การเปลี่ยนแปลงใหม่บนผืนแผ่นดินแห่งการปฏิวัติเตี่ยนหาย
Hải Yến-VOV5 -  
(VOVworld) – อำเภอ เตี่ยนหาย จังหวัดท๊ายบิ่งคือผืนแผ่นดินที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเกียรติประวัติแห่งการ ปฏิวัติซึ่ง ณ ที่นี่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมปี 1930 เสียงกลองที่เรียกร้องให้เกษตรกรเตี่ยนหายพร้อมกับประชาชนทั่วประเทศเข้า ร่วมขบวนการต่อสู้โซเวียต-เหงะติ๋งก้องกังวาลทุกทีโดย“เสียงกลองเตี่ยนหาย” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อผลสำเร็จของการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี 1945 ปัจจุบัน เตี่ยนหายได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว
(VOVworld) – อำเภอ เตี่ยนหาย จังหวัดท๊ายบิ่งคือผืนแผ่นดินที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเกียรติประวัติแห่งการปฏิวัติซึ่ง ณ ที่นี่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมปี 1930 เสียงกลองที่เรียกร้องให้เกษตรกรเตี่ยนหายพร้อมกับประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมขบวนการต่อสู้โซเวียต-เหงะติ๋งก้องกังวาลทุกทีโดย“เสียงกลองเตี่ยนหาย” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อผลสำเร็จของการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี 1945 ปัจจุบัน เตี่ยนหายได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ศูนย์ว้ฒนเรรมอำเภอเตี่ยนหาย จังหวัดท๊ายบิ่ง
|
ตำบลโดงเลิม อำเภอเตี่ยนหาย จังหวัดท๊ายบิ่งเป็นกำเนิดของเสียงกลองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้แก่การเดินขบวนต่อสู้ของเกษตรกรท๊ายบิ่งในช่วงปี 1930 ซึ่งในช่วงนั้น ชาวบ้านทุกคนในเตี่ยนหายประกอบอาชีพเกษตรกรรม ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความฮึกเหิมของขบวนการโซเวียต เหงะติ๋งในทั่วประเทศ เมื่อเวลา 05.00 น.ของเช้าวันที่ 14 ตุลาคมปี 1930 ภายหลังเสียงพลุและเสียงกลองก็มีเสียงประกาศผ่านลำโพงดังไปทั่วหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพากันไปชุมนุมที่ศาลาประจำหมู่บ้านญอเลิมพร้อมตะโกนคำขวัญ “ไม่ปราบปรามเกษตรกรเหงะติ๋ง คืนเงินขุดลอกคูคลองแม่น้ำโก๊กยางและเปลี่ยนที่ดินทำนาส่วนตัวเป็นของส่วนรวม ลดการเก็บภาษี” ต่อจากนั้น เมื่อเดือนมิถุนายนปี 1942 เกษตรกรเหงะอานได้ลุกขึ้นสู้และชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ข้าหลวงใหญ่อินโดจีนแบ่งการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ถึงแม้อาชีพทำนาลำบากหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่เกษตรกรก็สามารถสร้างการชุมนุมแห่งประวัติศาสตร์และสร้างผลงานที่รุ่งโรจน์ให้แก่ชนชั้นเกษตรกรเวียดนาม ถึงแม้เวลาผ่านพ้นไป แต่ศาลาประจำหมู่บ้านญอเลิมยังคงเป็นพยานแห่งประวัติศาสตร์ที่รุ่งโรจน์ เป็นสถานที่อนุรักษ์และสืบสานเกียรติประวัติในยุคแห่งการต่อสู้ปฏิวัติ นี่ก็เป็นสถานที่ที่ผู้สูงอายุในหมู่บ้านให้การศึกษาลูกหลานส่งเสริมเกียรติประวัติแห่งการปฏิวัติและสร้างสรรค์ปิตุภูมิ นาย เจิ่นวันแทง หัวหน้าคณะกรรมการที่ปรึกษาการสร้างสรรค์หมู่บ้านวัฒนธรรมญอเลิมได้เผยว่า“พวกเราได้ส่งเสริมเกียรติประวัติแห่งการสร้างสรรค์หมู่บ้านวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 1998 และยังคงรักษารางวัลหมู่บ้านวัฒนธรรมระดับจังหวัดในตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน พวกเรามีสโมสรหลายแห่งเพื่อยกระดับความรู้ให้แก่ประชาชน 1คือที่ตำบลมีสโมสรแจ่วซึ่งมักจะได้รับรางวัลสูงเป็นประจำในการแข่งขันต่างๆ 2คือมีสโมสรวอลเลย์บอลซึ่งเป็นสโมสรหลักของตำบลและอำเภอซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน ปัจจุบัน พวกเรากำลังสร้างสรรค์บรรยากาศวัฒนธรรมและเขตโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ของตำบล”
ปัจจุบัน ผืนแผ่นแดนแห่งการปฏิวัติเตี่ยนหายคือหนึ่งในอำเภอที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดของจังหวัดท๊ายบิ่งและเป็นอำเภอแรกของจังหวัดที่มีสถานีอนามัยในทุกตำบล มีโรงเรียนได้มาตรฐานแห่งชาติ โฉมหน้าของอำเภอเตี่ยนหายได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากโดยมีถนนคอนกรีตหลายสายที่สะอาดสะอ้านและสวยงาม ระบบคลองชลประทานได้รับการก่อสร้างอย่างมั่นคง โครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุข วัฒนธรรมและการศึกษาได้รับการปรับปรุง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางที่ยั่งยืน เตี่ยนหายต้องผลักดันการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม ปรับเปลี่ยนเขตปลูกข้าวที่ไม่มีประสิทธิภาพมาเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ก่อสร้างและพัฒนาฟาร์มต่างๆกว่า 2 พันแห่งและหมู่บ้านศิลปาชีพที่ประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 27 แห่งซึ่งได้มีส่วนร่วมทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเตี่ยนหายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี อำเภอเตี่ยนหายก็เป็นท้องถิ่นนำหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดโดยมีสถานประกอบการ 300 แห่งที่ลงทุน สำรวจอุตสาหกรรมแก๊ซธรรมชาติและสินค้าสำคัญหลายชนิด นาย ฝ่ามเวียดกวน ที่ตำบลนามหาย อำเภอเตี่ยนหายได้เผยว่า“หลังจากได้เรียนอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ผมและภรรยาก็อยากต่อยอดสร้างฐานะในบ้านเกิด ถึงแม้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของผมจะเล็กแต่ก็สร้างงานให้ชาวบ้าน 15 คนโดยมีเงินเดือนประมาณ 2 ล้านด่งซึ่งเพียงพอต่อการใช้จ่ายดำรงชีวิต ผมรู้สึกดีใจเพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้ทุกคนมีงานทำเท่านั้น หากยังสร้างฐานะให้แก่หมู่บ้านอีกด้วย เมื่อก่อนบรรพบุรุษสามัคคีเพื่อต่อสู้ทำการปฏิวัติ ปัจจุบัน พวกเราก็สามัคคีเพื่อสร้างสรรค์ปิตุภูมิ”
เตี่ยนหายยังคงใช้จุดแข็งโดยเป็นอำเภอในเขตริมฝั่งทะเลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเป็นหลักโดยพรรคสาขาเตี่ยนหายปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล นาย เหงียนวันยาง รองเลขาธิการพรรคสาขาอำเภอเตี่ยนหายได้เผยว่า“สำหรับเศรษฐกิจทางทะเล พวกเราเน้นวางผังเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลี้ยงหอยตลับและส่งเสริมการใช้พันธุ์สัตว์ใหม่ๆที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในการเพาะเลี้ยง เช่นปลากระพง ปลาเก๋าและหอยตลับพันธุ์ ในเร็วๆนี้ พวกเราจะเน้นพัฒนาการท่องเที่ยวโก่นแหว่งและจะมีระเบียบการดึงดูดการลงทุน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือนที่นี่”
ก้าวกระโดดในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้แสดงให้เห็นถึงพลังชีวิตของผืนแผ่นดินในเขตริมฝั่งทางทะเลซึ่งแหล่งพลังนี้มาจากส่วนร่วมที่ยิ่งใหญ่ของชนรุ่นก่อนที่ได้สร้างเกียรติประวัติให้แก่ ปิตุภูมิ เป็นที่พึ่งที่ยั่งยืน สร้างพลังขับเคลื่อนและความตั้งใจให้แก่ลูกหลานออกสู่ทะเลและสร้างฐานะจากทะเล./.
Hải Yến-VOV5