รักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนเผ่าม้งในเขตเขาสูงหมู่กังฉายจังหวัดเอียนบ๊าย

(VOVWORLD) -อำเภอหมู่กังฉาย จังหวัดเอียนบ๊ายมีประชากรร้อยละ95เป็นชนเผ่าม้ง โดยมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างๆที่ชาวบ้านยังคงรักษาจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นการช่วยเสริมสร้างความหลากหลายในวิถีชีวิตทางจิตใจของพี่น้องประชาชนรวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาสร้างสรรค์ท้องถิ่นให้เจริญสวยงามยิ่งขึ้น
รักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนเผ่าม้งในเขตเขาสูงหมู่กังฉายจังหวัดเอียนบ๊าย - ảnh 1สโมสรแคนม้งที่ลาวฉาย
 
 

แคนม้ง เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ชาวม้งในหมู่กังฉายได้สืบทอดและอนุรักษ์มาหลายชั่วคน โดยตามหมู่บ้านต่างๆเยาวชนได้เดินหน้าจัดตั้งสโมสรศิลปะการฟ้อนแคน โดยที่ตำบลลาวจ๋ายมีการตั้งสโมสรแคนม้งที่เริ่มแรกมีสมาชิก12คนและนับวันดึงดูดเยาวชนจากหมู่บ้านอื่นๆในพื้นที่เข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องศิลปะการเป่าแคนและฝึกซ้อมการฟ้อนแคนอย่างสนุกสนาน นอกจากนั้นยังมีการเชิญศิลปินแคนอาวุโสมาช่วยแนะนำสอนการเป่าแคนทำนองพื้นเมืองด้วย นายเลออาทง ชาวบ้าน แซวยีโห่อา เผยว่า "ผมเห็นเยาวชนหลายคนไม่สนใจเรื่องการฝึกเป่าแคนจึงตั้งสโมสรนี้ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอนุรักษ์ศิลปะการรำแคนดั้งเดิมเพราะมันอาจจะเลืองลางหายไปถ้าเราไม่ตั้งใจรักษาไว้ "

ตามความเชื่อของชาวม้ง เสียงแคนเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการยืนยันถึงความยืนยงคงอยู่และการพัฒนาที่มั่นคงถาวรของชุมชนเผ่าม้งรุ่นต่างๆ เป็นเสียงส่งดวงวิญญาณไปสู่โลกของบรรพชนและเป็นดนตรีสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงในงานเทศกาลต่างๆ  ซึ่งเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในท้องถิ่น ทางการอำเภอ หมู่กังฉายได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมชนเผ่าในโรงเรียนต่างๆ เช่นที่โรงเรียนชนเผ่าตำบล โมเย้ ได้มีการเปิดคอสเรียนฟ้อนแคนและเป่าขลุ่ย รวมทั้งการทอผ้าพื้นเมืองให้แก่นักเรียน เด็กชาย อย่างอาซัว นักเรียนม.2 เผยว่า   "ผมเห็นว่า การเข้าร่วมชั้นเรียนแบบนี้มีประโยชน์มาก ช่วยให้เราเข้าใจวัฒนธรรมของชนเผ่าตนอย่างลึกซึ้งและจุดประกายความรักศิลปะพื้นเมืองในหมู่นักเรียน ซึ่งจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมของชนเผ่าเราให้คงอยู่มั่นคงต่อไป"

รักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนเผ่าม้งในเขตเขาสูงหมู่กังฉายจังหวัดเอียนบ๊าย - ảnh 2การนำศิลปะฟ้อนแคนเผยแพร่ในโรงเรียน

คุณครูฝามมิงห์หยุง ผู้อำนวยการโรงเรียนชนเผ่าตำบล โมเย้ เผยว่า ไม่เพียงแต่มีนักเรียนเท่านั้นที่สนใจ หากบรรดาครูสอนก็ให้ความใส่ใจทุ่มเทในการดำเนินโครงการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมชนเผ่า "ในยุคเทคโนโลยี 4.0 ปัจจุบัน คนหนุ่มสาวและนักเรียนจำนวนมากให้ความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติตน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนทักษะมีความรู้ทางด้านศิลปะวัฒนธรรมพื้นเมือง ทางโรงเรียนได้จัดทำแผนการรักษาและส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติเพื่อให้ดำเนินการในทุกชั้นเรียน"

เพื่อให้โครงการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมชนเผ่าในโรงเรียนเกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง ทางโรงเรียนชนเผ่าสาขา ตำบลเจ๊กูยา ได้เชิญบรรดาผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการอาสามาเป็นครูสอนเทคนิกการวาดภาพด้วยขี้ผึ้งบนผ้าและการทอผ้าลายพื้นเมืองให้แก่นักเรียน

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมชนเผ่าในโรงเรียน หรือจากการตั้งสโมสรศิลปะพื้นบ้านของคนรุ่นใหม่ได้เป็นมาตรการที่มีความหมายอย่างจริงจัง ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนชนกลุ่มน้อยตระหนักได้ดีและมีความรับผิดชอบในการร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมือง ร่วมกันสร้างสรรค์บ้านเกิดให้เจริญสวยงามและวิถีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด