อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม หนุ่มไทยตาบอดกับการเรียนภาษาเวียดนาม

(VOVWORLD) -ในรายการชายคาอาเซียนเมื่อสัปดาห์ก่อน พวกเราได้เสนอบทความ “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน”ของคุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม  ซึ่งบทความนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่บรรดานักศึกษาชาวต่างชาติที่เรียนภาษาเวียดนาม   นอกจากการได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดการเขียน VSL ครั้งที่ 3 ปี 2019 แล้ว คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม ยังสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนเนื่องจากผลการเรียนดี   โดยคุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรมเป็นนักศึกษาที่ทำคะแนนได้สูงสุดในการสอบเข้าคณะเวียดนามศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์เมื่อปี 2018และเป็นนักศึกษายอดเยี่ยมของคณะเวียดนามศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ 2 ปีการศึกษา ในวันนี้ พวกเราจะมาศึกษาความผูกพันระหว่างคุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรมกับภาษาเวียดนามนะคะ
อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม หนุ่มไทยตาบอดกับการเรียนภาษาเวียดนาม      - ảnh 1 นาย อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม 

เวลา 12.15 น.ของทุกๆวัน คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรมในชุดเสื้อสีขาวกางเกงยีนส์ กระเป๋าสีดำและไม้เท้าคนตาบอดยืนพร้อมอยู่หน้าบ้าน รอมอเตอร์ไซค์รับจ้างมารับไปส่งโรงเรียน   บ้านที่คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม เช่าเป็นบ้าน 3 ชั้น มีพื้นที่ 30 ตารางเมตรอยู่ในซอยเล็กในเขตบิ่งแถ่ง ซึ่งอยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัย  สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ ไม่ไกลนัก โดยใช้เวลาเดินทาง เพียง 5- 7 นาทีเท่านั้น  ซึ่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างได้ส่งเขาที่ด้านหน้าอาคารบี ของคณะเวียดนามศึกษาและ อภิชิตใช้ไม้เท้าคนตาบอดเดินไปที่ห้องเรียน     แม้ชั้นเรียนจะเริ่มตอน 13. 00น. แต่อภิชิตมักจะมาถึงก่อนเพื่อเตรียมพร้อมและจะนั่งอยู่แถวหน้าหน้าห้อง บนโต๊ะ มีหนังสืออักษรเบรลล์และเครื่องบันทึกเสียงยี่ห้อโซนี่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ของคุณ อภิชิตในการเรียน “แม้จะมองไม่เห็นแต่อภิชิตก็นั่งฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ  พร้อมทั้ง ขออนุญาตบันทึกเสียงการสอนของอาจารย์ ชั้นเรียนที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับการอ่านเรื่องสั้นและไวยากรณ์ อภิชิตก็ขอบันทึกเสียงหมด ถ้ามีตอนไหนที่ไม่เข้าใจ อภิชิต ก็โทรเพื่อขออาจารย์อธิบายให้ จากความตั้งใจในการเรียน อภิชิตสามารถเรียนภาษาเวียดนามได้เก่งมาก”

นาย อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม เกิดวันที่ 15 มกราคม ณ ตำบลนาหว้า จังหวัดบึงกาฬ   เขาเรียนจบคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2009 เขามาเที่ยวเวียดนามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนและตัดสินใจมาเวียดนามเพื่อเรียนภาษาเวียดนามเมื่อปี 2011.


คุณ เยืองทูเฮือง อาจารย์วิชาภาษาเวียดนามขั้นสูงมีความประทับใจต่อลูกศิษย์พิเศษคนนี้ ส่วนสำหรับอภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม  เขาก็ชอบชั้นเรียนนี้ของครูเยืองทูเฮืองมากเพราะได้เรียนคำศัพท์และไวยากรณ์ใหม่ๆ ซึ่งภาษาเวียดนามเหมือนลีลาของบทเพลงที่ทำให้อภิชิตยิ่งเรียนก็ยิ่งชอบ ด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น สำเนียงค่อนข้างชัดและทักษะในการพูดภาษาเวียดนามได้ดี คุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม   เล่าให้เราฟังถึงครั้งแรกที่เขาได้รู้จักกับภาษาเวียดนามว่า “บ้านของผมสามารถรับสัญญาณจากสถานีวิทยุเวียดนามได้ ตอนแรกผมฟังก็รู้สึกแปลกๆแต่ยิ่งฟังก็ยิ่งรู้สึกว่า ไพเราะมากๆ ผมเลียนแบบวิธีการอ่านของผู้ประกาศข่าวเวียดนามแม้ตอนนั้น ผมไม่เข้าใจอะไรเลย  พ่อแม่ก็ไม่เข้าใจทำไมลูกชายชอบเวียดนามถึงขนาดนั้นในขณะที่ผมก็เป็นเด็กไทย ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเวียดนาม”

14 ปีต่อมานับตั้งแต่ที่ได้ฟังภาษาเวียดนามเป็นครั้งแรก   อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม  ถึงมีโอกาสมาเยือนเวียดนามและตอนนั้น เขาเพิ่งพูดภาษาเวียดนามได้แค่ประโยคทักทายทั่วไปที่เขาเรียนจากเพื่อนๆ “ ตอนนั้น ผมพูดได้แค่ “สวัสดี” “เท่าไหร่” “ลดราคาหน่อย” เพราะผมไม่เห็นอะไรจึงต้องจินตนาการเกี่ยวกับทิวทัศน์ของกรุงฮานอยผ่านการเล่าของเพื่อนๆ เมื่อเดินเที่ยวตามถนนของกรุงฮานอย ผมได้ยินเสียงรถเสียงแตร   ผมถามเพื่อนว่า บ้านของชาวเวียดนามเป็นยังไง เขาก็บอกว่า บ้านของชาวเวียดนามจะเล็กและยาว บ้านไหนๆก็เปิดร้านขายของ ผมยังจำได้ว่า ตอนนั้นได้ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์กองทัพประชาชนเวียดนามที่มีการจัดแสดงซากเครื่องบินแล้วผมยังสามารถแตะมันได้”

หลังการเยือนเวียดนามครั้งนั้น คุณ อภิชิตได้สัญญากับตัวเองว่า จะกลับมาเวียดนามอีกครั้งจนถึงเมื่อปี 2011 หลังเรียนจบคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิชิตถามตัวเองว่า นอกจากการเรียนกฎหมายและเล่นดนตรี ตัวเขายังชอบอะไร  ซึ่งคำตอบก็คือชอบเรียนภาษาเวียดนามและถึงปี 2013 คุณ อภิชิตได้ตัดสินใจลาออกจากงาน  ใช้เงินเก็บที่มี  เดินทางมาเวียดนามเพื่อเรียนภาษาเวียดนามและกว่าที่จะกลายเป็นนักศึกษายอดเยี่ยมเหมือนในปัจจุบัน คุณ อภิชิตต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายในการเรียนภาษาเวียดนาม “เนื่องจากต้องเรียนด้วยหนังสืออักษรเบรลล์  ผมจึงขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆชาวเวียดนามพิมพ์เนื้อหาตำราเรียนลงในคอมพิวเตอร์   แม้เพื่อนๆงานยุ่งมากแต่ก็พยายามช่วยเหลือผม  เพื่อนบางคนต้องนอนดึกเพื่อพิมพ์ให้ผม หลังจากนั้น ผมส่งแฟ้มให้โรงเรียนม๊ายเอิ๊มเทียนเอินในเขตเตินฟู้เพื่อขอให้ทางโรงเรียนจัดพิมพ์เป็นหนังสืออักษรเบรลล์ อาจกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีการช่วยเหลือของเพื่อนๆชาวเวียดนาม ก็ไม่มีผมในปัจจุบัน”

ปัญหาหนังสือตำราเรียนได้รับการแก้ไขแต่คุณ อภิชิตก็ประสบอุปสรรคอีกอย่างคือเขาไม่รู้วิธีการอ่านอักษรเบรลล์ภาษาเวียดนาม ซึ่งเขาต้องไปโรงเรียนม๊ายเอิ๊มเทียนเอินอีกครั้งเพื่อขอให้ครูช่วยแนะนำวิธีการอ่านภาษาเวียดนามและเนื่องด้วยภาษาเวียดนามก็เป็นอักษรลาตินเหมือนกับภาษาอังกฤษ ดังนั้น อภิชิตก็ใช้เวลาไม่นานในการฝึกอ่านภาษาเวียดนามให้คล่อง  ก่อนที่จะเข้าร่วมการสอบทักษะความสามารถด้านภาษาเวียดนาม คุณ อภิชิตก็ต้องเผชิญกับอีกอุปสรรคคือเขาไม่เคยพิมพ์ภาษาเวียดนาม “ผมต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนเวียดนามในการสอนผมวิธีการพิมพ์ภาษาเวียดนาม ผมฟังและทำตาม  เขายังช่วยผมตรวจการสะกดคำผิดและผมสามารถสอบได้ระดับ 6/ 6ในการสอบครั้งนั้น”

อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม หนุ่มไทยตาบอดกับการเรียนภาษาเวียดนาม      - ảnh 2 ชั้นเรียนสอนภาษาไทยของนาย อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม 

เพื่อหาเงินใช้ชีวิตในเวียดนามและยืนหยัดทำตามความฝัน คุณ อภิชิตได้เปิดสอนภาษาไทยออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ผู้ที่รักภาษาไทย  จนถึงขณะนี้ จำนวนผู้ที่เข้าร่วมชั้นเรียนของคุณ อภิชิต ได้เพิ่มขึ้นเป็น 200 คน นี่ก็เป็นโอกาสเพื่อให้คุณ อภิชิตมีเพื่อนเวียดนามใหม่ๆและเพิ่มทักษะความสามารถด้านภาษาเวียดนาม คุณ ฝามแองหวู ได้เล่าเกี่ยวกับอาจารย์พิเศษคนนี้ว่า “ตอนแรกผมไม่รู้ว่า อาจารย์อภิชิตเป็นคนตาบอด ผมทำงานและมีความต้องการเรียนภาษาไทย อาจารย์อภิชิตเปิดชั้นเรียนสอนภาษาไทยออนไลน์และบอกว่า สามารถสอนผมได้  ผมมีความเชื่อมั่นต่ออาจารย์อภิชิต อาจารย์ถามว่า ผมอยากเรียนเกี่ยวกับหัวข้ออะไรเพราะ อาจารย์ก็ชอบภาษาเวียดนาม ดังนั้น พวกเราคุยกันและบอกกันว่า ภาษาเวียดนามพูดอย่างนี้ ภาษาไทยพูดอย่างนั้น ซึ่งทำให้เวลาการเรียนสนุกมากขึ้น”

คุณ อภิชิตหวังว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า หลังจากเรียนจบ เขาจะเปิดศูนย์สอนภาษาและเว็บไซต์สอนภาษาเวียดนามและภาษาไทย เขาอยากจุดประกายความรักภาษาเวียดนามและแนะนำเกี่ยวกับเวียดนามที่สวยงาม ชาวเวียดนามที่ใจดีและเป็นมิตรให้แก่ลูกศิษย์ของตน.

*** ในสัปดาห์หน้า ขอเชิญท่านฟังอีกหนึ่งบทความเกี่ยวกับคุณ อภิชิต มิ่งวงศ์ธรรม  ภายใต้หัวข้อ “เวียดนามในสายตาของคนตาบอดอย่างฉัน”. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

นิรุช แพงษา

ดีมากครับ ส่งเสริมสนับสนุนให้แต่ละภาษาในแต่ละประเทศมีคนที่อยากรู้อยากเรียน

ข่าวอื่นในหมวด