หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามก่อนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก
Nguyễn Hằng- VOV -  
(VOVWorld)-เวียดนามเป็นประเทศที่มีหมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองต่างๆมากมาย ในหลายปีที่ผ่านมา หมู่บ้านศิลปาชีพหลายแห่ง ได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในแนวโน้มแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน หมู่บ้านศิลปาชีพในเวียดนามกำลังเผชิญกับความท้าทายและโอกาสต่างๆเพื่อการพัฒนา
(VOVWorld)-เวียดนามเป็นประเทศที่มีหมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองต่างๆมากมาย ในหลายปีที่ผ่านมา หมู่บ้านศิลปาชีพหลายแห่ง ได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในแนวโน้มแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน หมู่บ้านศิลปาชีพในเวียดนามกำลังเผชิญกับความท้าทายและโอกาสต่างๆเพื่อการพัฒนา
การทำเครื่องเซรามิกในหมู่บ้านบ๊าดจ่าง
|
ปัจจุบัน เวียดนามมีหมู่บ้านศิลปาชีพกว่า๒๗๙๐แห่ง โดยมีแรงงานกว่า๑๑ล้านคนและผลิตสินค้าหัตถกรรม๒๐๐ชนิด ซึ่งในนั้น มีสินค้าหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากไม้ของหมู่บ้านด่งกี่ ผ้าไหมของหมู่บ้านหวานฟุก ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านหล่อทองแดงหงูซ่า เครื่องเซรามิคของหมู่บ้านบ๊าดจ่าง เป็นต้น ในแนวโน้มแห่งการผสมสผาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่นับวันเพิ่มมากขึ้น หมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆภายในประเทศกำลังประสบอุปสรรคหลายอย่าง โดยเฉพาะ ขอบเขตการผลิต ความสามารถในการออกแบบสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นาย เจิ่นแหมงเกื่อง ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนการลงทุนและการพัฒนาบั๊กเวียดในหมู่บ้านเซรามิคบ๊าดจ่าง กรุงฮานอยได้เผยว่า ร้อยละ๘๐ของหมู่บ้านศิลปาชีพเศรษฐกิจครัวเรือนขนาดเล็กที่ทำการผลิตสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีเก่าๆ ดังนั้น การปฏิบัติสัญญาใหญ่ๆในเวลาสั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าเพื่อให้เวียดนามเข้าร่วมตลาดใหญ่ที่เปิดกว้างที่ต้องการมาตรฐานที่เข้มงวด นาย เจิ่นแหมงเกื่องเห็นว่า “เมื่อเวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก การส่งออกสินค้าหัตถกรรมจากเวียดนามไปยังประเทศต่างๆจะดำเนินไปอย่างสะดวก แต่อย่างไรก็ดี สถานประกอบการเวียดนามจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่ใหญ่กว่าคือ ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเวียดนามยังมีไม่มากนักในขณะที่หน่วยงานศิลปะหัตถกรรมของประเทศต่างๆในภูมิภาค เช่น มาเลเซียและฟิลิปปินส์พัฒนาเป็นอย่างมาก”
ช่างศิลป์หวี่งมิงคัว เจ้าของโรงแกะสลักหินนอนเนือกกีมเซิน นครดานังได้เผยว่า เวียดนามมีหมู่บ้านศิลปะหัตถกรรมพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีอายุนับร้อยปีแต่ปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างเครื่องหมายการค้าในตลาดโลกได้ นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์จากฝีมือยังคงมีจุดอ่อนด้านรูปแบบและคุณภาพเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคที่มีสินค้าชนิดเดียวกัน ช่างศิลป์ หวี่งมิงคัวได้เผยว่า บรรดาผู้ประกอบการต้องผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถอยหลัง
นายกาวสีเกียม นายกสมาคมสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเวียดนาม
|
ในปลายปี๒๐๑๕ ประชาคมอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งและข้อตกลงต่างๆจะได้รับการลงนาม โดยมีการปรับลดภาษีร้อยละ๕-๐ ดังนั้น สินค้าเวียดนามต้องแข่งขันกับสินค้าของประเทศต่างๆ ในขณะที่เทคโนโลยีการผลิตและฝีมือของหมู่บ้านศิลปาชีพยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากครัวเรือนเป็นรูปแบบเชื่อมโยงเพื่อสร้างพลังใหม่ นอกจากนั้น อาจจัดตั้งสมาคมอาชีพในหมู่บ้านศิลปาชีพเพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพ นายกาวสีเกียม นายกสมาคมสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเวียดนามได้เผยว่า ในสภาวการณ์ใหม่ บรรดาสถานประกอบการและเจ้าของสถานที่ผลิตต้องลดต้นทุนการผลิต มีการออกแบบที่เหมาะสม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อครองส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศและขยายไปยังตลาดโลก “ถ้าหากอยากพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพ พวกเราต้องปรับปรุงข้อกำหนดกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเวียดนามผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ลดราคาสินค้าและสอดคล้องกับความนิยมของผู้บริโภาคภายในประเทศและต่างประเทศ ผลักดันการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงเพื่อผลิตสินค้าที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีการประสานงานระหว่างสถานประกอบการต่างๆ”
การผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกเป็นก้าวพัฒนาที่สำคัญเพื่อสร้างโอกาสให้แก่หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน หน่วยงานและสำนักงานต่างๆต้องผลักดันการจัดสรรข้อมูลเกี่ยวกับการผสมผสานให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการของหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆ นอกจากนี้ บรรดาผู้ประกอบการต้องเป็นฝ่ายรุกในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อมีการปรับปรุงการผลิตและประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับตลาด.
Nguyễn Hằng- VOV