บทบาทของดีโอซีในการแก้ไขความตึงเครียดในทะเลตะวันออก

(VOVworld) – การประชุมระดับสูงอาเซียน – จีนครั้งที่ 12 ว่าด้วยการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่จะมีขึ้น ณ นครฮาลอง จังหวัดกว๋างนิงห์ ซึ่งอยู่ในกรอบการประชุมประจำระหว่างอาเซียนกับจีนเกี่ยวกับการปฏิบัติดีโอซีและมุ่งสู่การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว แต่ในสภาวการณ์ที่ยังไม่สามารถจัดทำซีโอซีได้ ดีโอซี ซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานทางนิตินัยที่อาเซียนกับจีนสามารถใช้เพื่อแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงในทะเลตะวันออก

(VOVworld) – การประชุมระดับสูงอาเซียน – จีนครั้งที่ 12 ว่าด้วยการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่จะมีขึ้น ณ นครฮาลอง จังหวัดกว๋างนิงห์ ซึ่งอยู่ในกรอบการประชุมประจำระหว่างอาเซียนกับจีนเกี่ยวกับการปฏิบัติดีโอซีและมุ่งสู่การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว แต่ในสภาวการณ์ที่ยังไม่สามารถจัดทำซีโอซีได้ ดีโอซี ซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานทางนิตินัยที่อาเซียนกับจีนสามารถใช้เพื่อแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงในทะเลตะวันออก

บทบาทของดีโอซีในการแก้ไขความตึงเครียดในทะเลตะวันออก - ảnh 1
ตัวแทนอาเซียนและจีนในการประชุม ณ ประเทศสิงคโปร์ (Photo AFP/ VNplus)

ดีโอซีได้รับการลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมปี 2002 โดยทุกฝ่ายได้เห็นพ้องกันว่า จะปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติสากลในการปฏิบัติและการแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธี ไม่ใช้หรือข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ให้ความเคารพต่อการเดินเรืออย่างเสรีและมีความอดกลั้นไม่ทำให้สถานการณ์ทวีความซับซ้อนมากขึ้น ทำการเจรจา ทาบทามความคิดเห็นและพยายามจัดทำซีโอซีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ดีโอซี ความพยายามร่วมกันของอาเซียนและจีน
อาจกล่าวยืนยันได้ว่า การลงนามในดีโอซีระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อปี 2002 เป็นผลงานแห่งความพยายามของทั้งสองฝ่าย เพราะนี่เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการฉบับแรกระหว่างอาเซียนกับจีนว่าด้วยปัญหาทะเลตะวันออก ดังนั้น การลงนามดังกล่าวถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญในการสนทนาเกี่ยวกับปัญหาทางทะเลระหว่างจีนกับอาเซียน
ผู้นำระดับสูงของทั้งอาเซียนและจีนต่างชื่นชมความหมายของดีโอซีและยืนยันหลายครั้งเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมุ่งสู่การจัดทำซีโอซีโดยเร็ว ซึ่งแถลงการณ์ร่วมระหว่างผู้บริหารประเทศและนายกรัฐมนตรีอาเซียนกับจีนว่าด้วยหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน – จีนที่ได้รับการอนุมัติ ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมปี 2003 ได้ยืนยันการปฏิบัติดีโอซีถือเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาตามกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างอาเซียนกับจีน ส่วนที่ประชุมสุดยอดอาเซียน – จีนครั้งที่ 13 ณ กรุงฮานอยเมื่อเดือนตุลาคมปี 2010 บรรดาผู้นำระดับสูงของอาเซียนและจีนก็ได้ยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับคำมั่นปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งสู่การจัดทำซีโอซีโดยเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อให้การปฏิบัติดีโอซีมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ นับตั้งแต่ปี 2011 อาเซียนและจีนได้อนุมัติหลักการแนะนำการปฏิบัติดีโอซี โดยทั้งสองฝ่ายได้ย้ำว่า การปฏิบัติดีโอซีไม่ใช่การปฏิบัติทั่วๆไป หากต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อกำหนดต่างๆ นั่นคือ ให้ความเคารพการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออกอย่างเสรีตามกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 แก้ไขการพิพาทอธิปไตยและดินแดนด้วยสันติวิธี ไม่ใช้หรือข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง แก้ไขการพิพาทโดยตรงผ่านการเจรจาและการสนทนามิตรภาพตามกฎหมายสากล ให้คำมั่นที่จะใช้ความอดกลั้นและไม่ทำให้สถานการณ์และปัญหาการพิพาททวีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

บทบาทของดีโอซีในการแก้ไขความตึงเครียดในทะเลตะวันออก - ảnh 2
นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียน (Photo: aseantourism)

ต้องเพิ่มคำมั่นทางการทูตและการเมือง
แม้อาเซียนและจีนได้เห็นพ้องกันเกี่ยวกับเนื้อหาหลักในดีโอซีแต่ยังคงมีช่องว่างระหว่างคำมั่นกับการปฏิบัติ นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนเผยว่า การปฏิบัติดีโอซียังไม่มีความคืบหน้า โดยอาเซียนต้องการความร่วมมือที่จริงจังจากฝ่ายจีนมากขึ้นและเพื่อให้การปฏิบัติดีโอซีมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ต้องเพิ่มคำมั่นทางการทูตและการเมืองระหว่างสองฝ่าย ควบคู่กันนั้น บรรดาประเทศอาเซียนต้องมีความพยายามและสามัคคีกันมากขึ้นเพื่อร่วมมือกับจีนแสวงหามาตรการแก้ไข ซึ่งในการสนทนาแชงกรีล่าที่มีขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆนี้ พลโทเงียนชี้หวิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนามได้แสดงความคิดเห็นว่า “ในฐานะเป็นประชาคม อาเซียนก็มีบทบาทสำคัญมาก แต่เสียงพูดของอาเซียนจะเกิดประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้หรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามัคคีและความเป็นเอกฉันท์ ถ้าหากไม่มีเสียงพูดเดียวกัน บทบาทของประชาคมก็ไร้ความหมาย”
หลังจากได้รวมเป็นประชาคมเดียวกัน ยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด อาเซียนต้องเพิ่มความสามัคคี ความเป็นเอกฉันท์และความร่วมมือเพื่อรักษาความไว้วางใจและการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในสภาวการณ์ที่ภูมิศาสตร์การเมืองมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในโลกไซเบอร์ ทางบก ทางทะเลและทางอากาศ พันเอกหวูเตี๊ยนจ่อง หัวหน้าสถาบันความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงกลาโหมเผยว่า “ปัจจุบันนี้ อาเซียนมีวิสัยทัศน์ การปฏิบัติและจุดยืนที่เป็นเอกฉันท์ในระดับค่อนข้างสูง แม้ยังมีความแตกต่างในด้านผลประโยชน์ของประเทศ แต่นี่ไม่ใช่ความท้าทายสำหรับอาเซียนและความสามัคคีของอาเซียน ผมคิดว่า แนวโน้มความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งสหรัฐและจีน การมุ่งสู่การจัดทำซีโอซีคือความปรารถนาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คืออาเซียนกับจีน รวมถึงประเทศที่เกี่ยวข้องอื่นๆ”
จากความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะสถานการณ์ในทะเลตะวันออกปัจจุบันทำให้อาเซียนต้องเร่งเสร็จสิ้นการเจรจาและลงนามซีโอซีกับจีนโดยเร็ว แต่ในช่วงที่ต้องรอนั้น ดีโอซียังคงเป็นหลักปฏิบัติเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความเคารพและปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์เพื่อรักษาบรรยากาศที่สันติภาพ เสถียรภาพและพัฒนาร่วมกัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด