เทศกาลยามวสันต์ในภาคเหนือเวียดนาม

( VOVworld )-เวียดนามมีกว่า ๘,๙๐๐ เทศกาล โดยเป็นเทศกาลพื้นบ้านกว่า ๗,๐๐๐ รายการ  เทศกาลเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่านั้น หากยังเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่มีตัวตนของชาติอีกด้วย เมื่อวสันต์เวียนมาพร้อมเสียงกลอง เสียงเพลงทำนองแจ่วและเสียงเพลงพื้นเมืองกังวาลขึ้นทั่วทุกแห่งหนของประเทศเป็นสัญญาณให้เรารู้ว่า ฤดูเทศกาลพื้นบ้านได้เริ่มขึ้นแล้ว

( VOVworld )-เวียดนามมีกว่า ๘,๙๐๐ เทศกาล โดยเป็นเทศกาลพื้นบ้านกว่า ๗,๐๐๐ รายการ  เทศกาลเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่านั้น หากยังเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่มีตัวตนของชาติอีกด้วย เมื่อวสันต์เวียยนมาพร้อมเสียงกลอง เสียงเพลงทำนองแจ่วและเสียงเพลงพื้นเมืองกังวาลขึ้นทั่วทุกแห่งหนของประเทศเป็นสัญญาณให้เรารู้ว่า ฤดูเทศกาลพื้นบ้านเริ่มขึ้นแล้ว
เทศกาลยามวสันต์ในภาคเหนือเวียดนาม - ảnh 1
เทศกาลเทพเจ้าย้องในหมู่บ้านฝู่ด๋ง

เทศกาลต่างๆของเวียดนามสะท้อน ๕ หัวข้อใหญ่ได้แก่  เทศกาลเกี่ยวกับการเกษตรที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านวัฒนธรรมพื้นเมือง เทศกาลประเพณีการเจริญพันธุ์ เทศกาลวัฒนธรรม ศิลปะและการบันเทิงรวมถึงการประกวดร้องเพลงพื้นบ้าน  เทศกาลแข่งขันเกี่ยวกับความสามารถและเทศกาลแห่งประวัติศาสตร์โดยรายการเชิดชูผลงานของเจ้าพ่อหลักเมืองและผู้ที่มีคุณงามความดีต่อหมู่บ้าน นายหวอ ห่ง ถวด นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเปิดเผยว่า  “ เทศกาลเกี่ยวกับการทำเกษตรมีเทศกาลที่โดดเด่นคือ จ่อจ๊าม  โดยในงาน ชาวบ้านจะแห่กำรวงข้าววิเศษ สมัยก่อนโน้น ชาวบ้านจะเลือกครอบครัวที่มีความสุขสมบูรณ์ครอบครัวหนึ่งของหมู่บ้านและเลือกแปลงนาหนึ่งแปลงแล้วหว่านข้าวจากเมล็ดข้าวของกำรวงข้าววิเศษและไม่ใส่ปุ๋ยเพราะรวงข้าวกำนี้จะถวายเทพเจ้า พอถึงฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าของจะเป็นผู้เกี่ยวข้าวและแขวนกำข้าวไว้ที่ห้องของตนเองจนถึงเทศกาลจะนำมาเลือกเมล็ดขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์  ซึ่งสะท้อนความหวังของชาวบ้านว่า จะเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ชีวิตของชาวบ้านจะอิ่มหนำผาสุก นับเป็นวัฒนธรรมบูชาเทพเจ้าแห่งการเกษตรที่โดดเด่น ”

สำหรับเกษตรกรเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงนั้น ในปีหนึ่งจะมีเวลาว่างจากการทำนา ๒ ครั้งได้แก่ ช่วงเวลาหลังการปลูกข้าวนาปรังราวเดือน ๑๒และเดือนอ้ายของปีถัดไป และช่วงเวลาหลังการปลูกข้าวนาปีราวเดือน ๖และ๗ตามจันทรคติ  โอกาสนี้ หมู่บ้านต่างๆจะจัดงานเทศกาลเพื่อความเลื่อมใสศรัทธาและเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ  อาจกล่าวได้ว่า งานเทศกาลพื้นบ้านมีวัตถุประสงค์อันดับแรกคือ ยกระดับความรู้ด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านให้แก่ชาวบ้าน เป็นการย้ำเตือนเกี่ยวกับประเพณีดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำตลอดจนเป็นการแสดงความรู้คุณต่อบรรพบุรุษและเทพเจ้าที่ได้ดูแลและปกป้องชาวบ้านให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติต่างๆนาๆ

แม้งานเทศกาลจะมีขึ้นตลอดปี แต่มากที่สุดคือในช่วงฤดูใบไม้ผลิ  นายหวอ ห่ง ถวด นักวิจัยกล่าวว่า “ ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน เดือนอ้ายมีเสือเป็นสัตว์ประจำซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังความแข็งแกร่ง เดือนอ้ายยังเป็นเดือนแรกของปี ดังนั้นคนเราจะฝากความหวังในเดือนนี้ว่า จะโชคดีและประสบแต่สิ่งที่ดีๆในปีใหม่  ดังนั้นในงานเทศกาล พวกเขามีความหวังว่า เทพเจ้าจะบันดาลพรให้ชาวบ้านมีความอิ่มหนำผาสุกตลอดปี  นี่คือสาเหตุที่เทศกาลมักจะจัดในเดือนอ้าย มีหมู่บ้านบางแห่งจัดในเดือนยี่ เดือนสามและเดือนสี่ ”

เทศกาลพื้นบ้านของเวียดนามมีความหมายและคุณค่าแห่งบทเรียนทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะแห่งมนุษยศาสตร์ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลติ๋กเดี่ยนหรือเทศกาลแรกนาขวัญที่ด่อยเซิน อำเภอซุย เตียน ในจังหวัดห่า นามมีงานแห่วอรับเสด็จกษัตริย์ของชาวบ้านด่อยตามและพิธีแรกนาขวัญ   เทศกาลติ๋ก เดี่ยนมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๐และมีความหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำเกษตร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามเกี่ยวกับการกลับสู่รากเหง้า  เทศกาลเทพเจ้าย้องที่ฝู่ด๋งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเทพเจ้าย้องหรือฝู่ด๋งเทียนเวือง ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ณ ตำบลฝู่ด๋ง อำเภอยาเลิม กรุงฮานอยซึ่งเป็นบ้านเกิดของวีรชนแห่งเรื่องราวปรัมปราฝู่ด๋งเทียนเวือง  นับเป็นเทศกาลโดดเด่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่มีตัวตนของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ส่วนเทศกาลเนินด๊งดาจัดขึ้นเพื่อแสดงความรำลึกถึงคุณูปการของวีรกษัตริย์กวางตรูงที่รบชนะข้าศึกผู้รุกรานในวสันต์ปีระกา  ชาวเวียดนามทุกคนล้วนมีความหวังดังเช่นความหวังของนายเหงวียน วัน ฮึง ที่อาศัยในนครโฮจิมินห์ว่า  “ วันที่ ๕ เดือนอ้ายเป็นวันฉลองชัยชนะอันเกรียงไกรของวีรกษัตริย์กวาง ตรูงหรือเหงวียน เหว่และชาวเตยเซินที่ได้ปราบข้าศึกซิงด้วยความกล้าหาญอย่างสิ้นเชิงในฤดูใบไม้ผลิปีระกาค.ศ.๑๗๘๙ ซึ่งสมควรส่งเสริมเกียรติประวัตินั้นให้ลูกหลานสืบสานและจดจำตลอดจนยกระดับจิตใจแห่งการต่อต้านศัตรูผู้รุกรานของชาติ ”

วสันต์ได้เวียนมาพร้อมเทศกาลพื้นบ้านต่างๆ สำหรับชาวเวียดนามนั้น การเข้าร่วมเทศกาลไม่เฉพาะไปเที่ยวยามฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น หากยังเป็นการกลับสู่วัฒนธรรมพื้นบ้านเวียดนามที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นรากฐานและพลังชีวิตของชาติ .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด