ก่งเจียงในชีวิตวัฒนธรรมของชนเผ่าเหมื่อง

(VOVworld)-ก่งเจียงหรือฆ้องเป็นเครื่องดนตรีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในชีวิตชุมชนชาวเหมื่อง โดยปรากฎในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์แต่ละคนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงบั้นปลายชีวิต ดังนั้นชาวเหมื่องจึงถือว่าฆ้องเป็นสมบัติของทุกบ้านและต้องได้รับการอนุรักษ์สืบต่อกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า



(VOVworld)-ก่งเจียงหรือฆ้องเป็นเครื่องดนตรีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในชีวิตชุมชนชาวเหมื่อง โดยปรากฎในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์แต่ละคนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงบั้นปลายชีวิต ดังนั้นชาวเหมื่องจึงถือว่าฆ้องเป็นสมบัติของทุกบ้านและต้องได้รับการอนุรักษ์สืบต่อกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า
ก่งเจียงในชีวิตวัฒนธรรมของชนเผ่าเหมื่อง - ảnh 1
จุดที่แตกต่างระหว่างวัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่าเหมื่องเมื่อเทียบกับชาวเตยเงวียนคือผู้เล่นจะเป็นผู้หญิง

วัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่าเหมื่องเริ่มมาจากเกียรติประวัติอันเนิ่นนานและได้รับการยืนยันคุณค่าผ่านกระบวนการผลิตและการสร้างสรรค์ผลงานแห่งศิลปะที่สืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่โบราณ ชาวเหมื่องได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีชีวิตชีวาต่างๆที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมในชีวิตชุมชนผ่านลีลาการแสดงฆ้องที่ไพเราะ ฆ้องเหมื่องหนึ่งชุดจะมี12ใบแบ่งเป็น3ประเภทคือ ฆ้องหย่าม ฆ้องบ่งและฆ้องเตอเล ซึ่งจะใช้ในงานเทศกาลสำคัญ24งานเช่น งานฉลองบ้านใหม่ งานแต่งงาน  งานเเรกนาขวัญ เป็นต้น นอกจากนั้นฆ้อง12ใบยังเป็นสัญลักษณ์ของ12เดือนในปีและจุดที่แตกต่างระหว่างวัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่าเหมื่องเมื่อเทียบกับชาวเตยเงวียนคือผู้เล่นจะเป็นผู้หญิง นายบุ่ยชี้แทง นักวิจัยวัฒนรรมเหมื่องเผยว่า“ตั้งแต่ศตวรรษที่11 ดนตรีและการแสดงฆ้องของชนเผ่าเหมื่องเริ่มมีการพัฒนาและได้รับการเผยแพร่เข้าสู่ชีวิตอย่างกว้างขวางและกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าที่มีคุณค่าอย่างลึกซึ้ง

อ.เตินหลากที่อยู่ในเขตเขาของจังหวัดหว่าบิ่งเป็นท้องถิ่นที่ยังเก็บรักษาฆ้องได้มากที่สุดถึงหลายร้อยใบ โดยเฉพาะที่ต.ฟู้วิงห์ยังมีการเก็บรักษาฆ้องได้มากถึง400ใบ ซึ่งถึงแม้ชีวิตยังมีความลำบากในทุกด้านแต่ในหลายร้อยปีที่ผ่านมา ประชาชนต.ฟู้วิงห์ยังพยายามรักษาฆ้องเหมืองเป็นมรดกวัฒนธรรมประจำทุกบ้าน โดยจำนวนฆ้องในบ้านจะขึ้นอยู่กับฐานะครอบครัว แต่อย่างน้อยก็ต้องมีฆ้อง1ใบ แต่ก็มีกรณีพิเศษที่มีบางครอบครัวยังคงเก็บรักษาฆ้องได้ทั้งชุด12ใบดังเช่นครอบครัวของนาย บุ่ยวันเหนือม ซึ่งเขาเผยว่า เขาก็เหมือนกับชาวบ้านคนอื่นๆที่มีความรักและหลงไหลในวัฒนธรรมฆ้องของชนเผ่าจึงพยายามอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่อง โดยในบ้านฆ้องจะถูกแขวนในที่สูงและมักจะเป็นหัวข้อของการพบปะหารือของชาวบ้าน“ฆ้องเหมื่องมีมานานแล้ว ซึ่งสำหรับครอบครัวเราฆ้องชุดนี้ถือเป็นมรดกตกทอดจากคุณพ่อ โดยนอกจากอนุรักษ์ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไปแล้วเรายังนำฆ้องไปร่วมงานสำคัญต่างๆเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าด้วยดังนั้นจะให้เงินเท่าไหร่ก็ไม่ขาย

ชาวเหมื่องที่ต.ฟู้วิงห์ยังคงรักษาประเพณีอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทุกครอบครัวจะตีฆ้อง3ครั้งเพื่อเชิญดวงวิญญาณบรรพบุรุษกลับมาร่วมฉลองปีใหม่กับบุตรหลาน ถ้าหากไม่มีเสียงฆ้องก็ถือว่าไม่มีคำเชิญและแสดงว่าบุตรหลานบ้านนั้นไม่มีความกตัญญู ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ชาวบ้านฟู้วิงห์ไม่เคยขายฆ้องแม้ในบ้านจะมีหลายใบ นางบุ่ยทิแอ๊ง ชาวเหมื่องที่ต.ฟู้วิงห์เผยว่า“มีคนมาขอซื้อฆ้องในราคาแพงหลายครั้งแต่เราไม่ยอมขายฆ้อง แม้จะอดอยากยากจนแค่ไหนก็ไม่ขายเพราะจะไม่มีสิ่งใดมาทดแทนเสียงฆ้องในชีวิตวัฒนธรรมของเราได้

ในเวลาที่ผ่านมาทางการท้องถิ่นก็ได้ร่วมกับชาวบ้านส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาฆ้องเหมื่องผ่านการฟื้นฟูงานเทศกาลต่างๆเพื่อแนะนำให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศรู้จักฆ้องมากขึ้น เช่นในการเทศกาลเปิดฤดูร้อนได้มีการแสดงฆ้อง400ใบ โดยบรรเลงลีลาที่ไพเราะสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเหมื่องพร้อมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมของชนเผ่าที่ชาวเหมื่องได้พยายามอนุรักษ์มานับพันปี

สำหรับชาวชนเผ่าเหมื่องในจังหวัดหว่าบิ่งห์ ฆ้องถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่มีความหมายพิเศษที่จำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งจากคุณค่าทางศิลปะและความหมายของการแสดงฆ้องเหมื่อง ทางการจังหวัดหว่าบิ่งห์ได้ยื่นเสนอให้กระทรวงกีฬา วัฒนธรรมและท่องเที่ยวพิจารณารับรองบรรยากาศการแสดงฆ้องเหมื่องเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด