เอกลักษณ์วัฒนธรรมในประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าจามตามหลักศาสนาอิสลาม

(VOVWORLD) -จังหวัดอานยางมีประเพณีและพิธีกรรมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์หลายงาน โดยหนึ่งในงานที่ถือว่ามีความโดดเด่นคือประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าจามที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีมานานแล้วและยังคงได้รับการรักษาความเป็นเอกลักษณ์อย่างสมบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้.
 
เอกลักษณ์วัฒนธรรมในประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าจามตามหลักศาสนาอิสลาม - ảnh 1ชาวบ้านมาร่วมแสดงความยินดีและหารือการช่วยเตรียมงานแต่งงาน          (Kim Cương)

โดยทั่วไปแล้วงานแต่งงานของชนเผ่าจามอิสลามมักจะจัดขึ้นเป็นเวลา3วัน ซึ่งวันแรกเรียกว่างานชุมนุมเครือญาติ-ทำขนมที่ใช้ในงานแต่ง โดยมี3ประเภทคือ ขนม ha bum ขนม tapaikagah ขนม gti kling และข้าวคลุกกะหรี่ วันที่สองเรียกว่าวันขึ้นโต้ะ โดยครอบครัวของทั้งสองฝ่ายชาวหญิงจะจัดพิธีสวดสวดมนต์ในครอบครัวของแต่ละฝ่าย ซึ่จะมีการอ่านบทสวดมนต์ขอพรให้เจ้าสาวและเจ้าบ่าวใช้ชีวิตอย่างสงบสุข ต่อจากนั้นจะเชิญชาวบ้านมากินเลี้ยงงานแต่งงาน  ส่วนวันที่สามเป็นวันที่ "ส่งเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว" โดยครอบครัวเจ้าบ่าวจะจัดขบวนส่งเจ้าบ่าวไปที่บ้านเจ้าสาว 

คุณ Ri Xơ Lá ชาวจามอิสลามในจังหวัดอานยางเผยว่า เมื่อไกล้ถึงวันแต่งงาน ทางบ้านเจ้าบ่าวจะนำถาดผลไม้และของใช้ที่จำเป็นในชีวิตสำหรับเจ้าสาว เช่น ผ้าซิ่น ผ้าโพกศีรษะ เข็มเย็บและด้าย เป็นต้น ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้าชุดแต่งงานมาให้เจ้าสาวสวมใส่ในงานแต่งงานและซองใส่เงินที่เรียกว่า "ค่าอาหาร" เพื่อใช้สำหรับเตรียมงานเลี้ยง    ในสองสามวันต่อมา ถ้าครอบครัวของเจ้าสาวอนุมัติการจัดงานแต่งงานก็จะมีการ "ตอบแทน" ครอบครัวของเจ้าบ่าวด้วยขนมถาดหนึ่ง "ตราบใดที่ครอบครัวเจ้าสาวยอมรับสิ่งของจากครอบครัวเจ้าบ่าว พวกเขาก็เชิญพ่อสื่อแม่สื่อนำเงินทองมาให้ โดยจำนวนเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวเจ้าบ่าว ถ้ามีฐานะร่ำรวยก็จะให้มาก ถ้าไม่มีก็ให้น้อย" 

ก่อนจะยกขบวนส่งเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว ครอบครัวเจ้าบ่าวจะต้องไปที่สุเหร่าเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาก่อนโดยจะอวยพรให้ทั้งคู่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ในพิธีแต่งงานของชาวจามอิสลาม พิธีกรรมที่สำคัญที่สุดคือ Ijab & Kabul ความหมายคือพิธีส่งมอบ ปกติพิธีนี้จะจัดขึ้นที่บ้านเจ้าสาวหรือที่สุเหร่า โดยจุดประสงค์ของพิธีนี้คือเพื่อให้พ่อของเจ้าสาวมอบหน้าที่ให้เจ้าบ่าวต้องปกป้องดูแลลูกสาวของเขาให้ชีวิตเต็มเปี่ยมความสุข 
ในพิธีแต่งงาน เจ้าสาวจะสวมชุดกำมะหยี่ยาวถึงเข่าและผ้าคลุมลูกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ประดับด้วยเครื่องประดับหลายชนิด เช่น  กำไลทองที่คอและข้อมือ หรือสร้อยแหวนทองเป็นต้น ส่วนเจ้าบ่าวในรูปโฉมของสุภาพบุรุษด้วยชุดเสื้อยาวสีขาวตามแบบศาสนาอิสลามและมีผ้าโพกศีรษะ  sà pạnh ที่ใช้ในงานสำคัญของชาวจาม โดยหนึ่งในพิธีกรรมที่สำคัญในงานแต่งงานของชาวจามมุสลิมคือการเก็บเหรียญกษาปณ์ในห้องหอหลังอาหารค่ำ ซึ่งจะมีการใส่เหรียญเงิน 10 เหรียญลงในกะละมังเต็มน้ำ คู่บ่าวสาวจะต้องใช้มือหยิบเหรียญเงินเหล่านี้พร้อมๆกัน หากใครสามารถหยิบเหรียญเงินได้มากที่สุดก็หมายความว่าคนนั้นจะเป็นผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจในชีวิตครอบครัวในอนาคต
เอกลักษณ์วัฒนธรรมในประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าจามตามหลักศาสนาอิสลาม - ảnh 2ขบวนของครอบครัวเจ้าบ่าวไปที่สุเหร่าเพื่อจัดพิธีแต่งงาน(Kim Cương)

วันแต่งงานของคู่รักก็เป็นวันที่มีความสุขของคนในหมู่บ้านเพราะเพื่อนบ้านจะมาช่วยเตรียมงานให้แก่ครอบครัวของทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเพื่อทำให้งานแต่งงานประสบความสำเร็จ ในพิธีส่งเจ้าบ่าวจะมีคณะผู้แทนครอบครัวเจ้าบ่าวร่วมเดินทางไปบ้านเจ้าสาวด้วย ส่วนผู้ที่ได้รับความนับถือในหมู่บ้านจะถือผ้าและจับมือพาเจ้าบ่าวเข้าไปในบ้านเจ้าสาวท่ามกลางเสียงบรรเลงกลองขลุ่ยอย่างครึกครื้น คุณ ซาทีนา ชาวจามมุสลิม ในจังหวัด อานยางกล่าวว่า"ในวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะแต่งตัวสุดหล่อเหมือนเจ้าชายเพื่อไปรับเจ้าสาวที่บ้าน เมื่อก่อนเจ้าบ่าวขี่รถสามล้อ แต่ตอนนี้เจ้าบ่าวนั่งรถยนต์ไป"  

หลังงานแต่งเสร็จสิ้นลง เจ้าบ่าวจะอยู่ที่บ้านภรรยา3คืน ต่อจากนั้นสองฝ่ายก็มีการปรึกษาหารือกันเพื่อตัดสินใจว่าเจ้าบ่าวจะอยู่ต่อหรือจะพาเจ้าสาวกลับไปบ้านของตน แต่ตามประเพณีดั้งเดิม เจ้าบ่าวจะมาอยู่ที่บ้านเจ้าสาว นาย ฮายีซาลี ชาวบ้านในชุมชนจามมุสลิมในจังหวัดอานยางเผยว่า"ตามกฎของศาสนาอิสลาม เมื่อแบ่งทรัพย์สินของครอบครัว ผู้ชายได้รับ 2 ส่วน และผู้หญิงได้รับ 1 ส่วน ดังนั้นเมื่อแต่งงานผู้ชายจะต้องไปอยู่ที่บ้านภรรยา เลี้ยงดูภรรยาและดูแลพ่อตาแม่ยายเพราะนั่นเป็นความรับผิดชอบของเขา ในวันแต่งงาน ครอบครัวของเจ้าบ่าวจะจัดงานเลี้ยงเชิญเพื่อนบ้านและญาติมิตรแล้วทุกคนก็ร่วมขบวนส่งเจ้าบ่าวไปท่ามกลางเสียงดนตรีที่ร่าเริง"

ปัจจุบัน งานแต่งงานของชาวจามมุสลิมยังคงดำเนินการขั้นตอนต่างๆในประเพณีดั้งเดิมแต่ก็มีการปรับให้กับชีวิตร่วมสมัย เช่นชุดของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับชีวิตสมัยใหม่และตามความต้องการของคู่บ่าวสาว ส่วนเครื่องประดับของเจ้าสาวและเจ้าบ่าวก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัว  ส่วนในวันที่สามของงานแต่งงาน อาจจะตัดขั้นตอนการล้างเท้าและเก็บเหรียญ และเจ้าสาวกับเจ้าบ่าวอาจจะเลือกทำพิธีกรรมงานแต่งที่บ้านเจ้าสาวได้โดยไม่ต้องไปทำที่อาสนวิหาร./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด