานียังพยายามรักษาภาษาเวียดนามและรักษาเอกลักษณ์ของชาติ รุ่นลูกของฉันพูดและฟังเวียดนามได้ประมาณร้อยละ 50 ส่วนหลานๆก็ฟังเพลงเวียดนามผ่านทางYoutube สองสามรอบก็ร้องได้ นอกจากนี้ ที่วัดแค้งอานในจังหวัดอุดรธานีได้มีชั้นเรียนสอนภาษาเวียดนามเพื่อช่วยให้คนรุ่นหลังรักษาภาษาเวียดนามและวัฒนธรรมเวียดนาม”
การปฏิบัติกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ทางจันทรคติตามประเพณีเวียดนามในวันนี้คือการส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชาวเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและสร้างความแข็งแกร่งภายในให้ประเทศชาติสามารถพัฒนา ขยายความเชื่อมโยงระหว่างเวียดนามกับมิตรประเทศเพื่อนำเวียดนามผสมผสานอย่างยั่งยืนในโลกปัจจุบัน. /.