ความปราณีตในการทอผ้าลายพื้นเมือง วิธีการวัดความเป็นแม่ศรีเรือนที่ดีของเผ่าเอเด

(VOVWORLD) -ในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เอเด ในจังหวัดดั๊กลักเด็กผู้หญิงได้รับการอบรมบ่มสอนจากแม่และยายเกี่ยวกับวิธีการทอผ้าพื้นเมืองเพื่อทำผ้าห่ม เป้อุ้มแบบสลิงหรือเสื้อผ้าใช้เองและใช้เป็นของขวัญสำหรับครอบครัวของฝ่ายชายเมื่อหญิงสาวไป "จับ" คู่สามีของเธอตามประเพณีของชนเผ่าตน
ความปราณีตในการทอผ้าลายพื้นเมือง วิธีการวัดความเป็นแม่ศรีเรือนที่ดีของเผ่าเอเด - ảnh 1ผ้าลายพื้นเมืองจึงถือเป็นตัวชี้วัดความเป็นเเม่ศรีเรือนที่ดีของผู้หญิงเอเด และยังได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้กลายเป็นอาชีพในเชิงสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนอีกด้วย 

"ดิฉันทอผ้าเป็นตั้งแต่ตอนอายุ15 ปี จนถึงตอนนี้ก็เป็นย่าเป็นยายแล้ว หลานๆก็สามารถทอผ้าได้ดีได้สวย เราก็สอนให้คนอื่นๆรู้จักวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมจนหลายคนสามารถไปร่วมงานประกวดและได้รับรางวัลสูงๆด้านการทอผ้า ซึ่งพวกเขาก็จะช่วยสืบสานให้อาชีพนี้ได้พัฒนาต่อไป " นี่คือความคิดเห็นของช่างศิลป์ H’Blong Knul จากหมู่บ้าน จา ตำบล เออาตูล อำเภอ กรงบง โดยเธอได้ทุ่มเทใส่ใจกับการสอนเทคนิคการทอผ้าลายพื้นเมืองให้แก่ลูกสาวจนพวกเขาสามารถประกอบอาชีพนี้ได้อย่างเป็นมืออาชีพ คุณ  H’Giang Knul ลูกสาวของนาง H’Blong Knul เผยว่า ทั้งสามพี่น้องของเธอสามารถทอผ้าได้อย่างปราณีตสวยงามและหลากหลายรูปแบบ"ตอนแรกที่เริ่มเรียนก็ยากพอสมควรแต่เมื่อเราตั้งใจเรียนตั้งใจฝึกก็มีความคล่องเเคล่วและรู้จักเทคนิคต่างๆในการทอเพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ของชาวเอเด"

เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในที่ราบสูงเตยเงวียนทางตอนกลางของเวียดนาม ชาวเอเดก็ใช้ด้ายฝ้ายในการทอผ้า แต่สิ่งที่ทำให้เครื่องแต่งกายผ้าลายพื้นเมืองของเผ่าเอเดมีความโดดเด่นเฉพาะตัวคือลวดลายที่มีสีหลักคือสีดำ แดง เหลือง น้ำเงิน และขาว นาง H'Nun Byă จากหมู่บ้าน กือเอบง ตำบลเออากาว เมืองบวนมาถวด กล่าวว่า ในการลงสีให้เส้นด้าน หลังจากเก็บเกี่ยวฝ้ายจะตี ปั่นให้เป็นเส้นด้ายชาวบ้านก็นำไปย้อมด้วยโคลน ใบไม้ รากหรือเปลือกต้นไม้ป่าเพื่อได้สีต่างๆตามความต้องการ "ลายผ้าทั่วไปมักใช้สีขาว ดำ แดง และมีหลากหลายแบบ ตั้งแต่ลายที่ใช้ด้ายทอตั้งแต่15-17-27ถึง35เส้น ที่ยากที่สุดคือการทอลาย kngăm คือลวดลายที่เป็นภาพต่างๆ"

ความปราณีตในการทอผ้าลายพื้นเมือง วิธีการวัดความเป็นแม่ศรีเรือนที่ดีของเผ่าเอเด - ảnh 2ทุกวันนี้ผู้หญิงเอเดได้มีส่วนร่วมในการสร้างผ้าหลายประเภทที่เหมาะกับชีวิตยุคใหม่

ลวดลายบนผ้าของชาวเอเดมักสื่อถึงสิ่งของใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน รวมถึงสัตว์ต่างๆ เช่น นก เต่า จิ้งจก ต้นไม้ดอกไม้ป่าหรือพวกสิ่งของอุปกรณ์อย่างโม่สีข้าว  เป็นต้น ส่วนการจัดแต่งลวดลายก็จะมีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับเครื่องแต่งกายแต่ละประเภท เช่น ถ้าเสื้อของผู้ชายมักจะมีแถบผ้าสีแดงที่หน้าอกซึ่งเรียงเป็นรูปปีกนกอินทรี ส่วนลายที่ปรากฎตามลำตัวทั้ง 2 ข้าง และชายเสื้อมักใช้ลวดลายมังกรหรืออินทรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ในขณะที่ชุดของผู้หญิงเอเดจะเป็นกระโปรงที่ทำจากผ้าผืนใหญ่ที่มีลวดลายเรียบง่าย ส่วนชุดที่ใส่ในงานเทศกาลและงานรื่นเริงต่างก็จะมีการตกแต่งลวดลายพาดผ่านตัวกระโปรง ชายเสื้อ ปกเสื้อ และแขนเสื้อด้วยสีสันสดใสอย่างประณีตสวยงาม ช่างศิลป์ H’Yar Kbuôr จากหมู่บ้านกาลา ตำบล ดรายสาบ อำเภอกรงอานา เผยว่า ชาวเอเดมีเทคนิคในการทอที่เรียกว่า  kteh ซึ่งถือเป็นจุดสุดยอดของศิลปะการตกแต่งผ้า ลายพื้นเมือง เป็นเทคนิคการใช้ลวดลายที่มี2 สีคือแดงและขาว สร้างเป็นลายสวนสลับกันผสมผสานกับการประดับลูกปัดที่ร้อยเรียงชิดกับชายเสื้อหรือผ้าขาวม้าและกระโปรง "ชาวเอเดได้ใช้เทคนิคkteh ในการตัดชุดแต่งกายสำหรับงานเทศกาล งานบูชา และชุดของคนมีฐานะในชุมชน นี่เป็นเทคนิคที่ยาก ที่ใช่ว่าใครก็ทำได้และปัจจุบันมีไม่กี่คนที่สามารถทำเป็น"

จากลวดลายรูปแบบทั่วไปผู้หญิงเอเดแต่ละคนก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลวดลายใหม่เพื่อสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณ H'Yam Bkrong ในหมู่บ้าน ตองยู ตำบลเออากาว เมืองบวนมาถวด กล่าวว่าผ้าทอแต่ละผืนสะท้อนความรู้สึกในใจของผู้ทอเพราะการทำผลิตภัณฑ์ผ้าทอแบบดั้งเดิมนั้นต้องใช้ความทุ่มเท ความพิถีพิถันและใช้เวลานาน ดังนั้น ผ้าลายพื้นเมืองจึงถือเป็นตัวชี้วัดความเป็นเเม่ศรีเรือนที่ดีของผู้หญิงเอเด"การทอผ้าแต่ละผืนใช้เวลาเกือบปี มีหลายขั้นตอนมาก การตีฝ้ายให้ฟู การปั่นด้าย ย้อมเส้นด้าย เกี่ยวเข้ากี่ทอ เมื่อทอเสร็จแล้วก็เย็บเป็นเครื่องแต่งกาย จึงใช้เวลานาน"

เนื่องจากต้องใช้เวลานาน ต้องใช้ความพยายาม และทุ่มเทเป็นอย่างมากในการทอผ้า ดังนั้น ในอดีต ผ้าลายพื้นเมืองของชาวเอเดมักใช้ในครอบครัว ชุมชน หรือเป็นของขวัญเท่านั้น ปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของสังคม วัสดุที่ใช้ทอผ้าก็มีด้ายอุตสาหกรรม ช่วยให้การผสมผสานระหว่างลวดลายและสีสันของผ้าพื้นเมืองมีความหลากหลายและดึงดูดใจลูกค้ามากขึ้น ทุกวันนี้ผู้หญิงเอเดได้มีส่วนร่วมในการสร้างผ้าหลายประเภทที่เหมาะกับชีวิตยุคใหม่ ฟื้นฟูอาชีพของหมู่บ้านหลายแห่งซึ่งช่วยรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเอเดให้คงอยู่ต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด