นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งห์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน

(VOVWORLD) -บ่ายวันที่ 10 พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝามมิงชิ้งห์ พร้อมกับผู้นำประเทศต่างๆในอาเซียนได้เข้าร่วมการสนทนากับตัวแทนของสมัชชาใหญ่รัฐสภาอาเซียนหรือไอป้า และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ASEAN BAC ซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมแรกในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 40และ41 และการประชุมระดับสูงต่างๆ 
นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งห์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน - ảnh 1

นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝามมิงชิ้งห์ พร้อมกับผู้นำประเทศอาเซียนได้ชืนชมการจัดการสนทนาต่างๆเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนขแงหลายภาคส่วนและยืนยันความพร้อมของสมัชชาใหญ่รัฐสภาอาเซียนหรือไอป้าในการอยู่เคียงข้างกับรัฐบาลของประเทศอาเซียนในเวลาที่ผ่านมาและเสนอมาตรการต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานผ่านช่องทางรัฐบาลและช่องทางนิติบัญญัติ เร่งตรวจสอบเพื่อแก้ไขอุปสรรค สร้างความกลมกลืนและอำนวยเงื่อนไขที่สะดวกให้แก่การปฏิบัติข้อตกลงและแผนความร่วมมือต่างๆโดยเฉพาระในด้านที่กำลังได้รับความสนใจปัจจุบันเช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล พลังงานและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ .

นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งห์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน - ảnh 2

บ่ายวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฝามมิงชิ้งห์ได้พบปะหารือกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไน โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องต่อการฟื้นฟูกิจกรรมแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทุกระดับ ผลักดันความร่วมมือทางการค้า การพบปะสังสรรค์ระดับประชาชน สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่ความร่วมมือที่กว้างลึกมากขึ้นในอนาคต สำหรับประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคที่สองฝ่ายต่างให้ความสนใจ ผู้นำสองประเทศได้ยืนยันอีกครั้งถึงบทบาทสำคัญของการเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นเอกฉันท์ของอาเซียน โดยเฉพาะการยืนยันบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในกระบวนการพัฒนาของภูมิภาค

นายกรัฐมนตรี ฝามมิงชิ้งห์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน - ảnh 3

บ่ายวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีฝามมิงชิ้งห์ก็พบปะหารือกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ณ กรุงพนมเปญ โดยผู้นำสองประเทศได้แสดงความพึงพอใจกับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ฟิลิปปินส์ที่กำลังพัฒนาอย่างดีงามและเห็นพ้องกระชับการเเลกเปลี่ยนทางการค้า สร้างบรรยากาศการทำธุรกิจที่สะดวกให้แก่ผู้ประกอบการของทั้งสองฝ่าย ผลักดันการค้าภาคการเกษตร เสริมสร้างความร่วมมือด้านกลาโหมความมั่นคง โดยเฉพาะความร่วมมือทางทะเล ความมั่งคงด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียว การศึกษา แรงงานงาน วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การพบปะระดับประชาชน เป็นต้น สำหรับปัญหาทะเลตะวันออกสองฝ่ายเห็นพ้องยืนยันหลักการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติสอดคล้องกับกฎหมายสากลรวมถึงUNCLOS 1982ตลอดจนสนับสนุนกันและธำรงความสามัคคีในอาเซียน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด