ความหวังเกี่ยวกับการหาทางออกให้แก่วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
Anh Huyen- VOV5 -  
(VOVWORLD) -รัสเซียและยูเครนกำลังทำการเจรจารอบที่ 4 ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์หลังการเจรจาโดยตรง 3 รอบ ถึงแม้ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิงและการถอนกำลัง แต่การที่ทั้งสองฝ่ายยังคงธำรงการเจรจาและมีประกาศในเชิงบวกได้ตั้งความหวังเกี่ยวกับการหาทางออกให้แก่วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
ภาพถ่ายการเจรจาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม (Photo: Twitter ของนาย Mykhailo Podoliak ที่ปรึกษาของประธานาธิบดียูเครน) |
ก่อนการเจรจารอบใหม่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม นาย Mykhailo Podoliak ที่ปรึกษาของประธานาธิบดียูเครนได้เผยว่า เป้าหมายของการเจรจารอบนี้คือมุ่งบรรลุข้อตกลงหยุดยิง การถอนทหารและค้ำประกันความมั่นคงให้แก่ยูเครน แต่อย่างไรก็ดี ในประกาศล่าสุด ทั้งสองฝ่ายกำลังเร่งทำการหารือเพื่อชี้แจงปัญหาต่างๆ
นี่เป็นการเจรจารอบที่ 4 ระหว่างยูเครนกับรัสเซียนับตั้งแต่ที่รัสเซียปฏิบัติยุทธนาการทางทหารพิเศษในยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ก่อนหน้านั้น การเจรจาโดยตรง 3 รอบถูกจัดขึ้น ณ ประเทศเบลารุส และรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายก็ได้พบปะกันเมื่อวันที่ 10 มีนาคมเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขการปะทะ
สถานการณ์และจุดยืนของฝ่ายต่างๆ
ในการปะทะต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นหนึ่งในการปะทะที่ยากจะคาดการณ์ได้เนื่องจากมีข้อมูลที่สับสนและยากที่จะตรวจสอบความถูกต้องเพราะควบคู่กับการปะทะต่างๆ ทั้งรัสเซีย ยูเครน สหรัฐและฝ่ายตะวันตกต่างพยายามทำสงครามข่าวสาร อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับก็คือ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหายในหลายด้าน ดังนั้น ประชามติจึงมีความกังวลต่อการที่การเจรจาต่างๆที่ยังไม่สามารถบรรลุก้าวกระโดดใดๆ นอกจากความตกลงหยุดยิงเพื่อเปิดเส้นทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและอพยพชาวยูเครนเท่านั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อสังเกตว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทั้งกระบวนการและผลการเจรจา โดยหนึ่งคือ จุดยืนของทั้งรัสเซียและยูเครนยังคงมีความแตกต่างกัน โดยรัสเซียเผยว่า จะยุติยุทธนาการทางทหารนี้ถ้าหากยูเครนยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองว่าจะเป็นประเทศที่เป็นกลาง ไม่เข้าร่วมพันธมิตรใดๆและให้การรับรองว่าแหลมไครเมียร์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย รวมทั้งต้องให้การรับรองเอกราชของประเทศสาธารณรัฐโดเนสต์และลูฮันท์ที่จัดตั้งโดยกองกำลังที่เรียกร้องการแยกตัวเป็นอิสระในภาคตะวันออกยูเครน ส่วนยูเครนเห็นว่า นี่เป็นเงื่อนไขที่บังคับให้ยูเครนยอมแพ้ ยูเครนจะทำการเจรจาแต่ต้องไม่มีการตั้งเงื่อนไขล่วงหน้า ควบคู่กันนั้น ในแต่ละประเทศ แนวคิดของผู้นำและการสนับสนุนของประชาชนก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อจุดยืนของแต่ละฝ่าย ตามผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อเร็วๆนี้ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินได้รับการสนับสนุนร้อยละ 71 ส่วนประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนยูเครนร้อยละ 90 ในขณะเดียวกันสภาวการณ์ในภูมิภาคและโลก อิทธิพลของสหรัฐและฝ่ายตะวันตกก็ทำให้สถานการณ์การปะทะยากที่จะคลี่คลายลงได้
แต่อย่างไรก็ดี แม้จุดยืนของฝ่ายต่างๆยังแตกต่างกันแต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างได้รับความเสียหายในระดับที่แตกต่างกัน จึงมีความประสงค์ที่จะแก้ไขวิกฤตนี้ผ่านการเจรจาในทุกระดับ ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านการที่ทั้งสองฝ่ายยังคงธำรงการเจรจา
สารในเชิงบวก
แม้สถานการณ์การปะทะยังเป็นที่น่ากังวลแต่ในหลายวันที่ผ่านมา ก็มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า รัสเซียและยูเครนต้องการหลุดพ้นจากวิกฤต โดยในช่วงที่เริ่มปฏิบัติยุทธนาการทางทหารพิเศษในยูเครน ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินได้ประกาศว่า เป้าหมายหลักคือ “การปลอดลัทธิฟาสซิสต์ “การปลอดทหาร” แต่ในประกาศล่าสุด วังเครมลินได้ประกาศว่า ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ปูตินไม่สนใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางการกรุงเคียฟ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัสเซียอาจไม่ต้องการให้การปะทะยืดเยื้อไปอีกนาน
ส่วนทางฝ่ายยูเครนได้ส่งสัญญาณว่า พร้อมทำการสนทนากับรัสเซียเกี่ยวกับปัญหาที่อ่อนไหว แม้ประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ยืนยันว่า จะไม่ยอมแพ้ แต่ ทางการยูเครนพร้อมทำการเจรจากับรัสเซียเกี่ยวกับปัญหาไครเมีย เขตที่เรียกร้องการแยกตัวและพิจารณาการไม่เข้าเป็นสมาชิกของนาโต้ พร้อมทั้งประกาศว่า วิธีการเดียวเพื่อยุติการปะทะคือผู้นำสูงสุดของทั้งสองประเทศต้องทำการเจรจา
บรรดานักเคราะห์เห็นว่า จุดยืนของทั้งสองฝ่ายมีการเปลี่ยนแปลง ประชาคมโลกตั้งความหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะบรรลุมาตรการต่างๆผ่านการเจรจา เพื่อสนับสนุให้แก่การบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในเวลาที่จะถึง.
Anh Huyen- VOV5