ทีพีพี – โอกาสและความท้าทายสำหรับเวียดนาม

(VOVworld) - ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเศรษฐกิจแถบเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่การเจรจารอบสุดท้าย การที่เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงฉบันนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจมีการผสมผสานที่กว้างลึกมากขึ้น
(VOVworld) - ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเศรษฐกิจแถบเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่การเจรจารอบสุดท้าย การที่เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงฉบันนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจมีการผสมผสานที่กว้างลึกมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างความได้เปรียบมากมายให้แก่การลงทุนและการส่งออก แต่ในขณะเดียวกัน เวียดนามจะต้องเตรียมพร้อมเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ
ทีพีพี – โอกาสและความท้าทายสำหรับเวียดนาม - ảnh 1
หนึ่งในหน่วยงานที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดเมื่อเข้าร่วมทีพีพีคือหน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีจะเชื่อมโยงเศรษฐกิจสำคัญที่สุดระหว่างสองฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีประชากรรวมกันกว่า 792 ล้านคน มีส่วนร่วมร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ของโลกและคิดเป็น1ใน3มูลค่าการค้าของโลก จนถึงขณะนี้ มี 12 ประเทศได้เข้าร่วมการเจรจาซึ่งในนั้นมีเศรษฐกิจใหญ่ เช่น สหรัฐ แคนาดา เม็กซิโก ออสเตรเลีย ชิลีและล่าสุดนี้ก็มี ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมด้วยซึ่งได้มีส่วนร่วมยกระดับบทบาทสถานะของทีพีพีและถ้าหากได้รับการจัดตั้ง ทีพีพีจะกลายเป็นเขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบัน ทุกประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมทีพีพีได้เจรจาและบรรลุความเห็นพ้องในเนื้อหาหลักต่างๆ เช่น  ลิขสิทธิ์ทางปัญญา มาตรการด้านสุขอนามัย การกีดกันทางการค้า โทรคมนาคม การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การบริการและการลงทุน เป็นต้น โดยจุดเด่นที่สุดของทีพีพีคือ การแข่งขันอย่างเสมอภาคในกิจกรรมการค้าและการยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าอย่างสมบูรณ์
สำหรับเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่เข้าร่วมทีพีพี ข้อตกลงฉบับนี้จะสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้แก่การผลิต การประกอบธุรกิจ การค้าและการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ดร.หวอชี้แถ่ง รองหัวหน้าสถาบันบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางได้เผยว่า“ทีพีพีถือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่เวียดนามมีจุดแข็ง เช่น สิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งการบริการและการลงทุนต่างๆ ควบคู่กันนั้น เวียดนามยังได้รับเงื่อนไขที่อำนวยเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนและตลาดใหญ่ทั้งด้านแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เวียดนามพัฒนา นอกจากนั้น กระบวนการเข้าร่วมทีพีพียังมีหลายข้อที่สอดคล้องกับการปฏิรูปเและการปลี่ยนแปลงรูปแบบการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของเวียดนามซึ่งต้องการการเตรียมนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายหลังแนวชายแดนเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันให้เวียดนามปฏิบัติการปฏิรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของทีพีพี”
หนึ่งในหน่วยงานที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดเมื่อเข้าร่วมทีพีพีคือหน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปัจจุบัน สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปคือหน่วยงานเศรษฐกิจส่งออกหลักของเวียดนามโดยเมื่อปี 2012 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 1 หมื่น 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ  ปัจจุบัน สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเวียดนามร้อยละ 50 ได้ส่งออกไปยังสหรัฐ แต่ภาษีนำเข้าของตลาดนี้ยังอยู่ในระดับสูงคือประมาณร้อยละ 17.5 ดังนั้น ถ้าหากทีพีพีได้รับการลงนาม ภาษีที่บังคับใช้ต่อสินค้าชนิดนี้จะคิดเป็น 0% ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้หน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามขยายการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกมากขึ้น ประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจที่ทีพีพีนำมาไม่เพียงแต่ในด้านการนำเข้าส่งออกเท่านั้น หากยังรวมถึงโอกาสเพื่อดึงดูดการลงทุน ความสามารถในการประสานความเชื่อมโยงและการร่วมทุนระหว่างสถานประกอบการทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วยเพื่อดึงดูดแหล่งเงินลงทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตและการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาหน่วยงานอุตสาหกรรมการประกอบ
ในด้านระเบียบการ บรรยากาศการประกอบธุรกิจในกรอบทีพีพีจะมีความโปร่งใสมากกว่าซึ่งอาศัยบนหลักการแห่งความเสมอภาคระหว่างสถานประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชนและสถานประกอบการต่างประเทศ ดังนั้นทีพีพีจึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันและมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า จากการเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้ เวียดนามมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่คิดเป็นร้อยละ 70 ของยอดมูลค่าการส่งออกของเวียดนาม รวมทั้งยังมีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกของข้อตกลงทีพีพและสถานประกอบการนอกภูมิภาคซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค้าการผลิตและผลประโยชน์ที่ได้รับมากขึ้น

ทีพีพี – โอกาสและความท้าทายสำหรับเวียดนาม - ảnh 2
กุ้งคือหนึ่งในสินค้าที่เวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐมาำกที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม ทีพีพียังสร้างความท้าทายไม่น้อยซึ่งความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือ กระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางนิตินัย วิธีการปฏิบัตินโยบายกฎหมาย กลไกการบริหารที่เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศการประกอบธุรกิจและการแข่งขันที่เสมอภาค ประเด็นที่สองคือ การยกระดับจิตสำนึกและความรู้ขององค์การและสถานประกอบการในการเข้าถึงทีพีพีโดยสถานประกอบการต้องยอมรับแรงกดดันในการแข่งขันจากทีพีพีในสถานการณ์ใหม่ที่ไม่มีการกีดกันด้านภาษี นาง เหงียนทูจาง ผู้อำนวยการศูนย์ WTO สังกัดหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอได้แสดงความเห็นว่า“สถานประกอบการหลายแห่งมักจะมองเห็นเพียงด้านเดียวว่า ทีพีพีนำโอกาสที่ยิ่งใหญ่ด้านการส่งออกมาให้เมื่อภาษีพิเศษอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 แต่เพื่อให้ได้รับอัตราภาษีพิเศษดังกล่าวจะต้องตอบสนองเงื่อนไขมากมาย เช่น แหล่งที่มาของสินค้า ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและปัญหาเกี่ยวกับแหล่งวัตถุดิบซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานถ้าหากสถานประกอบการไม่มีการเตรียมพร้อมด้านทักษะความสามารถก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระเบียบการนี้ได้”
นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเจรจาข้อตกลงทีพีพีเมื่อเดือนตุลาคมปี 2010 จนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้เข้าร่วมการเจรจา 18 ครั้งและเป้าหมายสุดท้ายกำลังใกล้เข้ามา แต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนกับการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าฉบับอื่นๆ เวียดนามต้องมองให้เห็นถึงผลประโยชน์และความเสียเปรียบจากการเจรจา โดยเฉพาะเมื่อทีพีพีไม่มีระเบียบพิเศษใดๆสำหรับเศรษฐกิจที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน./.

 Tô Tuấn- VOV5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด