รักษาความมั่นคงด้านอาหารควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตร

(VOVworld) - ความมั่นคงด้านอาหารถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นอับดับต้นๆ โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ที่พื้นที่ปลูกข้าวนับวับลดลงเนื่องจากความต้องการด้าน การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาตัวเมืองและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นไปอย่างซับซ้อนได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตการเกษตร
(VOVworld) - ความมั่นคงด้านอาหารถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นอับดับต้นๆ โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ที่พื้นที่ปลูกข้าวนับวับลดลงเนื่องจากความต้องการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาตัวเมืองและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นไปอย่างซับซ้อนได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตการเกษตร ดังนั้น ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจคือ ต้องทำเช่นไรเพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารให้ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตการเกษตรและการส่งออกข้าวตามเป้าหมาย
รักษาความมั่นคงด้านอาหารควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตร - ảnh 1
ความมั่นคงด้านอาหารถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นอับดับต้นๆ

ภายหลังเกือบ 30 ปีปฏิบัตินโยบายเปลี่ยนแปลงใหม่ในการพัฒนาการเกษตรจากเดิมที่เคยเป็นประเทศขาดแคลนอาหาร เวียดนามได้พัฒนากลายเป็นประเทศส่งออกข้าวชั้นนำของโลก ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลักของหน่วยงานการเกษตรเวียดนามโดยในช่วงปี 1990-2010 มูลค่าการส่งออกข้าวได้อยู่อันดับหนึ่งในจำนวนสินค้าเกษตรที่ส่งออกโดยปริมาณการส่งออกเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4 ล้านตัน ในหลายปีมานี้ จากผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ทำให้การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของเวียดนามลดลง แต่การผลิตและการส่งออกสินค้าการเกษตรยังเป็นปัจจัยหลักเพื่อให้เศรษฐกิจเวียดนามฟันฝ่าระยะที่ลำบากต่างๆ ศาตราจารย์ หวอต่องซวน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรได้แสดงความเห็นว่าเวียดนามเริ่มส่งออกข้าวเมื่อปี 1989ซึ่งเปลี่ยนจากสถานะเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารกลายเป็นประเทศส่งออกข้าว ผลงานนี้มาจากการที่พวกเราได้ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผลิตคิดค้นพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นควบคู่กับการลงทุนของรัฐและการปรับปรุงระบบชลประทาน โดยเฉพาะพรรคและรัฐได้มีนโยบายที่เหมาะสมซึ่งได้ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตซึ่งไม่เพียงแต่สร้างฐานะให้แก่ครอบครัวเท่านั้น หากยังสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกได้อีกด้วย

รักษาความมั่นคงด้านอาหารควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตร - ảnh 2
การผลิตและการส่งออกสินค้าการเกษตรยังเป็นปัจจัยหลักเพื่อให้เศรษฐกิจเวียดนามฟันฝ่าระยะที่ลำบากต่างๆ

ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวชั้นนำในโลกและหลายประเทศในภูมิภาคกำลังเป็นคู่แข่งของเวียดนามโดยเมื่อปี 2012 เวียดนามส่งออกข้าวได้ 8.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปริมาณส่งออกอยู่ในระดับสูง แต่มูลค่าการส่งออกข้าวของเวียดนามกลับน้อยกว่าประเทศต่างๆในภูมิภาค เช่น ไทยและอินเดีย ในสภาวะการณ์ดังกล่าว รัฐสภาและรัฐบาลได้อนุมัติมติฉบับต่างๆโดยย้ำถึงมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาคการเกษตรตามแนวทางเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ประสิทธิภาพและค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารให้ยั่งยืนโดยมาตรการที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือการยกระดับประสิทธิภาพของการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าผลักดันการลงทุนใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพันธุ์ข้าวเพื่อยกระดับคุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่ส่งออกของเวียดนามในตลาด นอกจากนี้ ในระยะปัจจุบัน พื้นที่ดินเพื่อการผลิตเกษตรกำลังน้อยลงเนื่องจากกระบวนการพัฒนาตัวเมืองและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยตามการคาดการณ์ ทุกปี เวียดนามสูญเสียพื้นที่ปลูกข้าวประมาณร้อยละ 1 ดังนั้นเพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนและค้ำประกันการส่งออก ปัณหาเร่งด่วนคือ ควบคุมพื้นที่การเกษตรอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการวางผังพื้นที่ปลูกข้าว ดร. เหงียนวันหงาย ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้แสดงความเห็นว่าถ้าหากพวกเราปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้ามาเป็นพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นๆเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาเขตตัวเมืองต่อไป พื้นที่ปลูกข้าวจะลดลงอย่างแน่นอน ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้  พวกเราต้องแสวงหามาตรการเพิ่มผลผลิตข้าวและจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก
เพื่อค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหาร รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติโครงการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงด้านอาหารโดยตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 และปีต่อๆไป กองทุนที่ดินเพื่อปลูกข้าวจะอยู่ที่ 3.8 ล้านเฮกตาเพื่อให้ผลผลิตข้าวได้ประมาณ 41-43 ล้านตัน ตอบสนองความต้องการภายในประเทศและการส่งออกข้าวที่ 4 ล้านตันต่อปี ส่วนเป้าหมายถึงปี 2020 และวิสัยทัศน์จนถึงปี 2030 ภาคการเกษตรต้องค้ำประกันแหล่งจัดสรรค์อาหารอย่างเพียงพอ ค้ำประกันให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวมีกำไรเฉลี่ยกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ต้องตระหนักว่า การรักษาความมั่นคงด้านอาหารเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด