เผยแพร่หนังสือราชการและแผ่นแม่พิมพ์ไม้ ของราชวงศ์เหงวียนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
( VOVworld )-งานนิทรรศการเอกสารข้อมูล “ ราชวงศ์เหงวียนกับการเรียบเรียงร่างประวัติศาสตร์ผ่านหนังสือราชการชุด Chau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Ban ” ที่กำลังมีขึ้น ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ ในกรุงฮานอยได้รับความสนใจจากบรรดานักวิจัยและประชาชนเป็นอย่างมาก กิจกรรมนี้เพื่อเชิดชูและเผยแพร่มรดกทางข้อมูลที่มีคุณค่าของเวียดนามให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลก อีกทั้งยืนยันถึงผลงานของราชวงศ์เหงวียนในการเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์ งานนิทรรศการยังช่วยประชาสัมพันธ์คุณค่าของมรดกทางข้อมูลสองอย่างนี้ของเวียดนามสู่ประชาชนมากขึ้น
( VOVworld )-งานนิทรรศการเอกสารข้อมูล “ ราชวงศ์เหงวียนกับการเรียบเรียงร่างประวัติศาสตร์ผ่านหนังสือราชการชุด Chau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Ban ” ที่กำลังมีขึ้น ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ ในกรุงฮานอยได้รับความสนใจจากบรรดานักวิจัยและประชาชนเป็นอย่างมาก กิจกรรมนี้เพื่อเชิดชูและเผยแพร่มรดกทางข้อมูลที่มีคุณค่าของเวียดนามให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลก อีกทั้งยืนยันถึงผลงานของราชวงศ์เหงวียนในการเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์ งานนิทรรศการยังช่วยประชาสัมพันธ์คุณค่าของมรดกทางข้อมูลสองอย่างนี้ของเวียดนามสู่ประชาชนมากขึ้น
แผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banของราชวงศ์เหงวียน
งานนิทรรศการเอกสารข้อมูล “ ราชวงศ์เหงวียนกับการเรียบเรียงร่างประวัติศาสตร์ผ่านชุดหนังสือราชการ Chau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Ban ” ได้จัดแสดงเอกสารกว่า ๑๐๐ แผ่นที่คัดลอกจากหนังสือราชการชุด Chau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banของราชวงศ์เหงวียนที่ถูกเก็บรักษาในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลขหนึ่งในกรุงฮานอยและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๔ ในเมืองดาลัต จังหวัดเลิม ด่ง เอกสารเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจและแนวนโยบายของบรรดากษัตริย์เหงวียนต่อการเรียบเรียงร่างประวัติศาสตร์ นายห่า วัน เหว่ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ เปิดเผยว่า หนังสือราชการ ชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุดMoc Banมีความโดดเด่นอยู่ตรงที่ เป็นข้อมูลต้นฉบับที่สมบูรณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมืองกับสังคม นโยบายและกฎหมาย วัฒนธรรมและการศึกษา วรรณคดีและบทกวีรวมถึงภาษา ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิต สังคมและชาวเวียดนามใน ๑๔๓ ปีตั้งแต่ปีค.ศ.๑๘๐๒ถึง ๑๙๔๕ นายห่า วันเหว่กล่าวว่า “ ราชวงศ์เหงวียนทรงสั่งให้เรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์อย่างละเอียดรอบคอบและเป็นแบบแผน ซึ่งสมควรได้รับการรับรู้ หนังสือราชการชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banเป็นการยืนยันถึงส่วนร่วมและผลสำเร็จของราชวงศ์เหงวียนในการเรียบเรียงหนังสือประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าเช่น ด่ายนามถึกหลุก ด่ายนามโห่ยเดี่ยนสือเหล่และมินห์เหม่นห์จิ๊งเอี๊ยว ราชวงศ์เหงวียนที่เป็นราชวงศ์หนึ่งในระบอลราชาธิปไตยได้ประสบความสำเร็จในการเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์ ”
งานนิทรรศการครั้งนี้สะท้อนความสนพระหฤทัยเป็นอย่างยิ่งของราชวงศ์เหงวียนต่อการเรียบเรียงร่างประวัติศาสตร์ตามกระบวนการที่รัดกุมตั้งแต่สำนักงานเรียบเรียงร่างไปยังบุคลากร การสะสมและการศึกษาข้อมูล ร.ศ.ดร.เหงวียน กง เวียด อดีตหัวหน้สสถาบันศึกษาวิจัยฮั่นนมและเป็นกรรมการสภามรดกวัฒนธรรมแห่งชาติได้เปิดเผยว่า “ เอกสารข้อมูลที่จัดแสดงในงานแสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์เหงวียนให้ความสนใจต่อการวิจัย การเก็บรักษาหนังสือประวัติศาสตร์และองค์ประกอบของสำนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ การเรียบเรียงร่างและตีพิมพ์ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นแบบแผน การเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง งานนิทรรศการฯได้ยืนยันถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมเวียดนาม ”
นอกจากคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยและการเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศแล้ว หนังสือราชการชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banของราชวงศ์เหงวียนยังเป็นคลังความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการสถาปนาอธิปไตยของเวียดนามเหนือทะเลและเกาะแก่งรวมทั้งหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลีย์และหว่างซาหรือพาราเซล ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือราชการชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบันนั้นมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ร.ศ.ดร.เลิมบ๊านามประธานสภาชาติพันธุ์และมนุษยศาสตร์เวียดนามเห็นว่า “ เป็นงานนิทรรศการที่ดีและน่าสนใจสำหรับนักวิจัยและประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ๆนี้และต้องระบุในหลักสูตรการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ”
งานนิทรรศการฯได้รับความสนใจจาก
นักวิชาการและประชาชจำนวนมาก
งานนิทรรศการแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banเกี่ยวกับหมู่เกาะหว่างวาและเจื่องซาของเวียดนาม และงานนิทรรศการเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับ “ ราชวงศ์เหงวียนกับการเรียบเรียงร่างหนังสือประวัติศาสตร์ผ่านหนังสือราชการชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Ban ” ได้รับความชื่นชมจากประชามติ ทางสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ ในกรุงฮานอยและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๔ ในเมืองดาลัต จังหวัดเลิมด่งจะประชาสัมพันธ์คุณค่าของหนังสือราชการชุดChau Ban และแผ่นแม่พิมพ์ไม้ชุด Moc Banในหัวข้ออื่นให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติต่อไป อันเป็นการมีส่วนร่วมยืนยันถึงเอกลักษณ์ของมรดกทางข้อมูลที่ถูกต้องและมีอิทธิพลของเวียดนาม .