(VOVWORLD) -ท่านผู้ฟังคะ “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน”คือหัวข้อของบทความเกี่ยวกับเวียดนามของคุณ อภิชิตมิ่งวงศ์ธรรม นักศึกษาของคณะเวียดนามศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ที่ได้รับรางวัลที่ 1 และรางวัลบทความที่ผู้ชมนิยมมากที่สุดในการประกวดการเขียน VSL ครั้งที่ 3 ปี 2019 ที่จัดโดยสโมสรทูตวัฒนธรรมสังกัดคณะเวียดนามศึกษาและภาษาเวียดนาม มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สิ่งที่พิเศษคือเจ้าของบทความนี้เป็นคนตาบอด ในโอกาสนี้ นักข่าวมิงหงวียดจะพาท่านไปศึกษาดูว่าอะไรในบทความนี้ที่ได้สร้างความประทับใจให้แก่คณะกรรมการตัดสินและบรรดาผู้ชมนะคะ
คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรมในพิธีมอบรางวัลการประกวดการเขียน VSL ปี 2019 |
“มีคนหนึ่งได้เล่าให้ผมฟังว่า เวียดนามเป็นประเทศที่สวยงาม มีสาวใส่ชุดอ๊าวหย่ายและงอบที่หลากหลายสีสันแต่เมื่อฟังแล้ว คำศัพท์ที่ปรากฏขึ้นในหัวของฉันคือ “ถ้าหาก” ถ้าหากผมมีโอกาสชมความงามนี้ก็ดี”
นี่คือตอนแรกของบทความที่พาดหัวว่า “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน” อ่านโดยคุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม ซึ่งไม่มีใครคิดเลยว่า เจ้าของบทความที่น่าสนใจนี้เป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ เขาคือคนตาบอด บทความมี 17 หน้าแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ “ความบังเอิญกับภาษาเวียดนาม” “ชาวเวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน”และ “ความประทับใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมเวียดนาม” สาเหตุที่คุณ อภิชิต เลือกหัวข้อคือ “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน”เพราะ แม้จะมองไม่เห็นแต่ผ่านบทความนี้ คุณ อภิชิตอยากแสดงความรักและความรู้เกี่ยวกับเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่เขาหลงรักมานานแล้ว ซึ่งคุณ อภิชิต สงวนตอนต้นของบทความเพื่อเล่าเกี่ยวกับความบังเอิญระหว่างเขากับภาษาเวียดนาม
“ ผมเริ่มอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเวียดนามตั้งแต่ตอนผมอายุ 6 ขวบ บ้านของผมสามารถรับสัญญาณจากสถานีวิทยุเวียดนามได้ นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยินภาษาเวียดนามและชอบภาษานี้มาก เมื่อเริ่มเรียนภาษาเวียดนาม ผมก็ประสบอุปสรรคมากเนื่องจากไม่มีหนังสืออักษรเบรลล์และก่อนที่จะสอบทักษะความสามารถด้านภาษาเวียดนาม ผมไม่เคยพิมพ์ภาษาเวียดนามและต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวเวียดนาม”
ซึ่งความพยายามในการฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนภาษาเวียดนามของคุณ อภิชิตได้ทำให้นาย ต๋าต๊วนรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก “ผ่านบทความนี้ ผมสามารถรับรู้เกี่ยวกับจิตใจและความพยายามของเขา นี่เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้ผมมีความเชื่อมั่นต่อชีวิต ซึ่งจิตใจเข้มแข็งและความไว้วางใจจะช่วยให้พวกเราฟันฝ่าอุปสรรค ซึ่งคุณ อภิชิตสามารถทำได้เรื่องนี้”
บทความ “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน” |
“ชาวเวียดนามที่ผมรู้จักต่างเป็นคนใจดีและพร้อมที่จะช่วยเหลือผม สำหรับผม ชาวเวียดนามเป็นมิตรและใจดี เมื่อมาเยือนเวียดนามครั้งแรก ผมไม่รู้จักกับใครเลยแต่เพื่อนๆชาวเวียดนามที่ผมรู้จักผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็พร้อมช่วยเหลือผมอย่างเต็มที่ ซึ่งพวกเขามารับผมที่สนามบิน ส่งผมไปหาบ้านเช่า ซื้อของ หาร้านอาหารและพาผมไปเที่ยวเวียดนาม”
นี่คือความรู้สึกที่คุณ อภิชิตได้เขียนในบทความของตน ซึ่งสำหรับเขา เวียดนามไม่เพียงแต่เป็นประเทศที่มีอาหารอร่อยแต่สิ่งที่เขาประทับใจมากที่สุดคือชาวเวียดนามใจดีและเป็นมิตร เพื่อนๆชาวเวียดนามได้อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณ อภิชิตในช่วงที่เขาเริ่มเรียนภาษาเวียดนาม พวกเขาพร้อมนอนดึกเพื่อพิมพ์เนื้อหาตำราเรียนลงในคอมพิวเตอร์ให้อภิชิตเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ปีการศึกษาใหม่ อาจกล่าวได้ว่า จิตใจที่อบอุ่นและความกระตือรือร้นของชาวเวียดนามได้ช่วยให้คุณ อภิชิต ฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนเพื่อประสบความสำเร็จในปัจจุบัน
“คำสุภาษิตของเวียดนามมีความผูกพันกับชีวิตประจำวัน เมื่อผมฟังครั้งแรกก็รู้สึกน่าสนใจมากแต่เมื่อได้อาศัยที่เวียดนามนานก็คิดว่า สุภาษิตหลายคำถูกต้องมาก อาทิเช่น “Uống nước nhớ nguồn” หรือ “ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ” “ Có công mài sắt có ngày nên kim” หรือแปลความหมายเป็นไทยว่า “ถ้าคุณพยายามอย่างสุดความสามารถก็จะประสบความสำเร็จ เป็นต้น"
นอกจากความรู้อย่างกว้างลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมเวียดนามและขนบธรรมเนียมประเพณีแล้ว ส่วนที่ 3 คือ“ความประทับใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมเวียดนาม”ก็เป็นส่วนสุดท้ายในบทความ 17 หน้าของคุณ อภิชิต ซึ่งได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่านเพราะสามารถใช้สุภาษิตหลายคำของเวียดนามได้อย่างถูกต้อง
“อาจารย์ของผมเคยเล่าว่า เมื่อกินปลา แม้หัวปลาไม่มีเนื้อเยอะแต่ถ้าเราเป็นลูกคนเล็กก็ไม่ได้กิน ต้องให้ผู้ใหญ่กิน นี่คือความนอบน้อมในการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ซึ่งน่าสนใจมาก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสทานข้าวกับผู้ใหญ่ ผมจะไม่ทานหัวปลา อาหารเวียดนามอร่อยมาก ชาวเวียดนามใช้วัตถุดิบทำอาหารที่เรียบง่ายแต่สามารถปรุงอาหารได้อร่อย ซึ่งผมชอบที่สุดคือบุ๊นจ๋าและแบ๊งก๊วน”
จากการมีความรู้สึกพิเศษนี้ แม้จะมีเวลาแค่ 2 สัปดาห์เพื่อเขียนแต่บทความดังกล่าวของคุณ อภิชิต ได้สร้างความประทับใจเป็นอย่างมากให้แก่คณะกรรมการตัดสินและผู้อ่าน คุณ เวียดเฮือง อาจารย์ของคณะเวียดนามศึกษาและภาษาเวียดนามของมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาชิกของคณะกรรมการตัดสินและคุณ เลเยือง ผู้อ่านคนหนึ่งได้เผยว่า
“ คุณ อภิชิตใช้ไวยากรณ์ภาษาเวียดนามเก่งมาก บทความนี้ยาวกว่าเมื่อเทียบกับบทความต่างๆที่เคยเข้าร่วมการประกวด 3 ครั้ง มีบางส่วนในบทความของคุณ อภิชิต ไพเราะกว่าบทความที่ชาวเวียดนามเขียน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักเวียดนามและความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคของเขา เมื่ออ่านบทความนี้ ดิฉันไม่เคยคิดว่า เขาเป็นคนตาบอดแต่เมื่อรู้แล้ว ดิฉันและสมาชิกคณะกรรมการตัดสินต่างรู้สึกแปลกใจมากเพราะ ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมคนตาบอดอย่างเขาสามารถเขียนบทความได้เก่งอย่างนี้”
“ดิฉันรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากต่อทักษะความสามารถในการเขียนของคุณ อภิชิต บทความมีเนื้อหาที่น่าสนใจและคุณ อภิชิต ใช้คำสุภาษิตของเวียดนามอย่างถูกต้องและอาจกล่าวได้ว่า เขาเขียนได้ดีกว่าชาวเวียดนามหลายคน”
คุณ อภิชิต บอกว่า นอกจากการแสดงความรักต่อเวียดนาม อีกเหตุผลหนึ่งที่เขาเข้าร่วมการประกวดนี้คือ ผ่านบทความของตน เขาอยากส่งสาส์นให้ผู้อ่านรู้ว่า “อย่าย่อท้อเมื่อคุณประสบอุปสรรค”
“ผมอยากให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ถ้าหากคุณประสบอุปสรรค ขอให้คิดถึงผม เพราะผมประสบอุปสรรคมากกว่าคุณหลายเท่าเผมมองไม่เห็นแต่ผมก็สามารถฟันฝ่ามาได้ ทำไมคุณจะทำไม่ได้”
หลังการประกวดการเขียน VSL ปี 2019 คุณ อภิชิต ได้เริ่มเข้าเรียนปีการศึกษาชั้นปีที่ 3ของคณะเวียดนามศึกษาของมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ เขามีความปรารถนาว่า หลังจากเรียนจบ เขาจะเปิดศูนย์สอนภาษาภาษาเวียดนามและภาษาไทย พร้อมทั้ง หวังว่า จะได้มีส่วนร่วมในการสานสัมพันธ์กลายเป็นทูตที่เชื่อมโยงระหว่างสองประเทศเวียดนาม-ไทย.
***ชาวต่างชาติเรียนภาษาเวียดนามก็ว่ายากแล้ว แต่สำหรับคนตาบอดนั้นกลับยากกว่าหลายเท่า แต่ด้วยความรักและหลงไหลประเทศเวียดนาม คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม จากกรุงเทพฯก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆและตั้งใจเรียนภาษาเวียดนาม ซึ่งในรายการชายคาอาเซียนสัปดาห์หน้า ทางผู้จัดทำรายการจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความทุ่มเทในการเรียนภาษาเวียดนามของผู้ชายคนนี้ผ่านบทความเรื่อง “อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม หนุ่มไทยตาบอดกับการเรียนภาษาเวียดนาม” ขอเชิญท่านโปรดติดตามรับฟังค่ะ.