ตะวันออกกลางยังไม่มีสันติภาพ
Huyen – VOV5 -  
( VOVworld )-ปี ๒๐๑๒ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่กระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางยังคงหาข้อยุติไม่ได้ โดยฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้พลาดโอกาสหลายครั้งเนื่องจากแต่ละฝ่ายเล็งเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ทั้งนี้ได้เป็นแรงต้านทานทำให้ล้อสันติภาพเดินไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน ความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศยังไม่มีความคืบหน้าใดๆและมาตรการเกี่ยวกับสองรัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติยังคงเดินอยู่บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามขวางกั้น
( VOVworld )-ปี ๒๐๑๒ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่กระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางยังคงหาข้อยุติไม่ได้ โดยฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้พลาดโอกาสหลายครั้งเนื่องจากแต่ละฝ่ายเล็งเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ทั้งนี้ได้เป็นแรงต้านทานทำให้ล้อสันติภาพเดินไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน ความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศยังไม่มีความคืบหน้าใดๆและมาตรการเกี่ยวกับสองรัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติยังคงเดินอยู่บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามขวางกั้น
|
การสู้รบระหว่างฮามาสกับอิสราเอล |
อาจกล่าวได้ว่า ปี๒๐๑๒ ที่ผ่านมา สถานการณ์ในตะวันออกกลางยังไม่มีอะไรที่คืบหน้า โดยปาเลสไตน์และอิสราเอลยังมีความขัดแย้งกันในปัญหาเขตตั้งหลักแหล่งอาศัยของชาวยิวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๐๐๘ ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์อยากให้อิสราเอลยุติการสร้างเขตที่อยู่อาศัยในดินแดนที่ยึดครองนั้น ทางฝ่ายนายเนธัน ยาฮู นายกฯอิสราเอลกลับเห็นว่า การเจรจาระหว่างสองฝ่ายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปราศจากเงื่อนไขล่วงหน้า ความหวังเดียวให้แก่สองฝ่ายคือ การเยือนตะวันออกกลางของนายปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นเวลาไม่กี่วันช่วงปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการเยือนภูมิภาคนี้ของผู้นำระดับสูงสุดของรัสเซียนับตั้งแต่ปี ๒๐๐๕ ในการพบปะกับผู้นำอิสราเอลและปาเลสไตน์ นายปูตินประธานาธิบดีรัสเซียซึ่งเป็นสมาชิกคนสำคัญของกลุ่ม ๔ ฝ่ายสามารถมองเห็นจุดขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมาในผืนดินตะวันออกกลางได้ โดยยืนยันว่า มอสโคว์พร้อมที่จะรับรองรัฐปาเลสไตน์ที่อิสระ พร้อมทั้งเรียกร้องอิสราเอลและปาเลสไตน์ให้รื้อฟื้นการเจรจา ซึ่งถือเป็นเส้นทางเดียวเพื่อแก้ไขความขัดแย้งและการปะทะระหว่างทั้งสองฝ่าย ผู้กุมบังเหียนวังเครมลินได้สนับสนุนทัศนคติที่มีความรับผิดชอบของนายมามุด อาบบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ อีกทั้งเตือนว่า ปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวก่อนที่จะหาข้อยุติเกี่ยวกับมาตรการสันติภาพล้วนส่งผลกระทบในทางลบ ต่อจากนั้นได้เกิดกระแสความหวังว่า บรรยากาศที่สงบจะกลับคืนมาในตะวันออกกลางหลังลมมรสุมที่รุนแรงเนื่องจากการมีส่วนร่วมของมอสโคว์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๕ ประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายคือปาเลสไตน์และอิสราเอลกลับมองข้ามโอกาสดังกล่าว ซึ่งสาเหตุมาจากความไม่ไว้วางใจกัน รวมถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของทางการเทล อาวีฟในการก่อสร้างเขตที่พักอาศัยในพื้นที่ทางทิศตะวันออกของกรุงเยรู ซาเลม ซึ่งปาเลสไตน์เคยประกาศหลายครั้งแล้ว่าจะก่อสร้างนครหลวงในพื้นที่นี้ การตัดสินใจดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลให้การเจรจาระหว่างสองฝ่ายถูกระงับลงเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบในทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิสราเอล อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ความหวังเกี่ยวกับการฟื้นฟูสันติภาพในตะวันออกกลางดับวูปลงนั้นคือ การสู้รบระหว่างขบวนการฮามาสกับอิสราเอลเป็นเวลา ๘ วัน ณ ฉนวนกาซ่าตั้งแต่วันที่ ๑๔ – ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ซึ่งทำให้ชาวปาเลสไตน์สียชีวิต ๑๕๘ คนและชาวอิสราเอลเสียชีวิต ๖ คน อย่างไรก็ดี ชาวปาเลสไตน์ได้เห็นลู่ทางแห่งความหวังอีกครั้งเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปี ๒๐๑๒ หลังจากที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปาเลสไตน์ให้มีสถานะรัฐผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิก ทั้งนี้เป็นการยืนยันบทบาทของปาเลสไตน์ในประชาคมระหว่างประเทศและเพิ่มพลังอันแข็งแกร่งให้แก่คณะผู้นำปาเลสไตน์ในการแสวงหาการสนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์
|
ชาวปาเลสไตน์แสดงความปลิ้มปิติเมื่อได้รับ
การรับรองให้มีสถานะรัฐผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิก |
นั่นคือเรื่องระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ส่วนสถานการณ์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่ถือเป็นแอ่งกระทะแห่งเปลวเพลิงนั้นก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆเช่นกัน โดยแรงสั่นสะเทือนจากการลุกฮือของขบวนการวสันต์อาหรับยังคงเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลของนายบาซาร์ อัล-อาสซาด ประธานาธิบดีซีเรีย กองกำลังฝ่ายต่อต้านและจากภายนอกนับวันยิ่งก่อแรงกดดันมากขึ้นจนทำให้สถานการณ์ในซีเรียนทวีรุนแรง โดยกองกำลังลุกฮือกำลังใช้บทละครเหมือนที่เคยใช้ในลิเบียเพื่อหวังเรียกความสนใจและการแทรกแซงจากภายนอก แต่ฐานะของซีเรียบนกระดานหมากการเมืองและภูมิศาสตร์ของภูมิภาคและโลก ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับโลกอาหรับ รวมทั้งการแทรกแซงอย่างไม่เต็มตัวของสหรัฐและฝ่ายตะวันตกล้วนเป็นปัจจัยส่งผลให้กระบวนการแสวงหาสันติภาพให้แก่ซีเรียเข้าสู่ทางตันและประเทศนี้กำลังตกเข้าสู่สงครามกลางเมืองอย่างนองเลือด ข้อมูลของสหประชาชาติระบุว่า ในแต่ละวันจะมีชาวซีเรีย ๓,๐๐๐ คนข้ามแดนเพื่ออพยพลี้ภัยและมีชาวซีเรียรวม ๗ แสนคนได้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน
ที่ประเทศอิหร่าน สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ปีที่ผ่านมา อิหร่านต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยากลำบากรวมทั้งถูกแรงกดดันอย่างหนักจากภายนอก การเจรจาเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเตหะรานประสบความชะงักงัน ซึ่งจากสถานการณ์แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาของอิหร่านได้เนื่องจากจุดยืนของแต่ละฝ่ายยังแตกต่างกันมาก อีกสาเหตุที่ทำให้การเจรจาเหล่านี้ประสบความล้มเหลวเพราะยังไม่เน้นเจรจาเฉพาะปัญหานิวเคลียร์เท่านั้น หากยังมีผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ โจทย์ของปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านในปี ๒๐๑๓ จึงยังคงเป็นหน้าที่อันหนักหน่วงของโลก
ปี ๒๐๑๒ ได้ผ่านพ้นไป แต่สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางยังไม่ประสบความคืบหน้าใดๆ ปัญหาเศรษฐกิจ การใช้ความรุนแรงและการปะทะอย่างนองเลือดที่เกิดขึ้นทุกวันทำให้ชาวตะวันออกกลางต้องอยู่ในความหวาดกลัวและอนาคตอันมืดมน ทั้งนี้ได้สร้างภาพทึบให้แก่ภูมิภาคนี้ในช่วงปีใหม่ในภาพรวมของโลก ./.
Huyen – VOV5