เครื่องดนตรี Ngu Am คุณค่าแห่งศิลปะของชนเผ่าเขมร
Lan Anh/VOV5 -  
(VOVworld)- ควบคู่กับการบุกเบิกพื้นที่เพื่อตั้งหลักอาศัยในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ชุมชนชนเผ่าเขมรยังได้สืบต่อวัฒนธรรมอังกอร์และอารยธรรมข้าวนาดำพร้อมวิถีชีวิตแบบชุมชนชนเผ่าฮัวหรือจามในภาคใต้จนสร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะที่โดดเด่น ที่น่าสนใจคือคลังวัฒนธรรมศิลปะด้านดนตรีโดยเฉพาะชุดเครื่องดนตรี หงูเอิม (Ngu Am)
(VOVworld)- ควบคู่กับการบุกเบิกพื้นที่เพื่อตั้งหลักอาศัยในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ชุมชนชนเผ่าเขมรยังได้สืบต่อวัฒนธรรมอังกอร์และอารยธรรมข้าวนาดำพร้อมวิถีชีวิตแบบชุมชนชนเผ่าฮัวหรือจามในภาคใต้จนสร้างเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะที่โดดเด่น ที่น่าสนใจคือคลังวัฒนธรรมศิลปะด้านดนตรีโดยเฉพาะชุดเครื่องดนตรี หงูเอิม (Ngu Am)
ทุกชุมชนต่างมีวงดนตรีหงูเอิมเพื่อแสดงในงานสำคัญต่างๆ(Photo internet)
|
เครื่องดนตรีหงูเอิม (Ngu Am)ในภาษาเขมรเรียกว่า เปลง ปินเปี๊ยด เป็นวงดนตรีพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเขมรในภาคใต้เวียดนาม โดยมักจะใช้ในงานสำคัญๆตามวัดต่างๆ ซึ่งเรียกว่า หงูเอิมหรือห้าเสียง เพราะประกอบด้วยเครื่องดนตรี5ประเภทได้แก่เครื่องเหล็ก เครื่องทองแดง เครื่องเป่าและเครื่องหนัง ดนตรีหงูเอิมเปรียบเสมือนเป็นเสียงหัวใจของชาวบ้านที่มีต่อเทพเจ้า ธรรมชาติและมนุษย์ ดังนั้นวัดเกือบทุกแห่งต่างมีวงดนตรีหงูเอิมประจำอยู่และปัจจุบันการแสดงก็มีการขยายขอบเขตให้เป็นไปตามความต้องการของชาวบ้าน นายลี้แยง ที่จ.ซอกจังเผยว่า “เมื่อชีวิตของชาวบ้านดีขึ้นก็มีการซื้อเครื่องดนตรีชุดหงูเอิมมาใช้และให้บริการในงานต่างๆอย่างกว้างขวางตามชุมชน เราได้ตั้งสโมสรดนตรีหงูเอิมประจำทุกวัดและยังเปิดสอนให้แก่เยาวชนที่สนใจด้วย ซึ่งการเรียนและฝึกดนตรีนี้ยากมากถ้าไม่รักไม่สนใจเรียนเท่าไหร่ก็เล่นไม่เป็น”
การควบคุมจังหวะของเครื่องดนตรีหงูเอิมขึ้นอยู่กับการตีฉิ่งฉาบ ส่วน โรเนียต-เอค เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ควบคุมโทนเสียงของวงดนตรี ดังนั้นในวงดนตรีหงูเอิมไม่อาดขาดพิณคู่เรียกว่า โรเนียดเอค และโรเนียดทุง กวงต๊วดและกวงโทม พร้อมกลองสองใบทั้งเล็กและใหญ่ ความแตกต่างที่สร้างจุดเด่นให้แก่วงดนตรีหงูเอิมเมื่อเทียบกับดนตรีของชนเผ่าอื่นๆคือนอกจากมีความรู้เรื่องดนตรีและลีลาเพลงของชนเผ่าเขมรแล้ว ผู้เล่นดนตรียังต้องเข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างลึกซึ้งเพื่อที่จะสามารถบรรเลงลีลาเพลงได้อย่างไพเราะสุดซึ้งกินใจแบบมืออาชีพ ช่างศิลป์ ลี้ฟาต จากนครซอกจัง ซึ่งเป็นหนึ่งในช่างศิลป์น้อยคนที่สามารถทำเครื่องดนตรีในวงหงูเอิมได้เผยว่า “ผมทำเครื่องดนตรีวงหงูเอิมเป็นตอนอายุ15ปี ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า20ปีแล้ว ตอนแรกก็เจออุปสรรคและไม่สำเร็จหลายครั้งแต่ก็พยายามฝึกจนสำเร็จ เราต้องเล่นดนตรีเหล่านี้ได้ถึงจะทำได้”
วงดนตรีหงูเอิมรุ่นใหม่(Photo internet)
|
ปัจจุบันตามวัดต่างๆในชุมชนชนเผ่าเขมร นอกจากมีการตั้งสโมสรดนตรีหงูเอิมแล้วยังมีการเปิดสอนดนตรีหงูเอิมให้แก่เด็กเพื่อให้ชนรุ่นหลังรู้จักและพัฒนาประเพณีวัฒนธรรมที่มีค่านี้ต่อไป เด็กชาย เลิมเกวียดทั้ง ซึ่งกำลังฝึกเรียนดนตรีหงูเอิมที่วัดเยยหรือวัดค้าวคาวในจังหวัดซอกจังเผยว่า “ผมมาเรียนได้สามปีแล้ว ซึ่งตอนแรกเมื่อไปร่วมงานที่วัดก็เห็นวงดนตรีหงูเอิมเล่นอยู่เลยสนใจขอฝึกเรียน ช่วงเรียนใหม่ๆยากมากแต่ผมก็ใช้ความพยายามจนมาถึงทุกวันนี้ก็รู้สึกไม่ยากแล้ว มือก็คล่องกับการเล่นดนตรีหลายประเภท”
ดนตรีหงูเอิมถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าและเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นในชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนชนเผ่าเขมรในภาคใต้เวียดนาม โดยบทบาทที่สำคัญของดนตรีในชีวิตสังคมได้สะท้อนให้เห็นจากคำที่ชาวบ้านพูดกันติดปากว่า “เด็กชนเผ่าเขมรรู้จักร้องรำทำเพลงก่อนที่จะรู้จักกับการอ่านและเขียนหนังสือ”.
Lan Anh/VOV5