ประเพณีการบูชาเจ้าที่ของชนเผ่าหนุ่ง

(VOVworld)- ประเพณีการบูชาโถกงหรือเจ้าที่เป็นหนึ่งในการประกอบกิจกรรมด้านความเลื่อมไสที่สำคัญของชนเผ่าหนุ่งเนื่องจากโถกงเป็นเทพดูแลพื้นที่ที่ทุกครอบครัวตั้งหลักอาศัย ดังนั้นเมื่อย้ายมาตั้งหลักอาศัยในที่ใหม่ สิ่งแรกที่ชาวบ้านต้องทำคือการตั้งศาลเจ้าบูชาเจ้าที่โถกง นอกจากนี้ประเพณีดังกล่าวยังมีความหมายถึงการสำนึกบุญคุณของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกที่ดิน


(VOVworld)- ประเพณีการบูชาโถกงหรือเจ้าที่เป็นหนึ่งในการประกอบกิจกรรมด้านความเลื่อมไสที่สำคัญของชนเผ่าหนุ่งเนื่องจากโถกงเป็นเทพดูแลพื้นที่ที่ทุกครอบครัวตั้งหลักอาศัย ดังนั้นเมื่อย้ายมาตั้งหลักอาศัยในที่ใหม่ สิ่งแรกที่ชาวบ้านต้องทำคือการตั้งศาลเจ้าบูชาเจ้าที่โถกง นอกจากนี้ประเพณีดังกล่าวยังมีความหมายถึงการสำนึกบุญคุณของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกที่ดิน

ประเพณีการบูชาเจ้าที่ของชนเผ่าหนุ่ง - ảnh 1
ถาดเซ่นไหว้เจ้าที่โถกงของชาวหนุ่ง(Photo internet)

ศาลเจ้าของโถกงมักถูกตั้งขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านตัดสินใจเลือกพื้นที่สร้างหมู่บ้าน โดยจะต้องตั้งในส่วนที่มีทำเลดีและหมอผีได้ทำพิธีเซ่นไหว้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบไม่ค่อยมีคนไปมาตรงหน้าหมู่บ้านหรือท้ายหมู่บ้าน  ขนาดของศาลเจ้าจะโดยชาวบ้านเลือกเองและสร้างด้วยไม้และนี่ก็เป็นศาสนสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน นาย เวืองวันเยือง ชาวอ.กาวหลกจังหวัดหลางเซินเผยว่า“ชนเผ่าหนุ่งให้ความสำคัญต่อพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เป็นอย่างมาก ดังนั้นแม้จะอยู่ที่ไหนก็ต้องมีการตั้งศาลเจ้าเพื่อบูชา ซึ่งนอกจากเป็นกิจกรรมด้านความเลื่อมไสแล้ว การจัดงาน ณ ศาลเจ้าโถกงก็เป็นโอกาสให้ทุกคนได้พบปะสังสรรค์กันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชีวิตด้วย”

ชุมชนชนเผ่าหนุ่งในบางท้องถิ่นยังเชื่อว่า ศาลเจ้ายิ่งเรียบง่ายก็ยิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในสมัยก่อนมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถไปประกอบศาสนกิจที่ศาลเจ้าโถกงได้แต่ปัจจุบันกฎระเบียบนี้ได้รับการขยายกว้างขึ้นเมื่ออนุญาตให้สตรีเข้าร่วมด้วย ในส่วนที่ตั้งศาลเจ้าได้รับการปกป้องดูแลอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันห้ามไม่ให้คนมาตัดฟืน ปลูกต้นไม้หรือทำการผลิตในบริเวณศาลเจ้าโถกง

สำหรับพิธีใหญ่ในการเซ่นไหว้เจ้าที่โถกงได้มีขึ้นในวันตรุษเต๊ตที่2ตามประเพณี โดยแต่ละตระกูลจะนำของเซ่นไหว้มาทำพิธีตามลำดับ คือจะเริ่มด้วยตระกูลใหญ่หรือได้รับความเคารพนับถือในชุมชน ส่วนเครื่องเซ่นไหว้จะต้องมีไก่ตอน ขนมข้าวต้มมัดใหญ่1คู่ ขนมขาว เหล้า ข้าวสารเหนียว นอกนั้นก็แล้วแต่สถานะเพื่อจัดสิ่งของอื่นๆเพิ่มเติม ในบางท้องถิ่นยังถือการจัดถาดเซ่นไหว้เป็นการประกวดเพื่อดูว่าตระกูลไหนทำมาค้าขึ้นในปีนั้นๆ โดยเฉพาะดูจากไก่ตอนต้มถ้ามีความอ้วนท้วนสวยงามก็ถือว่าโชคดี นอกจากวันเซ่นไหว้ใหญ่ในช่วงตรุษเต๊ตประเพณีแล้วชาวหนุ่งยังจัดพิธีเซ่นไหว้โถกงในงานแทงมิงห์วันที่2เดือนสามจันทรคติและงาน ดวานเหงาะวันที่5เดือน5จันทรคติ หรือในงานบุญข้าวใหม่วันที่10เดือน10แต่พิธีกรรมก็มีความแตกต่างกันในบางอย่าง นายหลกคาง นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองในจังหวัดหลางเซินเผยว่า“ศาลเจ้าโถกงและบริเวณโดยรอบถือเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งชุมชน ดังนั้นทุกครอบครัวต่างให้ความเคารพนับถือ เมื่อมีงานสำคัญต่างๆเช่นสร้างบ้าน แต่งงานหรือมีคนเสียชีวิตก็จะนำสิ่งของมาเซ่นไหว้รายงานขออนุญาตเจ้าที่”

หลังจากเสร็จพิธีกรรมต่างๆ ทุกคนจะร่วมดื่มเหล้าที่เซ่นไหว้และอวยพรให้แก่กัน ส่วนไก่ ขนมข้าวต้มมัดใหญ่และข้าวเหนียวจะนำกลับบ้าน ในระหว่างการเดินทางกลับบ้านจะนำข้าวเหนียวสีเหลืองที่เซ่นไหว้นั้นโปรยให้ไก่ให้หมูกินด้วยความเชื่อว่าปีใหม่นี้ไก่หมูจะเต็มคอก ปัจจุบัน แม้ชุมชนเผ่าหนุ่งในบางท้องถิ่นได้พัฒนาตามกระแสสังคมที่ทันสมัยแต่พิธีเซ่นไหว้เจ้าที่โถกงยังคงได้รับการปฏิบัติต่อไปโดยไม่เพียงแต่เป็นกิจกรรมทางจิตวิญญาณเท่านั้นหากยังช่วยเสริมสร้างความสามัคคีและความผูกพันระหว่างคนในชุมชนให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด